สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

การขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ของชุมชนในพื้นที่ภัยพิบัติ จ.อุบล

โดย เครือข่ายชุมชนอาสาภัยพิบัติ จ.อุบลราชธานี

แม่น้ำมูนกำเนิดที่เขาแผงม้าจังหวัดนครราชสีมาไหลผ่านประมาณ 7 จังหวัดโดยมีแม่น้ำสาขา ชี เซ ไหลสมทบรวมพื้นที่สุดท้ายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คือ ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่เดิมสภาวะน้ำหลากน้ำท่วมเป็นแบบธรรมชาติมีฝนมาก มีพายุก็เติมเต็มน้ำในแม่น้ำทุกสายแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็วภายใน 10 – 15 วัน ทุกพื้นที่ก็คืนสู่สภาพเดิม


ชุมชนที่ปักหลักสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ความอุดมสมบูรณ์ของริมแม่น้ำหรือใช้แม่น้ำทำการเกษตร การประมง การค้าขาย ผู้คนเหล่านั้นได้เรียนรู้ธรรมชาติของสายน้ำมูนที่มีน้ำมากในบางฤดูและมีน้ำน้อยในบางฤดู ชุมชนได้มีการประยุกต์วิถีชีวิตให้เข้ากับสภาพธรรมชาติของสายน้ำ จนกลายเป็น “ลูกแม่มูน” โดยสมบูรณ์ สร้างชุมชน วิถีชีวิต บ้าน วัด โรงเรียน เป็นชุมชนผู้บุกเบิกสร้างแหล่งอารยะธรรมที่งดงามตลอดริมฝั่งผ่านวิถีการแสดงหมอลำ การฟ้อน พิธีกรรมความเชื่อต่างๆ


สภาพน้ำท่วมเพิ่งได้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการคือในปี 2521 เกิดน้ำท่วมใหญ่และมีความเสียหายต่อชุมชนในทั้งในเชิงพาณิชย์และวิถีชีวิตของประชาชนทุกด้าน ซึ่งวงน้ำขยายขึ้นไปสูงถึงศาลากลาง(เก่า)และโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ สถิติน้ำท่วมเริ่มมีการบันทึกขึ้นเป็นระยะๆก็คือปีเช่นปี 2554 ปี 2562 หลังสุดก็คือปี 2565 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับปี 2521 มากที่สุด จังหวัดอุบลราชธานีเกิดสภาวะน้ำท่วมทุกปี จนมีคำกล่าวว่าเกิดภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก และน้ำท่วมมีสภาวะท่วมนานและระดับสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ เพราะมีการพัฒนางานก่อสร้าง และบริหารจัดการน้ำแนวใหม่ เช่น เขื่อน ฝาย มีวัตถุประสงค์การใช้น้ำแนวใหม่ เช่น ต้องการกระแสไฟฟ้าในด้านอุตสาหกรรมโรงงาน เกษตรกรรมวิถีใหม่ การประมงแบบใหม่ เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อสภาพจิตใจ ชีวิตและทรัพย์สิน ดังตัวอย่างข้อมูลความเสียหายที่ เกิดขึ้นในปี 2565 (ข้อมูล :Ubonconnect.com)


ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ชุมชน นักวิชาการ องค์กรเอกชนและภาครัฐ ร่วมเสนอแนวทางแก้ไขป้องกันภัยพิบัติ โดยมีเป้าหมายว่าไม่ควรเกิดความสูญเสียซ้ำอีก เช่น ภาครัฐเสนอให้ทำคลองผันน้ำ ภาคธุรกิจเอกชนเสนอให้ทำสะพานยกสูงข้ามฝั่งระหว่างเมืองกับวารินชำราบ ส่วนภาคประชาสังคม/ชุมชน เสนอให้มีการทบทวนการสร้างเขื่อน ฝายและสิ่งกีดขวางทางน้ำให้เป็นธรรมชาติ รวมทั้งจัดทำข้อเสนอระดับนโยบาย เช่น ให้รัฐบาล จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตในเขตพื้นที่พิเศษภัยพิบัติในระดับชาติเหมือนกับ คณะกรรมการการจัดการน้ำหรือคณะกรรมการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ซึ่งได้แก้ปัญหาชุมชนในชายทะเลภาคใต้อย่างได้ผลมาแล้ว

แม้มีสภาวะน้ำท่วมซ้ำซากแต่ชุมชนที่เข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน มีต้นทุนที่ต่ำถึงแม้ว่าจะรู้ว่ามีน้ำท่วมแต่ก็ยอมที่จะอยู่เพราะมีไม่มีวัสดุหรือทรัพยากรอื่นที่สามารถมายกสูงหรือถมสูงได้เลยกลายเป็นการปรับวิถีชีวิตให้อยู่ได้ทั้งช่วงน้ำน้อยหรือน้ำมากก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาไป ชุมชนมีการขยายตัวตลอดเวลาตามธรรมชาติ และมีความหนาแน่นและเป็นประชากรที่มีความยากจน แต่เป็นกำลังแรงงานที่สำคัญทั้งนอกระบบและในระบบ มีการผลิตสิ่งของต่างๆเข้าป้อนเข้าสู่เมือง เช่น มีการปั้นอิฐหรือเป็นแรงงานภาคบริการต่างๆ


กรณีเกิดไฟไหม้ใหญ่เขตเศรษฐกิจของจังหวัดอุบล 3-4 ครั้ง มีอิฐของชุมชนช่วยในการฟื้นฟูเมืองกลับคืนได้อย่างรวดเร็ว อันนี้ก็เป็นคุณค่าทางของชุมชนที่มีต่อเมืองก็คือพึ่งซึ่งกันและกัน เครือข่ายชุมชนภัยพิบัติจังหวัดอุบลราชธานี จึงเห็นควรมีการดำเนินกิจกรรม วันที่อยู่อาศัยโลก พ.ศ. 2566 หรือ World Habitat Day 2023 เพื่อเป็นการรณรงค์และสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานระดับจังหวัดในพื้นที่และรัฐบาล ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนทั้งในเมืองและชนบท โดยในการดำเนินการในครั้งนี้ เครือข่ายชุมชนอาสาภัยพิบัติ จ.อุบลราชธานี ได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ “พอช.”และเครือข่ายองค์กรชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ อาทิ เครือข่ายบ้านมั่นคงเมือง จ.อุบลราชธานี เครือข่ายบ้านไร้เสียง เครือข่ายอาสาชุมชนป้องกันภัยพิบัติชุมชน จ.อุบลราชธานี (อช.ปภ) เครือข่ายคนฮักน้ำของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มูลนิธิชุมชนไท และอื่นๆ เพื่อร่วมเป็นคณะทำงานจัดกิจกรรมดังกล่าวร่วมกัน


กิจกรรมวันที่อยู่อาศัยโลก ในวันที่ 3 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทางคณะทำงานมีแนวทางการดำเนินการวันที่อยู่อาศัยโลก พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ภายใต้แนวคิด “พื้นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภัยพิบัติ : ที่ดิน บ้าน คุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมยั่งยืน” เพื่อเป็นการสื่อสารถึงสาธารณะและหน่วยงานของรัฐ ในประเด็นที่ทางคณะทำงานเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านที่ดินที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะด้านการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงถาวรเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และบริบทสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกในการเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมกันคิดค้นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้านทั้งที่ดินที่อยู่อาศัย การจัดการภัยพิบัติชุมชน แต่เนื่องด้วยปัญหาภัยพิบัติ น้ำท่วมมีความเกี่ยวข้องหลายกระทรวง จึงเสนอให้รัฐบาลตั้ง คณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาแก้ปัญหาโดยมีองค์ประกอบ จากภาครัฐ ชุมชน ประชาสังคมและภาควิชาการ

On Key

Related Posts

คำประกาศแม่น้ำโขงชี้เขื่อนไม่ใช่พลังงานสะอาด-ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชน-สิ่งแวดล้อมรุนแรง แนะรัฐฟังเสียงประชาชน “วิโรจน์”เตรียมส่ง สตง.-ป.ป.ช.จี้นายกฯตรวจสอบอย่างโปร่งใส-รับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อRead More →

ผู้แทนสถานทูตจีนแจงวิสัยทัศน์แม่น้ำโขงให้ชุมชนริมโขง เผย 5 ประเทศร่วมดื่มน้ำสายเดียวกัน  ศ.สุริชัยชี้ความโปร่งใสในการสร้างเขื่อนไม่มีจริง สส.ก้าวไกลถามหามาตรฐานอีไอเอ

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.Read More →

แนะดึง ป.ป.ช.-สตง.ตรวจสอบเขื่อนปากแบง “วิโรจน์”ชี้ยุทธวิธีแม่น้ำ 4 สายร่วมกสม.-สภาส่งจัดทำข้อเสนอส่งนายกฯ ผู้นำท้องถิ่นน้อยใจรัฐไม่เคยฟังเสียงชาวบ้าน ระบุพื้นที่เกษตรนับพันไร่ได้รับผลกระทบแต่ไม่เคยมีหน่วยงานรัฐแจง

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.Read More →