Search

ปลาแม่น้ำคานตายอื้อหลังรถบรรทุกสารเคมีเกิดอุบัติเหตุ ทางการลาวสั่งห้ามเล่นน้ำคาน-โขงย่านหลวงพระบาง MRC จัดประชุมอัปเดทข้อมูลโครงการเขื่อนปากแบง-ปากลาย-ห่วงข้อกังวลผลกระทบข้ามแดน

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 เพจข่าวสารภาษาลาว “โทละโข่ง” รายงานว่าสำนักงานเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว มีประกาศด่วนลงวันที่ 4 เมษายน 2567 เรื่องห้ามไม่ให้ลงอาบน้ำในแม่น้ำคาน แม่น้ำโขง และห้ามนำปลาที่ตายอยู่ในแม่น้ำคาน แม่น้ำโขง นำมาประกอบเป็นอาหารหรือนำไปขายอย่างเด็ดขาด เนื่องจากได้เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมี ในเขตหลวงพระบาง ส่งผลให้สารเคมีไหลลงสู่แม่น้ำคาน ซึ่งแม่น้ำคานเป็นลำน้ำสาขาสำคัญของแม่น้ำโขง และเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกหลวงพระบางที่ประกาศโดย UNESCO ต่อกรณีดังกล่าวเพจต่างๆ ของลาวได้โพสต์รูปปลาตายและมีผู้แสดงความคิดเห็นเป็นกังวลกันอย่างกว้างขวาง

ขณะที่เพจของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission-MRC) โพสต์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ว่าเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567มีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Beng) จัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เวียงจันทน์ สปป. ลาว ในระหว่างการประชุม รัฐบาลลาวและผู้พัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากเบง ได้แก่บริษัท Gulf Energy และบริษัทต้าถังของจีน (Datang) ได้ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขข้อเสนอแนะจาก MRC โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดน มีการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบางประการ รวมถึงการเพิ่มช่องระบายน้ำระดับล่าง 3 แห่งสำหรับการระบายตะกอน การว่าจ้างที่ปรึกษาระหว่างประเทศเพื่อปรับปรุงทางผ่านของปลา การเสริมสร้างการออกแบบความปลอดภัยของเขื่อนต่อภาวะน้ำท่วมสูงสุดที่อาจเกิดขึ้น และการอัปเดตข้อมูลและการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

“MRC จะทำงานร่วมกับผู้พัฒนาโครงการเพื่อทบทวนและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงการออกแบบโดยละเอียด ตลอดจนการติดตามตรวจสอบร่วมกันภายใต้เครือข่ายการติดตามตรวจสอบแม่น้ำสายหลักของ MRC
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและแจ้งให้สาธารณชนทราบ เราจะแจ้งข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการในฟอรัมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับภูมิภาคที่จะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน 2024” เพจของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงระบุ

เพจของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยังโพสต์ข้อความอีกว่าได้ร่วมกับประเทศสมาชิกจัดประชุมร่วมกับผู้พัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากลาย Pak Lay ร่วมกับเอกชนผู้พัฒนาโครงการคือ Gulf Energy และบริษัทจีนพาวเวอร์ไชน่า เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมสำหรับโครงการเขื่อนดังกล่าว โดยผู้พัฒนาโครงการได้แสดงความมุ่งมั่นในการแบ่งปันข้อมูลและมีส่วนร่วมกับ MRC เพื่อปรับปรุงโครงการเพื่อจัดการกับข้อกังวลเรื่องตะกอน อีกทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาการอพยพของปลา และมุ่งมั่นที่จะเพิ่มกระแสน้ำสู่ทางผ่านของปลา โดยการออกแบบ การปรับปรุงเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับบทเรียนที่ได้รับจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี นอกจากนี้ยังจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาระดับนานาชาติ และใช้แนวทางการออกแบบเบื้องต้นสำหรับเขื่อนแม่น้ำโขงที่เสนอในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (PDG) 2023 ในกระบวนการนี้
เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การไหล โดยผู้พัฒนาโครงการได้แสดงความตั้งใจที่จะสร้างข้อกำหนดการไหลของน้ำตามความจำเป็นทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ โดยจะรับประกันว่าความผันผวนของน้ำในแม่น้ำโขงจะยังคงอยู่ในระยะ 0.5 เมตร ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำของ MRC

ทั้งนี้แม่น้ำโขงจากปากลาย ไหลลงสู่พรมแดนไทยลาว ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมามีรายงานความผันผวนของแม่น้ำโขงอย่างชัดเจนและรุนแรง

On Key

Related Posts

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →

ผบ.สส.เร่งหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำกกหลังชุมชนผวาสารพิษเจือปนจากการทำเหมืองทองฝั่งพม่า ภาคประชาชนเผยน้ำกกขุ่นเพิ่มจากปีก่อน 8 เท่าหวั่นกระทบน้ำดิบทำประปา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดีRead More →