เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และประชาชนร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี, เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้พร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนเมียนมา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและที่กำลังหนีภัยข้ามพรมแดน จากกรณีสงครามในเมียนมาร โดยจดหมายระบุดังนี้
ตามที่ได้มีการทำรัฐประหารในเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา (State Administration Council, SAC) ที่ปกครองประเทศหลังจากนั้นได้ทำการต่อสู้ทางอาวุธกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานว่าการโจมตีของกองทัพพม่าหลายครั้งเป็นการละเมิดหลักปฏิบัติสากลเกี่ยวกับการต่อสู้ด้วยอาวุธ เช่น การทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาล โรงเรียน หรือเขตที่พักของพลเรือน จับกุม ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ส่งผลทำให้ประชาชนชาวเมียนมาต้องหลบหนีภัยสงครามออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก และสหประชาชาติประมาณการณ์ว่าทำให้เกิดผู้ลี้ภัยหนีการสู้รบไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมกว่า 59,700 คน และมีผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 2,574,500 คน ทำให้ผู้ที่อพยพหนีมาอยู่ตามชายแดนไทย-พม่ามีจำนวนสูงยิ่งขึ้น ในขณะที่ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมยังคงมีอยู่อย่างจำกัด
ล่าสุด ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าจะบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร ที่กำหนดให้ผู้ชายอายุ 18-35 ปี และผู้หญิงอายุ 18-27 ปี ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลาอย่างน้อยสองปี และในกรณีผู้ประกอบวิชาชีพที่ใช้ความเชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ วิศวกร อายุเกณฑ์ทหารขยายเป็น 45 ปีสำหรับผู้ชาย และ 35 ปีสำหรับผู้หญิง จนทำให้ประชาชนชาวเมียนมาโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเกิดความกังวลใจในสวัสดิภาพของตนและคนในครอบครัว เนื่องจากปัจจุบันกองทัพพม่ากำลังสู้รบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยและกองกำลังปฏิวัติอื่นๆ ที่ต่อต้านการยึดอำนาจและเรียกร้องให้ประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตย
แม้ทางการเมียนมาจะประกาศว่าจะเริ่มการบังคับเกณฑ์ทหารในช่วงปลายเดือนเมษายนหลังจากช่วงเทศกาลปีใหม่ (Thingyan) แต่ในบางพื้นที่ได้เริ่มมีการสำรวจประชากรตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หรือประกาศเรียกให้ประชากรมารายงานตัว รวมถึงมีรายงานว่ามีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นแล้วในบางชุมชน ชาวเมียนมาจำนวนมากที่อายุอยู่ในเกณฑ์พยายามเดินทางออกนอกประเทศหรือหนีไปในเขตพื้นที่ควบคุมของกองกำลังชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จำนวนหนึ่งพยายามเข้ามาในประเทศไทยโดยสมัครเข้าศึกษาต่อหรือทำงาน หรือโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว
สถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้ชาวเมียนมาที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงนักศึกษาชาวเมียนมาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวนหลายพันคน มีความกังวลต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ไม่ต้องการเดินทางกลับประเทศจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลง จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงจะกลายเป็นผู้ไม่มีสถานะตามกฎหมายมากขึ้นหากสถานะนักศึกษาหรือการทำงาน และวีซ่าหมดอายุลง
ด้วยความกังวลถึงความปลอดภัยของคนหนุ่มสาวทั้งในเมียนมาและในประเทศไทย และด้วยการเล็งเห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาชาวเมียนมาที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาประเทศที่พวกเขาพำนักอยู่ได้ หน่วยงานการศึกษา และด้วยความตระหนักถึงพันธกรณีและศักยภาพของประเทศไทยในการให้ความคุ้มครองเยาวชนเหล่านี้ องค์กรและผู้มีรายชื่อด้านล่างนี้ จึงขอเรียกร้องให้
1.รัฐบาลไทยยึดมั่นในหลักการไม่ส่งบุคคลกลับไปยังประเทศที่พวกเขาจะถูกประหัตประหารหรือถูกทรมาน (non-refoulement) อันเป็นหลักการตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยมีตามอนุอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่ระบุว่า “มาตรา 13 ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคล เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูก กระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ถูกกระทำให้สูญหาย” โดยผ่อนผันให้ชาวเมียนมาที่อายุอยู่ในวัยถูกเกณฑ์ทหาร สามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวได้
2.รัฐบาลไทยขยายอายุวีซ่าให้แก่นักศึกษาชาวเมียนมาที่ใกล้จะสำเร็จการศึกษา เพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งพิจารณาการปรับเงื่อนไขการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราวีซ่ามาเป็นประเภทนักศึกษา หรือวีซ่าทำงานประเภททักษะวิชาชีพ โดยให้ดำเนินการขอเปลี่ยนในประเทศไทยได้ (ไม่ต้องกลับไปดำเนินการในประเทศต้นทาง) เป็นกรณีเฉพาะ รวมทั้งอนุญาตให้นักศึกษาเหล่านี้สามารถขออนุญาตทำงานระหว่างการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ
3.รัฐบาลไทยอำนวยกระบวนการขอวีซ่าให้ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับเข้ามาศึกษาต่อ เพื่อให้ขั้นตอนและกระบวนการรวดเร็วยิ่งขึ้น และปลอดภัยสำหรับพลเมืองเมียนมาที่อยู่ในพื้นที่สู้รบและไม่สามารถเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเองได้ เช่น การเปิดให้สามารถยื่นเอกสารและขอวีซ่าทางออนไลน์ได้
4.สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือหลักสูตรวิชาชีพต่างๆ พิจารณารับนักศึกษาชาวเมียนมาเข้าศึกษาเป็นการพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณารับโอนหน่วยกิตกรณีนักศึกษาที่ไม่จบการศึกษาจากประเทศเมียนมาเนื่องจากเข้าร่วมขบวนการพลเมืองขัดขืน (civil-disobedience) ให้เทียบเท่ากับเกณฑ์การศึกษาหรือการรับเข้าศึกษาของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อให้เยาวชนเมียนมาสามารถสำเร็จการศึกษาหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้
5.รัฐบาลควรมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้กลุ่มนักศึกษาชาวเมียนมาที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทาง แต่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย (วีซ่า) และ/หรือหนังสือเดินทางหมดอายุ ไม่สามารถดำเนินการต่อหรือทำใหม่กับทางการเมียนมาได้ สามารถอยู่ในประเทศไทยและศึกษาต่อ รวมทั้งพิจารณาอนุญาตให้ทำงานเป็นการเฉพาะตามทักษะหรือความรู้เป็นการชั่วคราว อย่างน้อย 2 ปี หรือจนกว่าสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศต้นทางจะสิ้นสุดลง
รายนามสถาบันและนักวิชาการผู้ร่วมลงนาม
สถาบันวิชาการ
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นักวิชาการ
- อ.ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ.ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อ.ดร.ศิรดา เขมนิฏฐาไท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผศ.ดร. ภาณุภัทร จิตเที่ยง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ
- ผศ.ดร. ชาลี เทม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.ดร. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผศ.ดร. ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- อ.ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- อ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.ชวพล ช้างกลาง วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- ดร.อันธิฌา แสงชัย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.สุนี ไชยรส วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ.ดร.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผศ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผศ.นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อ.ดร.ณีรนุช แมลงภู่ มานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- รศ.ดร.วราภรณ์ เรืองศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการอิสระ
- อ.ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผศ.อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- อ.ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.ดร.นลินี ณ นคร รักธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อ.ดร.ภราดา แก้วภราดัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.ดร.ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ.เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ คณาจารย์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
- ผศ.ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อ.อาริยา เทพรังสิมันต์กุล University of Iceland
- อ.ดร.พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- อ.คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาสิทยาลัยศิลปากร
- อ.ดร.กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.ดร.องค์ บรรจุน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อ.จักรกริช ฉิมนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- ผศ.ดร.เสาวนีย์ อเลกซานเดอร์ นักวิชาการ
- ผศ.ดร.นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อ.ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ดร.ชมเกตุ งามไวกัล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ.กานน คุมพ์ประพันธ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อ.ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ สถาบันวิจัยประชาการและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผ.ศ. ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผ.ศ. ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ. ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ. ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ. ดร.ชมเกตุ งามไวกัล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ.งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
บุคคลทั่วไป - บารมี ไชยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
- สิริกาญจน์ บรรจงทัด นักการละคร
- จารุนันท์ พันธชาติ นักการละคร
- ลัดดา คงเดช นักการละคร
- รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง นักการละคร
- คานธี วสุวิชย์กิต นักการละคร
- สายฟ้า ตันธนา นักการละคร
- ภาวิณี สมรรคบุตร นักการละคร
9. เอเลียร์ ฟอฟิ นักกิจกรรมทางสังคม - ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี นักการละคร
- ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ นักการละคร
- สุพงศ์ จิตต์เมือง นักจัดกระบวนการเรียนรู้
- เยาวเรศ กตัญญูเสริมพงศ์ นักจัดกระบวนการเรียนรู้
- วิชย อาทมาท นักการละคร
- เพียงดาว จริยะพันธุ์ นักการละคร
- จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ฐ นักการละคร
- วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักแสดง
- นัสรี ละบายดีมัญ นักการละคร
- ธนพล วิรุฬหกุล นักการละคร
- นวลปณต ณัฐ เขียนภักดี นักการละคร
- วสุ วรรลยางกูร นักการละคร
- ธีระวัฒน์ มุลวิไล นักการละคร
- สุธารัตน์ สินนอง นักการละคร
- ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ นักการละคร
- ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์ นักการละคร
- เผ่าภูมิ ชีวารักษ์ นักการละคร
- ปองจิต สรรพคุณ Free Theatre, Australia
- เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย นักการละคร
- ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักการละคร
- ดวิษ นิชฌานธามัน นักการละคร
- ศรุต โกมลิทธิพงศ์ นักการละคร
- สินีนาฏ เกษประไพ นักการละคร
- ทวิทธิ์ เกษประไพ นักการละคร
- อัจจิมา ณ พัทลุง นักการละคร
- วศิน พงษ์เก่า
- จักรพล มรดกบรรพต
- พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม
- กฤต แสงสุรินทร์
- กนกวรรณ มีพรหม
- วุฒิกาญจน์ ศรีรักษา
- ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย
- ธเนศ ศิรินุมาศ
- ศิริพร ฉายเพ็ชร
- เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
- พจมาลย์ วงษ์พันธุ์
- วศินี บุญที
- สุขศรี ชิติพัทธ์
- เมติมา เมธาธรรมชน
- กนกพร จันทร์พลอย
- ภูรินทร์ ลิขิตเลิศ
- วัชรพล นาคเกษม
- บุณฑริกา มีชูชีพ
- จักรินทร์ ศิริมงคล
- มณีวรรณ พลมณี
- เพจสัตว์ไรนิ
- เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย นักการละคร
- เววิรี อิทธิอนันต์กุล นักการละคร
- สุรีย์ฉาย แก้วเศษ นักการละคร
_________