สำนักข่าว Straitstimes รายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า โครงการบูรณาการพลังงานไฟฟ้า สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์(The Lao PDR-Thailand-Malaysia-Singapore(LTMS) เพื่อการส่งไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์จากลาวผ่านไทยไปมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งจะกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ที่มีการเซ็นความร่วมมือกันเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การขยายข้อตกลงพหุภาคีระหว่างโดยสิงคโปร์ เพื่อนำเข้าไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวกำลังติดขัด เนื่องจากความขัดแย้งว่าจะส่งไฟฟ้าผ่านไทยและมาเลเซียไปอย่างไร
แหล่งข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาได้ให้ข้อมูล การเชื่อมรระบบสายส่งที่กว้างไกลอาจจะเป็นกุญแจที่นำไปสู่การลดสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าของสิงคโปร์โดยการเจรจาดังกล่าวนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 22 มิถุนายน 2024 โดยบริษัท Keppel and Electrictie du Laos บริษัทลูกด้านพลังงานของสิงคโปร์ในลาวได้ต่อสัญญาฉบับใหม่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่สิงคโปร์ยังไม่ได้เซ็นสัญญาร่วมกับไทยและมาเลเซีย เพราะยังไม่บรรลุความเห็นเกี่ยวกับปริมาณของพลังงานที่จะซื้อ
แหล่งข้อมูลระบุว่า สิงคโปร์ ไทยและมาเลเซีย ยังมีเวลาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมที่จะถึงนี้ในการเซ็นข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งไฟฟ้า และข้อตกลงสุดท้ายอาจจะไม่น่าพึงพอใจ
แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในการหารือ กล่าว่า “ทั้ง 4 ประเทศ อาจจะต้องหยุดไว้ชั่วคราว ยังไม่มีการขยายเวลาที่เป็นจริง สำนักงานตลาดพลังงานของสิงค์โปร์ หน่วยงานด้านไฟฟ้าของไทย มาเลเซียและลาว ไม่ได้ตอบความเห็นต่อรอยเตอร์
ขณะที่โฆษกของบริษัท Kepple กล่าวว่า ไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับการตลาดได้ ในการประชุมเดือนมิถุนายนที่เวียงจันทร์ ตัวแทนหน่วยงานราชการจากไทย มาเลเซีย ได้ขอให้สิงคโปร์ให้รับประกันการซื้อไฟฟ้าแบบระบุจำนวนคงที่แน่นอนเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการส่งไฟฟ้า แต่สิงคโปร์ปฎิเสธ “สัญญาเดิมได้ระบุว่า ให้ชำระค่าส่งเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ซื้อเท่านั้น”
หนึ่งในแหล่งข่าวที่เป็นทางการกล่าว การขยายการเจรจามีความยุ่งยากมากขึ้นเพราะการแข่งขันทางทางเศรษฐกิจเพื่อให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวว่า ไทยได้แจ้งลาวว่า จะไม่ยอมให้ส่งไฟฟ้าผ่านไปยังสิงค์โปร เพราะต้องการให้ซื้อโดยตรงจากไทย
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.