Search

ชี้การจัดการน้ำโดยภาครัฐล้มเหลว คน“บางบาล”ทำวิจัยสู้จนกรมชลยอมเปลี่ยนทิศ

เมื่อวันที 22 สิงหาคม 2567 ที่ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการจัดสัมมนาเรื่อง “ข้อท้าทายภาคประชาสังคมกับการจัดการน้ำและแม่น้ำ (ข้ามพรมแดน)โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเพื่อสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า อดีตชุมชนท้องถิ่นมีความรู้และความสามารถในการบริหารจัดการน้ำมาอย่างยาวนาน ในภาคเหนือมีการสร้างฝายหลายแห่งเพื่อจัดการน้ำ ซึ่งสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือผู้ใช้น้ำและต้องเลือกผู้นำที่มีความยุติธรรมซึ่งในกระทำความผิดจะถูกลงโทษตามหลักประชาธิปไตย ส่วนที่ในภาคอีสานมีการบริหารจัดการน้ำที่หลากหลายโดยอาศัยแม่น้ำโขงที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาขาอื่น ๆ เพื่อทำไร่ทำนาและใช้ระบบธรรมชาติในการจับปลา การใช้ทรัพยากรน้ำเหล่านี้ช่วยให้ชุมชนอีสานสามารถสร้างวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามสภาพแวดล้อมของตน

“การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาโดยมีรัฐเข้ามาควบคุม ฝายคอนกรีตถูกเข้ามาแทนที่ฝายไม้ไผ่หรือฝายธรรมชาติ สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการเอาฝายคอนกรีต ระบบฝายนั้นก็มีความตายตัว เมื่อน้ำมาก็นำเอาตะกอนดินเข้ามาด้วยทำให้ตะกอนดินทับถมและไม่เกิน 3 ปีฝายกั้นน้ำก็มีความตื้นเขิน แต่ถ้าเป็นฝายไม้ไผ่ตะกอนดินยังสามารถลอดผ่านไปได้ซึ่งเป็นความรู้ภูมิปัญญาของชาวบ้านและชาวบ้านมองการจัดการน้ำเป็นสิทธิส่วนรวมไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ปัจจุบันรัฐเข้ามาเป็นเจ้าของในการจัดการทรัพยากรทำให้ประชาชนนั้นไม่มีส่วนร่วมในการจัดการนี่คือความแตกต่างระหว่างส่วนรวมกับรัฐ” อ.ดร.ชยันต์กล่าว

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า อเมริกาเข้าไปช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาในการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคก็คือการสร้างเขื่อน และการสร้างเขื่อนเป็นส่วนหนึ่งคือการตอบสนองในการสร้างชาติ ซึ่งทั่วโลกกำลังเร่งสร้างชาติขึ้นมา จึงนำไปสู่การผลักดันอนุมัติการสร้างเขื่อนภูมิพลโดยได้รับเงินลงกู้จากธนาคารโลก (World Bank) หากถามว่าชาวบ้านอยู่ตรงไหนของการพัฒนา พวกเขาก็คือคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน

นายพิชเญศพงษ์ คุรุปรัชฌามรรค ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กล่าวว่า พื้นที่บ้านป่าบุญเรืองเป็นพื้นที่ของแม่น้ำอิงตอนปลายที่ไหลผ่านสองจังหวัดคือพะเยากับเชียงราย ซึ่งมีต้นกำเนิดจากจังหวัดพะเยาเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อาจจะเป็นแม่น้ำสาขาแรกที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาปี 2484 โดยเปลี่ยนสภาพระบบนิเวศเป็นป่าพื้นที่ชุ่มน้ำค่อนข้างเยอะในอดีตหนองนกเอี้ยงให้เป็นคว้านพะเยาให้เกิดขึ้น เป็นพื้นที่รับน้ำขนาด 12,000 ไร่ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“เมื่อมีการพัฒนาเกิดขึ้นเขาก็มีแนวคิดการทำประตูน้ำต่อเนื่องในระบบนิเวศของลุ่มน้ำอิง ซึ่งน้ำอิงเหมือนชัยภูมิที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำและพื้นที่การเกษตรบริเวณแม่น้ำอิงต้องอาศัยน้ำเป็นหลัก มีความอุดมสมบูรณ์มีชนิดพันธุ์ปลากว่า 282 ชนิด รองรับชนิดพันธุ์ปลาของแม่น้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลากที่เข้ามาวางไข่ในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำกัดทั้งจากประตูน้ำและแม่น้ำโขงจึงเกิดความผันผวนจากการขึ้นลงไม่สม่ำเสมอของการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนหรือการเกิดการระเบิดเกาะแก่งเกิดขึ้นทำให้ระบบนิเวศได้รับผลกระทบตามมา” นายพิชเญศพงษ์ กล่าว

ขณะที่ เรนู กสิกุล ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำบางบาลร่วมใจ จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าววว่า ทุ่งบางบาลมีพื้นที่ประมาณหมื่นไร่ เดิมพื้นที่มีน้ำท่วมทุกปี แต่น้ำท่วมแค่เอวเท่านั้น พวกเรามีอาชีพทำนา และเมื่อปี2554 น้ำท่วมหนักมาก นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พวกเราเดือดร้อนมากในเขตบางบาลเดือดร้อนจำนวน 13 ตำบล จากทั้งหมด 16 ตำบล นโยบายของรัฐเสนอให้คนที่อยู่ในตำบลต้องทำนาปรัง เก็บเกี่ยว 2 ครั้งและต้องเก็บเกี่ยวก่อน 15 กันยายนของทุกปี เรียกว่าลุ่มบางบาลมีแก้มลิง แต่พวกเราไม่มีใครยอมรับ

“ยามแล้งทุ่งเราแล้งสุด ยามน้ำหลาก พวกเราแทบจมน้ำตายกัน นโยบายมาจากภาครัฐ พวกเราทำงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2558 และเก็บข้อมูลทุ่งบางบาลทั้งหมด จริงๆแล้ว พื้นที่ตำบลบางบาล เป็นทุ่งที่มีระบบชลประทานล้อมรอบ เมื่อเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว ปี 63-64-65 น้ำท่วม 3 ปีซ้อน เราเป็นครอบครัวที่มีอาชีพทำนาตลอด แต่กรมชลฯมาบอกเราว่า หยุดทำนาได้ไหม เราหยุดไม่ได้ หลังจากนั้นเรามีการเก็บข้อมูลทั้งหมด เราเป็นพื้นที่เก็บน้ำไม่ให้น้ำท่วมเขตอุตสาหกรรมและกรุงเทพฯ แต่เมื่อตอนทำนาเราต้องเสียค่าน้ำไร่ละ 150 บาท เราไม่ยอม” เรนูกล่าว

เรนูกล่าวว่า ชาวบ้านได้ร่วมกันทำวิจัย เพราะรู้สึกเหลื่อมล้ำกับคนที่ไม่ถูกน้ำท่วม เราทำกินไม่ได้ น้ำทำให้เรายากจน คนบางบาลไม่เคยฟื้นตัว งานวิจัยทำให้ได้มีการรวมตัวกัน มีที่ยืน มีที่พูด พูดเรื่องที่เป็นความทุกข์ยาก และสามารถต่อรองได้ทุกที่ เราต่อรองกับชลประทานไม่เสียค่าน้ำ

“ที่ผ่านมาเห็นแล้วว่า เรารวมกลุ่มกัน ช่วยกันทำงานวิจัยและตั้งองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำพัฒนาร่วมใจ งานวิจัยของเราพยายามที่จะเปลี่ยนนโยบาย มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดว่า เกษตรเราต้องการคลองแบบไหน ทำนาแบบไหน ระบบชลประทานอย่างไร งบประมาณที่ลงมาจะได้ไม่เสียเปล่า ตอนนี้ชลประทานต้องลงมาหากลุ่มชาวบ้าน ต้องพาไปดูช่วงหน้าแล้ง มีบึง หนองธรรมชาติที่เป็นร้อย ๆ ไร่ และต้องทำบ่อรอบชลประทานเก็บน้ำช่วงน้ำหลาก ทำข้อมูลส่งให้ชลประทาน กรมชลฯเริ่มเอาไปทำและมีงบเป็นพันล้าน ตอนนี้เราเสนอให้มีการใช้ Solar cell ในการสูบน้ำ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา มีแผนโซล่าร์เซลล์ งบ 70 ล้านบาท สำหรับ 10,000 ไร่ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล แต่เราาจะต้องไปติดตามให้ได้” เรนู กล่าว

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →