Search

ใกล้ได้เวลาเก็บเกี่ยวข้าวแต่ชาวนาคะเรนนีหวั่นต้องหนีสงครามอีกเหตุกองทัพพม่ารุกหนัก-ส่งกำลังพลเข้าพื้นที่เพิ่ม ด้านภาคเหนือรัฐฉานยังเครียด SAC ปิดทางเจรจากองกำลัง 3 พี่น้อง

ภาพจากแฟ้มภาพ

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า ชาวนาในเมืองเดโมโส่ กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่อาจไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 1,265 ไร่ได้ หากการสู้รบในพื้นที่ยังคงรุนแรง โดยขณะนี้กองทัพพม่าได้เพิ่มกำลังพลและเข้ามาโจมตีในพื้นที่อย่างหนัก

ชาวนาในพื้นที่กล่าวว่า พวกตนเตรียมที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวภายในปลายเดือนกันยายนนี้ ขณะที่เมล็ดข้าวบางส่วนยังไม่เติบโตเต็มที่ แต่หวั่นว่า หากไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตอาจส่งผลให้ต้องเผชิญกับการขาดแคลนอาหารและอดอยากในปีนี้ ซึ่งจะกลายเป็นวิกฤติซ้ำเติมชาวบ้านในภาวะสงคราม

ทั้งนี้นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กองทัพพม่าได้เพิ่มกำลังทหารอีก 200 นายและเข้ามาโจมตีตามเส้นทางหลวงเมืองลอยก่อไปยังเมืองเดโมโส่ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะทำให้ชาวบ้านในหลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านดอว์โพซี หมู่บ้านสั่นเปี้ย หมู่บ้านเจ้าก์หม่าย หมู่บ้านหง่าหม่าย หมู่บ้านเบตตะจิ่น และหมู่บ้านอื่นๆอีกหลายแห่งไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้

ชาวนาในเมืองเดโมโส่กล่าวว่า ชาวบ้านบางส่วนนั้นต้องทิ้งไร่นากลับไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในอีกครั้งหลังเกิดการปะทะกันอย่างหนัก ถึงแม้ว่า ชาวบ้านในรัฐคะเรนนีต้องย้ายถิ่นฐานจากภูมิลำเนาเดิมเป็นระยะเวลา 4 ปีแล้ว แต่ก็ได้พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว เช่นในเมืองลอยก่อและเมืองเดโมโส่ โดยชาวบ้านได้กลับมาปลูกข้าวทำนาบนเนื้อที่มากกว่า 2,500 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่า 1,265 ไร่นั้นอยู่ใกล้กับพื้นที่สู้รบ

ชาวนาอีกรายหนึ่งอธิบายว่า การปลูกข้าวมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น หากไม่นับต้นทุนการเก็บเกี่ยว ต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านจั้ตต่อเอเคอร์

 ทั้งนี้ในรัฐคะเรนนีกลุ่มติดอาวุธฝ่ายต่อต้านนั้นได้ใช้ปฏิบัติการโจมตีกองทัพพม่าในชื่อ 1111 ซึ่งเริ่มโจมตีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 โดยทหารฝ่ายต่อต้านสามารถยึดหมู่บ้านดอว์โพซี หมู่บ้านสั่นเปี้ย หมู่บ้านเจ้าก์หม่าย หมู่บ้านหง่าหม่าย บ้านเบตตะจิ่น และตามเส้นทางหลวงเมืองลอยก่อไปยังเมืองเดโมโส่ อย่างไรก็ตาม กองทัพพม่ากลับมายึดพื้นที่เหล่านี้คืนจากฝ่ายต่อต้านได้เมื่อสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

อีกด้านหนึ่ง กองทัพพม่าได้ประกาศว่า กลุ่มกองกำลังพันธมิตร 3 ชาติพันธุ์ในนาม The Brotherhood Alliance ประกอบด้วย กองทัพโกก้าง (Myanmar National Democratic Alliance Army-MNDAA) กองทัพตะอางหรือปะหล่อง (Ta’ang National Liberation Army-TNLA) และกองทัพอาระกัน (Arakan Army-AA) ซึ่งปฏิบัติการโจมตีกองทัพพม่าในชื่อ Operation 1027 มาตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2566 เป็นกลุ่มก่อการร้ายเนื่องจากทั้ง 3 กลุ่มนั้นโจมตีในเขตชุมชน ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของทางการ

นอกจากนี้กองทัพพม่ายังกล่าวหาทั้ง 3 กลุ่มว่า สังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์และบังคับเกณฑ์ทหาร ในส่วนของกองทัพพม่าเอง ก็ถูกกล่าวหาว่า ได้ก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รวมถึงการสังหารหมู่พลเรือน การเผาหมู่บ้าน และการทิ้งระเบิดบริเวณที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ นับตั้งแต่ที่รัฐบาลทหารก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ขณะที่สำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า การที่กองทัพพม่าได้ออกมาประกาศให้กองทัพ 3 พี่น้องเป็นกลุ่มก่อการร้าย เป็นการปิดทางเพื่อไม่ให้มีการเจรจาพูดคุยสันติภาพกับทั้ง 3กลุ่มหรือไม่ ซึ่งยังหมายความว่าจีนจะไม่สามารถจัดการเจรจาสันติภาพระหว่างกองทัพพม่าและกองทัพ 3พี่น้องได้อีกต่อไปเหมือนที่เคยทำในอดีต

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →