Search

หวั่นผลกระทบข้ามแดน 5 ด้าน กสม.แนะนายกรัฐมนตรีเร่งสั่งการป้องกันปัญหาเขื่อนแม่น้ำโขง-ทบทวนแผนรับซื้อไฟฟ้า-จี้ ก.ล.ต.เข้มงวดให้ผู้พัฒนาโครงการดำเนินการตามหลักการ UNGPs

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ว่า ตามที่ กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน 4 โครงการ ซึ่งเกิดจากบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาวได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม เขื่อนภูงอย เขื่อนปากชม และเขื่อนบ้านกุ่ม โดยเขื่อนสานะคามอยู่ระหว่างกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) เขื่อนภูงอยจะเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าต่อจากเขื่อนสานะคาม ส่วนเขื่อนบ้านกุ่มและเขื่อนปากชม อยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันระหว่างไทยกับ สปป. ลาว

นายวสันต์กล่าวว่า ผู้ร้องได้ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเนื่องจากเห็นว่าทั้ง 4 โครงการดังกล่าว จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย กสม. ได้ตรวจสอบและประมวลข้อเท็จจริงจากคำชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ และภาคประชาสังคมแล้ว และเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ประธาน กสม.จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งประเด็นข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทย

กสม.กล่าวว่าผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างเขื่อนอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำเท้อท่วมพื้นที่สำคัญและพื้นที่เกษตรกรรมน้ำล้นตลิ่ง การกัดเซาะตลิ่ง การอพยพของสัตว์น้ำ และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะน้ำเท้อจากแม่น้ำโขงเข้าสู่แม่น้ำมูลและแม่น้ำาสาขาในประเทศไทยจะกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูลและแม่น้ำสาขาทำให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำจากลำน้ำต่าง ๆทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นไปได้ยากขึ้น

2. ด้านอุทกวิทยาและชลศาสตร์ จากการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานในช่วงปี 2557 – 2561 (ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี) ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พบว่าการปล่อยน้ำจากเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานทำให้การไหลของน้ำมีความเร็วและแรง ระดับน้ำมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ตลิ่งถูกกัดเซาะมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแม่นำโขงที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ กระทบต่อปลาขนาดใหญ่จำนวนมากและปลาท้องถิ่นที่จะไม่สามารถวางไข่ได้

3. ด้านความมั่นคงชายแดนไทย – ลาว การสร้างเขื่อนอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำลึกทำให้มีผลต่อการเจรจาเขตแดนไทย – ลาว ที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC) 4. ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชน ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมริมฝั่ง การประมง และการท่องเที่ยว หากพื้นที่ถูกน้ำท่วมจากน้ำเท้อ จะทำให้สูญเสียรายได้หลักในการดำรงชีพ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนที่ต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค

5. ด้านความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน ที่ผ่านมายังไม่พบข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแก่ประชาชนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากโครงการเขื่อนในแม่น้ำโขงที่เปิดดำเนินการแล้ว รวมถึงเขื่อนที่อยู่ระหว่าง

การศึกษา เช่น เขื่อนสานะคามที่อยู่ประชิดชายแดนไทยเพียง 2 กิโลเมตร กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้รับรองสิทธิของบุคคลและชุมชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ขณะที่ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนปี 2538 ระบุว่า ประเทศสมาชิกที่ได้ตกลงร่วมกันที่จะใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม จะต้องไม่กระทบอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

นายวสันต์กล่าวว่า นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังมีมติเห็นชอบและประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนและไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมการลงทุนระหว่างประเทศ และส่งเสริมให้ภาคธุรกิจปรับใช้หลักการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน(HRDD) ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs)

“เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง และหลักสิทธิมนุษยชนข้างต้นแล้ว กสม. จึงมีข้อห่วงกังวลว่า แม้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานจะสร้างและดำเนินการในเขตอธิปไตยของ สปป. ลาว แต่ที่ตั้งแต่ละโครงการอยู่ติดกับประเทศไทยมากและมีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลกระทบข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในจังหวัดเลยและจังหวัดอุบลราชธานี รัฐบาลไทยอาจต้องสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง (ประมาณ 100 ล้านบาทต่อ1 กิโลเมตร) เนื่องจากโครงการอาจทำให้เกิดการกัดเซาะตลิ่งมากขึ้น ส่วนภาคธุรกิจผู้ร่วมพัฒนาโครงการซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลสัญชาติไทยทั้ง 4 โครงการ ยังมีความรับผิดชอบที่จะต้องประกอบธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGPs”นายวสันต์ กล่าว

กสม.กล่าวว่า ด้วยด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 1. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การสร้างเขื่อนไซยะบุรีในทุกด้าน และแนวทางการป้องกันผลกระทบต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมของอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพต่างดินแดนและการเคารพในสิทธิและผลประโยชน์ของผู้อื่น เพื่อประกอบการพิ จารณาการดำเนินโครงการทั้งสี่เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนไทยและอธิปไตยของไทย

2. ให้กระทรวงพลังงานทบทวนแผนการรับซื้อไฟฟ้าและปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศไทย ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและไม่สร้างภาระแก่ประชาชน รวมทั้งพิจารณาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้ประกอบธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชน โดยให้กระทรวงการคลังกำหนดให้การจัดทำบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGPs และตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2และให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) และ

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของ ผู้พัฒนาโครงการซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลสัญชาติไทยทั้ง 4 โครงการ สอดคล้องกับหลักการ UNGPs โดยจัดทำรายงานประเมินผลกระทบและความเสี่ยงของโครงการอย่างรอบด้านและมีมาตรการเยียวยา ผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงที่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน

On Key

Related Posts

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →

สนามรบในรัฐกะเหรี่ยงเดือด ทหารพม่าใช้เรือส่งกำลังพลเสริมทางแม่น้ำจาย หลังถูกปิดล้อมค่ายใหญ่ในเขตกอกะเร็ก KNUออกประกาศเตือนชาวบ้านเลี่ยงเดินทาง หวั่นตกเป็นเป้าทหารพม่า

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ชาวเมืองล่าเสี้ยวสุดเซ็ง ทัพโกก้างคืนเมืองล่าเสี้ยวให้ทัพพม่า-เล่นเกมอำนาจการเมืองกัน เปรียบเหมือนหมาแย่งบอลแต่ชีวิตชาวบ้านไม่มีอะไรเปลี่ยน

สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 25Read More →

ผู้เชี่ยวชาญหวั่นผลกระทบสารหนูในน้ำกก-น้ำสายกระจายตัววงกว้าง-รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบแก้ที่ต้นทาง ชี้เป็นสารพิษสะสมก่อเกิดมะเร็ง จี้ ทส.ตั้ง กก.เฝ้าระวัง-ตรวจผลอย่างน้อยทุกเดือน เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารทำหนังสือประสานพม่าร่วมแก้ไข

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวRead More →