Search

ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอยถวายฏีกาในหลวงแฉอุทยานเบี้ยวจัดที่ดินทำกินหลังถูกบังคับย้ายปู่”คออี้”ขึ้นศาลปกครอง-ฟ้องอุทยานฯเผาบ้าน-ยุ้งฉาง

 

IMG_239216067212967

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เวลา 10.00 น.ที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีการไต่สวนปูคออี้ มีมิ ผู้อาวุโสอายุ 104 ปีของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยและผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คนซึ่งเป็นขาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบ้านบางกลอยบน และถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานบุกรุก เผาบ้านและยุ้งฉางข้าว พร้อมขับไล่ออกจากชุมชนเดิม

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น กล่าวว่าการนัดวันนี้เป็นขึ้นตอนหนึ่งในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาอย่างรอบด้าน ดังนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกจะได้นำเสนอข้อมูลต่างๆต่อศาล โดยก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วฝ่ายละ 2 ครั้ง ครั้งนี้ผู้พิพากษาต้องการสอบถามเพิ่มเติม

นางมือนอ ภรรยานายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้บิลลี่และตนได้ช่วยกันคิดและตั้งใจว่าจะถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พี่น้องได้กลับไปอยู่ในพื้นที่เดิม แต่นายบิลลี่มาหายไปเสียก่อน อย่างไรก็ตามขณะนี้ชาวบ้านได้ร่วมกันลงชื่อและจะถวายฎีกานี้ต่อไป

 

นางมือนอได้อ่านเนื้อหาในหนังสือถวายฎีกาว่า “พวกเราชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบ้านใจแผ่นดิน บ้านบางกลอยบน ได้อยู่อาศัยในพื้นที่นี้มานานแล้ว ตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย มาหลายๆรุ่น อยู่มานานหลายร้อยปี พวกเราดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการทำไร่ข้าวหมุนเวียนใช้ชีวิตแบบพอมีพอกิน ไม่เดือดร้อน ลำบาก ต่อมาถึงปี 2524 ทางการได้ประกาศให้ผืนป่าแก่งกระจาน รวมทั้งบ้านใจแป่นดิน บ้านบางกลอยบน เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานโดยที่พวกเราไม่รู้เรื่องเพราะไม่มีเจ้าหน้าที่มาบอก พอถึงปี 2539 เจ้าหน้าที่ได้บังคับให้พวกเราลงมาอยู่ที่บ้านบางกลอยล่าง หมู่บ้านปัจจุบัน โดยจัดที่ทำกินให้ครอบครัวละ 7-8 ไร่ และบอกว่าจะช่วยเหลือเรื่องอาหารการกินเป็นเวลา 3 ปี แต่ก็มีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งไม่ยอมลง ยังคงอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม “ในการจัดพื้นที่ทำกินให้ชาวบ้านนั้น เจ้าหน้าที่ได้ไปเอาพื้นที่ทำกินบ้านโป่งลึกมาจัดสรรให้ ทำให้พื้นที่ทำกินแต่เดิมของชาวบ้านโป่งลึกไม่เพียงพอแต่ละครอบครัว ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายใจแก่ชาวบ้านโป่งลึกเพราะจะไม่มีพื้นที่ให้กับลูกหลายตนเองในอนาคต และเจ้าหน้าที่ไม่จัดสรรที่ดินให้ครบทุกครอบครัว พื้นที่ทำกินที่เจ้าหน้าที่จัดให้นั้น บางแห่งก็ไม่เหมาะกับการทำไร่ข้าวเพราะมีหินมาก “

ส่วนเรื่องเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่บอกว่าจะช่วยเหลือเรื่องอาหารการกินเป็นเวลา 3 ปี ให้กับชาวบ้านนั้น พอชาวบ้านลงมาจริง ความช่วยเหลือก็มีไม่ถึง 3 เดือน ชาวบ้านลำบากมากเพราะไม่มีข้าวกิน ต้องดิ้นรนออกไปรับจ้างหากินข้างนอก พอพวกเราออกไปรับจ้างในเมืองก็ถูกคดโกงเอาเปรียบค่าแรง received_m_mid_1400473574517_136ed3d78e3a0d7a21_0   “เมื่อพวกเราลงมาอยู่ได้ 2 ปีกว่า ลำบากมาก พวกเราจึงกลับขึ้นไปอยู่ที่เดิม ที่ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราเคยอยู่ เพราะที่เดิมของเรามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผักผลไม้ที่บรรพบุรุษปลูกไว้แต่ดั้งเดิม เช่น ทุเรียน มะม่วง ขนุน มะพร้าว หมากและอื่นๆ

“การอพยพและผลักดันโดยการทำลายบ้าน ยุ้งฉางข้าว และความชื่อทางวัฒนธรรมประเพณีนั้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการรุนแรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน และยังกล่าวหาว่าพวกเราเป็นชนกลุ่มน้อยมาจากฝั่งพม่า พวกเราไม่ได้อพยพมาจากฝั่งพม่า แต่อยู่ที่นี่บ้านใจแผ่นดิน บางกลอยบน พวกเราจึงไม่ไปอยู่ประเทศพม่าหรือลงไปอยู่บ้านบางกลอยล่างอีก

“การผลักดันของเจ้าหน้าที่อุทยานฯก็หนักขึ้นเรื่อยๆจนถึงขั้นเผาบ้าน เผายุ้งฉาง ตัดฟันไม้ยืนต้นที่พวกเราปลูกไว้ เขาไล่จับพวกเรา เวลานี้พวกเราอยู่ลำบากมาก เพราะข้าวของเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อถูกทำลาย พวกเราจะไปประกอบพิธีกรรมก็ต้องกลับไปแบบหลบๆซ่อนๆ พวกเราชาวบ้านใจแผ่นดิน ไม่ว่าเด็ก คนแก่ คนป่วย คนท้อง คนพิการ ต้องลำบากทุกข์ทรมาน พวกเราอดอยากไม่มีข้าวกินถึงขั้นมีคนตาย มีคนแท้งลูกขณะหลบหนีเจ้าหน้าที่ พวกเราต้องแบบซ่อนตัวในป่าในถ้ำโดยไม่มีผ้าห่ม เสื้อผ้าสำรอง ต้องทนฝน ทนยุง ทนหนาว ต้องกินหัวกลอย หัวเผือก หัวมัน หน่อไม้ และของป่าแทนข้าวแก้หิว พวกเราเดือดร้อนเช่นนี้ก็เคยบอกผู้นำหมู่บ้านโป่งลึก บางกลอย ซึ่งรับรู้แต่ไม่มีใครกล้าช่วยเหลือพวกเรา เพราะกลัวเดือดร้อน กลั้วเจ้าหน้าที่จะรังแกพวกเขา ทั้งที่ผู้นำหมู่บ้านโป่งลึกและบางกลอยล่างก็เป็นลูกหลานญาติของเราจริงๆ “

ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนจนถึงวันนี้ นายพอละจี รักจงเจริญ ผู้นำชาวกะเหรี่ยงในชุมชนได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีใครรู้เลยว่าเขาอยู่แห่งหนตำบลใดหรือเป็นตายร้ายดีอย่างไร

“พวกเราอยู่ในหมู่บ้านด้วยความหวาดกลัวที่จะถูกลักพาตัวไปเหมือนบิลลี่ เราจึงขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ปกป้องเรา ขอให้อธิบดีกรมอุทยานฯมีคำสั่งนย้ายนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ออกไปปฏิบัติงานนอกอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จนกว่าการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระบวนการศาลถึงที่สุด เนื่องจากนายชัยวัฒน์เป็นจำเลยในคดีจ้างวานฆ่านยทัศน์กมล โอบอ้อม ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเราชาวไทยเชื้อสานกะเหรี่ยง และขอให้พวกเรามีสิทธิอยู่ในพื้นที่ยางกลอยบนโดยเจ้าหน้าที่อุทยานฯไม่ต้องไปรังแก ขับไล่ จับกุม เผาบ้าน เผายุ้งข้าว ทำลายพิธีกรรมความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ พวเราจะได้อยู่กันอย่างเป็นหลักแหล่งเพื่อความมั่นคงในคุณภาพชีวิต มีความเป็นอยู่ มีสุขภาพจิตที่ดี โดยกันเขตพื้นที่ทำกินให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุกป่าพื้นทีอุทยานฯ จะได้ไม่ต้องอดอยากทุกข์ทรมาน อยู่กันแบบหลบๆซ่อนๆในป่า ใช้ชีวิตเหมือนคนป่า IMG_239185231881196 “พวกเราของอยู่บางกลอยบน ใช้ชีวิตอย่างสงบเหมือนเดิม เราจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการดูแลป่า เพื่อความมั่นคงของประชาชนและประเทศชาติในอนาคต พวกเราจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตรวสอบขอ้ตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนโดยด่วน เพราะพวกเราเดือดร้อนมาก”

นายสิทธิพล รักจงเจริญ น้องชาวนายบิลลี่กล่าวว่า ตั้งแต่นายบิลลี่หายตัวไป ผู้ชายในหมู่บ้านต่างรู้สึกหวาดกลัวว้าจะหายไปเหมือนนายบิลลี่ บางคนพอไปหาฟืนก็ถูกเจ้าหน้าที่ห้ามนำกลับบ้าน จึงต้องใช้กิ่งไม้แห้งๆจุดไฟ อย่างไรก็ตามหลายคนก็พร้อมที่จะลุกขึ้นสู้ เมื่อถามถึงกรณีที่อุทยานกล่าวหาว่าชาวบ้านบางกลอยบนตัดไม้ทำลายป่าและบริเวณนั้นเป็นเส้นทางผ่านของขบวนการค้ายาเสพติด

นายสิทธิพลกล่าวว่า ชาวบ้านไม่เคยตัดไม้ใหญ่เพราะการทำไร่ก็ทำในไร่ซากและไม่เคยเข้าไปทำในป่าดงดิบเลย ส่วนเรื่องยาเสพติดนั้น ชาวบ้านไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเลย เราไม่เคยปลูกกัญชา และไม่รู้ด้วยว่ามีขบวนการค้ายาเสพติดใช้เส้นทางในบริเวณนี้เหมือนที่อุทยานฯกล่าวอ้าง นอกจากนี้คนในหมู่บ้านบางกลอยก็ยังเป็นคนดั้งเดิม ไม่ใช่คนที่ย้ายมาจากฝั่งพม่า

“ตอนนี้เราอยากให้ช่วยเหลือเรื่องที่ดินทำกินมากที่สุด เพราะเมื่อไม่มีที่ดิน พวกเราก็ไม่รู้จะมีชีวิตอย่างไรตอนนี้เราทำอะไรไม่ได้เลย บางส่วนต้องลงไปรับจ้าง ถูกโกงค่าจ้างค่าแรงบ้าง” นายสิทธิพล กล่าว

On Key

Related Posts

นักโทษทางการเมืองพม่าเสียชีวิตในคุก หลังถูกเรือนจำปฏิเสธให้เข้ารับการรักษา ชี้รัฐบาลทหารหวังผลทางการเมืองหลังนิรโทษกรรมกว่า 5 พันคน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →