Search

ปางควายเวียงหนองหล่ม วิถีเก่าหลงยุคอันทรงคุณค่า

received_m_mid_1400717559118_863a238b3b7ea71e03_0

เสียงฮอก ของกระดิ่งห้อยคอควาย ดังมาทางคันดินริมฝั่งหนองน้ำเบื้องขวา ส่วนเบื้องหน้าเป็นแผ่นน้ำกว้าง เบื้องซ้ายเป็นเนินเขาลูกเล็ก มีกระท่อมมุงคา ฝาไม้ไผ่เรียงซุกตัวใต้กอไผ่เจ็ดแปดหลัง กลุ่มควันไฟลอยเอื่อยต่ำ เวลาใกล้พบค่ำ ทำกับข้าวกับปลา รอเวลาควายเข้าคอก

วิถียามพบค่ำใน “เวียงหนองหล่ม”เช่นนี้ดำเนินผ่านกาลเวลามายาวนาน

เวียงหนองหล่มหรือเวียงหนองล่ม พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจาการยุบตัวของแผ่นเปลือกโลกรอยเลื่อนแม่จัน คนทั่วไปรู้จักในนามแอ่งเชียงแสน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 14,000 ไร่ ผืนเดียวกันกับทะเลสาบเชียงแสนและหนองบงกาย คาบเกี่ยวพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ตำบลจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และตำบลโยนกอำเภอเชียงแสน

ปางควายในเวียงหนองหล่มปัจจุบันเหลือเพียง 3 ปางได้แก่ ปางบ้านห้วยน้ำราก ปางป่าสักหลวง และปางบ้านดงต้นยาง เหลือควายประมาณเพียง 1,400 กว่าตัว

ควาย สัตว์คู่วิถีคนท้องถิ่นล้านนาและสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต เป็นปัจจัยหลักในการทำนา และทุนสะสมของครอบครัวยามจำเป็น หรือครอบครัวใหม่พ่อแม่มักแบ่งควายเพื่อเป็นทุนสร้างครอบครัว หรือขายเพื่อสร้างบ้าน หรือป่วยไข้ เลี้ยงโดยการปล่อยทิ้งไว้ตามพื้นที่สาธารณะแหล่งน้ำในชุมชน

ในช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา วิถีชีวิตการเกษตรแบบยังชีพเปลี่ยนไป เป็นเกษตรเชิงพาณิชย์ มีข้าวโพด อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ยาสูบ ข้าวพันธุ์ใหม่ ปอสา จนทศวรรษ 2540 เริ่มมียางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวนาปรัง โดยมีเม็ดเงินทางเศรษฐกิจเป็นตัวล่อใจ และเกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างรวดเร็ว รวมถึงการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น เครื่องจักร เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น ปริมาณการผลิตยิ่งขยายเพิ่มขึ้น

ควายเนื้อถูกแทนที่ด้วยควายเหล็ก การผลิตที่เร่งรีบ ควายเนื้อไม่ทันกิน ขายควายเนื้อซื้อควายเหล็ก พื้นที่เลี้ยงควายเลี้ยงลดลง เริ่มมีปัญหาในการเลี้ยงควาย พื้นที่ส่วนรวมหาย การดูแลควายเข็มงวดขึ้น บ้างถูกปรับไหมจากควายลงไปกินพืชผลการเกษตร

คนเลี้ยงจึงขายควายทิ้ง ตั้งแต่ปลายปี 2530 ทำให้ลมหายใจของวิถีดั้งเดิมเริ่มขาดช่วงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางส่วนรักษาปางควายเวียงหนองหล่มเอาไว้ท่ามกลางภาวะวิกฤติทางวิถี จากการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำของนายทุนเพื่อ ปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันรวมถึงสับปะรด

received_m_mid_1400717565268_cb9ab0c0a59af3f085_0

จากการลงพื้นที่ของกลุ่ม “หลืบผา” สร้างความประหลาดใจอย่างยิ่ง ที่ในยุคปัจจุบันยังพบการเลี้ยงควายแบบดั้งเดิม ที่เคยได้ยินเรื่องเล่าจากความทรงจำของพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม ตำนานที่มีอยู่จริงยังคงเหลืออยู่ในโลกปัจจุบัน

โจทย์ใหญ่ของลูกหลานล้านนาจะทำอย่างไรกับการจะรักษาวิถีเก่าที่ดูเหมือนหลงยุคให้คงอยู่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนรุ่นหลัง

ทำอย่างไรจึงจะมีการรณรงค์ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้สังคมรับรู้ถึงความสำคัญของวิถีความงาม ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน หรือทุกภาคส่วน หันมาสนใจกลุ่มคนปางควาย วิถีหลงยุคเหล่านี้

—————
ไกร น้ำของ
กลุ่มนักเขียน “หลืบผา”
————-

หมายเหตุ-ในวันที่ 5 มิถุนายน คณะกรรมการชาวบ้านแม่ลัว หมู่ 1  และกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก – โขง  ร่วมกันจัดงานพิธีบวชวังสงวนหนองหลวง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมสืบชะตาสายน้ำ  อนุรักษ์สัตว์น้ำ  และระบบนิเวศวัฒนธรรมของคนเวียงหนองหล่ม  ให้ฟื้นคืนกลับมาอุดมสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างพอเพียงและยั่งยืนสืบต่อไป  ภายในงานคณะกรรมการจัดงาน ยังได้จัดการเสวนา  เพื่อเป็นการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหา  ผลกระทบและร่วมกันคิดหาแนวทางในการจัดการลุ่มน้ำร่วมกันแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน  เป็นธรรมและเป็นสุขร่วมกันของคนพื้นที่เวียงหนองหล่ม ณ บริเวณหนองหลวงแม่ลัว ต.ท่าข้าวเปลือก  อ.แม่จัน  จ.เชียงราย
—————-
กำหนดการกิจกรรม
07.30 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 08.50 น. พิธีกร กล่าวชี้แจงรายละเอียดงาน
ผู้ใหญ่บ้านแม่ลัว: นายปั๋น ศรีสุวรรณ์ กล่าวชี้แจงประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสภาพความเป็นอยู่ของบ้านแม่ลัว
08.50 – 09.00 น. คณะกรรมการดูแลน้ำแม่ลัว: นายสวิง จันทาพูน กล่าวชี้แจงรายละเอียดความเป็นมาของการจัดงานบวชวังสงวนน้ำแม่ลัว
09.00 – 09.10 น. กำนันตำบลท่าข้าวเปลือก  นางมาลัยกัมปะหะ
กล่าวรายงานสรุปการจัดงานบวชวังสงวนน้ำแม่ลัว ต่อประธานในพิธี
09.10 – 09.30 น. นายอำเภอแม่จัน ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระ
กล่าวเปิดงาน
09.30 – 09.50 น. พิธีกรเรียนเชิญนายกเทศบาลท่าข้าวเปลือกกล่าวทัศนะ นายกเทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือกนายสุทิน กัมปะหะ กล่าวทัศนะว่าด้วย “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของหน้าหมู่”
09.50 – 10.00 น. ประธานคณะกรรมการดูแลน้ำ บ้านแม่ลัว นายสมพงษ์ จันทาพูน กล่าวทัศนะว่าด้วย “ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของหน้าหมู่”

10.00-  10.30น. พระพุทธชิญานมุนี ปัญญาวชิโร วัดพระธาตุผาเงา เชียงแสน
“การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในทัศนะพระพุทธศาสนา”
10.30 –12.00 น. เริ่มพิธีกรรมทางศาสนา
ประธานในพิธี ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชนและแขกทุกท่านร่วมกันเปิดป้ายวังสงวนสัตว์น้ำบ้านแม่ลัวและร่วมกันปล่อยปลาลงสู่แม่น้ำ/วังสงวน
12.00  -13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
13.00 – 14.30 น. เสวนา “เฮาจะอยู่ร่วมกันอย่างไรเมื่อของหน้าหมู่มีน้อยลงทุกวัน เพื่อลูกเพื่อหลานของเฮา” โดย     สผ  ./   IUCN อปท   เครือข่ายคนทำงานชาวบ้าน
14.30 – 16.00 น. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่ม นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผลการวิจัยในพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่ม
16.00 – 17.00 น. สรุปสังเคราะห์รวม
18.00 – 21.00 น. งานจัดเลี้ยงขันโตก/วงดนตรี  และการแสดง/ฟ้อนเชิง และปล่อยโคมมงคล

ติดต่อ 093-2141451 สวิง จันทาพูน
081-1792345 ดุษิต จิตสุข

 

On Key

Related Posts

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →

แหล่งอาชญากรรมริมเมยป่วนหลังถูกกดดันหนัก มาเฟียจีนพล่าน-ชักไม่มั่นใจกองกำลังกะเหรี่ยงเทา เตรียมฉวยจังหวะช่วงตรุษจีนกลับประเทศ แนะรัฐสบช่องเก็บข้อมูลแก๊งอาชญากร

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ทัวร์จีนเมืองชายแดนป่วน นักท่องเที่ยวแดนมังกรหายไป 80% ผู้ประกอบการโอดกรุ๊ปทัวร์ยกเลิกแทบเหี้ยน เผยโลกโซเชียลจีนกระหึ่มหวาดกลัวหนัก เชื่อคนหายนับแสนราย ตั้งคำถามทำไมช่วยไม่ได้เหมือน “ซิงซิง”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จาRead More →