สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ทำไมพวกเขาถึงต้องเข้ากรุง ชาวเล-กะเหรี่ยง-ไทยพลัดถิ่น

เข้ากรุง
ในระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม พลเมืองชายขอบอย่างกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง จำนวนหนึ่ง จะเดินทางมายังกรุงเทพฯ เพื่อเร่งรัดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาร(คสช.)ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีออกมารองรับการแก้ไขปัญหาของชนกลุ่มเหล่านี้แล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าในทางปฎิบัติ กลไกรัฐกลับทำงานล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ทำให้พวกเขายังต้องเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส

ในส่วนของชาวเลที่เดินทางมาในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านจากชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต และชุมชนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล โดยทั้ง 2 ชุมชนเป็นเป็นภาพสะท้อนของความเดือดร้อนของชาวเลในท้องทะเลอันดามันนับหมื่นคน โดยเฉพาะปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น สุสานบรรพบุรุษ ศาลสักการะ ถูกบุกรุก จนชาวเลแทบไม่มีที่อยู่ ขณะที่การออกทะเลหากินก็เป็นไปอย่างลำบากเพราะผืนน้ำถูกจับจองเป็นเจ้าของแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจากเอกชนหรือรัฐ

แม้ว่ารัฐบาลในอดีตได้เคยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อกรกฎาคม 2553 ให้แก้ปัญหาและฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลแล้วก็ตาม แต่ในทางปฎิบัติกลับยังไปไม่ถึงไหน ในทางตรงกันข้ามชาวเลอย่างน้อย 5 ชุมชน กำลังถูกนายทุนอ้างกรรมสิทธิ์และขับไล่ บางส่วนถูกฟ้องร้องและคดีอยู่ในศาล นอกจากนี้ยังมีพื้นที่พิธีกรรมและสุสานอีก 15 แห่งถูกบุกรุกและห้ามชาวเลเข้าไปใช้

สำหรับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นนั้น ที่ผ่านมาแม้พวกเขาจะลงทุนลงแรงเดินเท้าจากจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบฯเข้ากรุง จนกระทั่งมีการเพิ่มเติมกฎหมายสัญชาติ เพื่อให้คนไทยหลายหมื่นคนที่เป็นผลตกค้างจากการเสียดินแดนให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้มีโอกาสทัดเทียมคนไทยทั่วไป แต่ผ่านมาแล้วกว่า 2 ปี กลับคืนสัญชาติให้กับคนกลุ่มนี้ได้น้อยมาก

ปัจจุบันกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นอีกหลายหมื่นคนยังต้องเผชิญชีวิตอันยากลำบากตั้งแต่เกิดจนตายจากการไม่มีบัตรประชาชน บางคนแก่เฒ่าหวังใจว่าจะได้เห็นบัตรประชาชนก่อนตาย จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้เห็น แถมขณะนี้ยังเกิดขบวนการแอบอ้างชื่อคนไทยพลัดถิ่นเพื่อขอบัตรประชาชนโดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐทำการทุจริต ดังนั้นหากไม่เร่งแก้ปัญหา เรื่องก็จะยิ่งบานปลาย

กลุ่มสุดท้ายคือชาวกะเหรี่ยง ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับเช่นเดียวกับชาวเล แต่ก็มีปัญหาในทางปฎิบัติดั่งเดียวกัน เพียงแต่รูปแบบของปัญหาแตกต่างกันไป โดยชาวกะเหรี่ยงมักตกเป็นจำเลยของภาครัฐว่า ทำลายป่าและทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งเป็นข้อหาที่เชยมาก เพราะผลการวิจัยทางวิชาการหลายฉบับต่างก็ชี้ชัดว่า การทำการเกษตรของชาวกะเหรี่ยงคือการทำไร่หมุนเวียนนั้น ไม่ได้เป็นการบุกรุกทำลายป่าเลย เพราะพื้นที่ในการทำไร่หมุนเวียนยังคงเท่าเดิม

วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอนั้น ถูกสั่งสอนให้เคารพป่า เคารพน้ำเคารพธรรมชาติ มาตั้งแต่ครั้นบรรพบุรุษ เพราะธรรมชาติให้ชีวิตแก่พวกเขา ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่พวกเขาจะละเมิดข้อห้ามเหล่านี้ ที่เห็นชัดเจนตอนนี้คือกรณีป่าสาละวิน ที่ขบวนการลักลอบตัดไม้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนภายนอก เข้าไปตัดไม้สักจำนวนมหาศาลโดยความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ชาวกะเหรี่ยงได้แต่น้ำตาตกเพราะอิทธิพลในพื้นที่ ท้ายสุดพวกเขาก็ได้ร่วมกันบวชและปลูกป่า

ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ซึ่งมีทางออกทั้งสิ้น หากคสช.มองมิติด้านความมั่นคง ก็ควรใส่ใจเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญแนวทางแก้ไขสามารถทำได้ไม่ยากเพราะมีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีรองรับอยู่แล้ว

On Key

Related Posts

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →

รัฐคะเรนนียังรบกันเดือด โฆษก IEC เผยฝ่ายต่อต้านยึดพื้นทางทหาร SACได้เกือบหมด-ปิดล้อมบอลาเค-ผาซอง ส่วนสู้รบในเมืองเมียวดีกองกำลังชาติพันธุ์รุมสกัดขบวนทหารพม่าเสริมทัพ

v เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 นายบันยา (Banya) โฆษกRead More →