Search

ประจานหน่วยงานรัฐไร้น้ำยา ชาวเล-กะเหรี่ยง-ไทยพลัดถิ่นเตรียมเข้ากทม. ร้องคสช.เร่งรัดแก้ปัญหาความเดือดร้อน

ยื่นหนังสือ

ในระหว่างวันที่ 21-22 กรกฏาคม 2557 ตัวแทนชาวบ้านจากกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ร่วม 100 คน จะเดินทางจากจังหวัดต่างๆมายังกรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่กำลังเผชิญอยู

ทั้งนี้ในส่วนของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นนั้น มีข้อเรียกร้องหลักคือให้ภาครัฐเร่งคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายสัญชาติที่ปรับปรุงเพิ่มเติมฉบับที่ 5 โดยขอให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เนื่องจากปัจจุบันชาวไทยพลัดถิ่นซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพร ระนองและประจวบฯ ยังคงเผชิญความลำบากแทบทุกด้านจากการไม่มีบัตรประชาชน เช่น ถูกเอาเปรียบเรื่องค่าแรง ถูกช่มขู่ต่างๆและไม่สามารถไปแจ้งความได้ โดยตลอด 2 ปีที่กฎหมายสัญชาติฉบับปรับปรุงออกมานี้ กระทรวงมหาดไทยสามารถคืนสิทธิให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เพียง 2 พันคน ขณะที่มีชาวบ้านรอความหวังอยู่หลายหมื่นคน

ข้อเสนอเร่งด่วนของเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นคือ1. แต่งตั้งคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ( ระดับชาติ ) ซึ่งหมดวาระลงแล้ว โดยปรับปรุงกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ / ภาคประชาชน / ผู้เชื่ยวชาญ

2. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นในระดับจังหวัด และอำเภอ ( ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ) โดยให้ภาคประชาสังคม / ผู้แทนเครือข่ายชุมชน / นักวิชาการ เข้าร่วม โดยเป็นลักษณะศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ( One Stop Service )

3. จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนดำเนินการ และ เร่งรัดการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ในกลุ่มที่กรมการปกครองขึ้นทะเบียนไว้แล้ว 18,309 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

ในส่วนของชาวกะเหรี่ยงนั้น ได้มีการจัดเตรียมทำข้อเสนอต่อคสช.ดังนี้ 1.ให้คสช.บรรจุหรือบัญญัติเนื้อหาเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและสิทธิชุมชนในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไว้ให้ชัดเจนพร้อมทั้งมีแนวทาง หลักการและมาตรการในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

2. ขอให้มีการดำเนินการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิติ และวัฒนธรรมชาติพันธ์กะเหรี่ยงโดยเร่งด่วน เพื่อให้การยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการการดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายและหลักในการปฏิบัติการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

3. ขอให้คสช.)มีมติรับรอง และจัดทำเป็นนโยบายสนับสนุนระบบและกฎระเบียบการจัดการทรัพยากร(ดิน,น้ำ,ป่า)โดยการทำและสนับสนุน “โฉนดชุมชน พรบ.กองทุนยุติธรรม พรบ.กองทุนธนาคารที่ดิน พรบ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า”ของชุมชนตามแผนการจัดการภายใต้องค์ความรู้ภูมิปัญญาชุมชน เห็นชอบการสร้างสิทธิชุมชน องค์ความรู้ ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรฯ ที่อยู่บนหลักการ เหมาะสม สอดคล้อง ความสมดุล ยั่งยืนของระบบนิเวศ และความเข้มแข็ง ยั่งยืนของชุมชน รับรองการ จำแนกแบ่งเขตป่า พื้นที่ทำกิน พื้นที่อยู่อาศัย ให้ชัดเจน

4.รณรงค์สร้างการเข้าใจและและทัศนคติที่ดีและถูกต้องของการดำรงอยู่ร่วมกันของความหลากหลายชาติพันธุ์ของสังคมไทย 5. นอกจากนี้ขอให้ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม ชาวบ้านที่อาศัยและทำกินอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม แต่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยาน

สุดท้ายคือข้อเสนอของชาวเลนั้น ประกอบด้วย 1.ให้เร่งรัดแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ปัญหาที่ดิน ที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชาวเล 2.ให้คุ้มให้ผู้ว่าราชการจังหวัด / สำนักงานตำรวจ ฯ คุ้มครองชุมชนชาวเล / ชาวเลที่ถูกคุกคาม ข่มขู่ จากผู้มีอิทธิพล

3.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดกรอบและแนวทางผ่อนปรนพื้นที่หากินทางทะเล ตามมติ คณะรัฐมนตรี 4.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ปัญหาการไร้สถานะของชาวเล ที่ตกหล่นประมาณ 500 คน ตามแนวทางการเพิ่มชื่อในทะเบียน เช่น เดียวกับชาวเลหมู่เกาะสุรินทร์ พังงา

5. สนับสนุนงบประมาณการแก้ปัญหา / การศึกษาวิจัย / การจัดทำข้อมูล / การเสริมความเข้มแข็ง /การฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒธรรมชาวเลจำนวน 41 ชุมชน ใน 5 จังหวัดอันดามัน ผ่าน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

On Key

Related Posts

บนบานขอสิ่งศักดิสิทธิช่วยทำให้น้ำกลับมาสดใส เกษตรกรริมแม่น้ำกกจัดพิธีเลี้ยงผีฝาย ชาวนาหวั่นสารพิษปนเปื้อนข้าวซ้ำเติมทุกข์อีกปีหลังข้าวราคาตก-คนหาปลาเผยอาการผิดปกติของสัตว์น้ำ-อ่อนแออย่างเห็นได้ชัด