Search

ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน “เกาะพงัน” รับช่วงต่อชาวสมุย เดินรณรงค์ 20 กม. เผยมีตำรวจขอเจรจาก่อนออกเดิน ยันไม่แหกกฎอัยการศึก

IMG_32482905258737
ภาพจากเฟซบุ๊ก ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน

 

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2557 นายธนพล เกตุแก้ว ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะเครือข่ายภาคประชาชนปกป้อง เกาะสมุย พงัน และเกาะเต่า กล่าวว่า วันนี้ชาวเกาะพงันได้ร่วมรณรงค์ปฏิรูปพลังงาน โดยกำหนดแผนเดินเท้าเพื่อปฏิรูปพลังงาน ด้วยการออกเดินเท้าระยะทาง 20 กิโลเมตร โดยใช้วิธีแบ่งกลุ่มเดินเท้าประมาณกลุ่มละ 5 คนแล้วแจกเอกสารความรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำในระบบพลังงานไทย

โดยกลุ่มแรกออกเดินเท้าตั้งแต่เวลา 08.00 น. จากต้นยางที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริเวณบ้านใต้ถึงตัวตำบลท่าศาลา และจะเดินทางไปมอบธงให้กับเครือข่ายอื่นที่ร่วมรณรงค์ด้วย

ซึ่งในส่วนของเกาะพงันนั้นได้รับผลกระทบจากการเปิดสัมปทานพลังงานครั้งที่ 21 เช่นเดียวกับเกาะสมุย และเกาะเต่า เป็น 3 แห่งที่ธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโตและมีการบูรณาการรูปแบบท่องเที่ยวสมัยใหม่เข้ากับธุรกิจท้องถิ่น ทำให้มีรายได้สะพัดต่อคนต่อปีประมาณ 2 แสนบาทเป็นอย่างต่ำ ชาวเกาะพงันและชาวสุราษฎร์ธานี จึงต้องออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์ให้เกิดการปฎิรูปพลังงานโดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎอัยการศึก โดยจะทำกิจกรรมเพียง 1 วันเท่านั้น และยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามขบวนประมาณ 3 นาย

นายธนพล กล่าวด้วยว่า เมื่อวานขณะวางแผนงานร่วมกับคณะเดินมีเจ้าหน้าตำรวจและทหารเข้ามาขอรายละเอียดกิจกรรม พร้อมเจรจาให้มีการทำกิจกรรมอยู่ในความสงบ ห้ามใช้เครื่องเสียงและจัดเวทีใหญ่ โดยได้รายงานชื่อผู้ร่วมเดินช่วงแรกและนำเสนอกิจกรรมไปทั้งหมดแล้ว ซึ่งภาคประชาชนยืนยันเช่นเดิมว่า ไม่มีเจตนาละเมิดกฎอัยการศึกแต่อย่างใด

ต่อข้อถามว่า มีกระแสข่าวว่าห้ามเครือข่ายสวมเสื้อขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายนธนพลตอบว่า ไม่มีคำสั่งห้ามจากเจ้าหน้าที่กรณีเสื้อและเครื่องแบบการแต่งกาย โดยเช้าวันนี้เครือข่ายสามารถทำกิจกรรมได้ราบรื่นและยังคงทำตามเจตนารมณ์เดิม คือ เดินเท้าเพื่อเคลื่อนไหวปฏิรูปพลังงานทั้งระบบ

อนึ่งข้อมูลจากเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ได้รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับผลกระทบจากธุรกิจพลังงานในพื้นที่ กรณีโครงการการขุดเจาะสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในบริเวณโดยรอบเกาะทั้ง 3 แห่ง โดยมีการศึกษาตั้งแต่ปี 2552 ระบุว่าพื้นที่เกาะ เป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสวยงามอุดมสมบูรณ์ ที่มีความสำคัญยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาททุกปี เป็นรายได้ที่มีการกระจายไปยังชุมชน และห่วงโซอุตสาหกรรม และอาชีพต่างๆ มากมาย และยังมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิด และอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญหลายชนิดในอ่าวไทย เช่น ปลาทู ซึ่งหลังจากที่มีการัดค้านจนนำไปสู่การฟ้องร้องคดีในชั้นศาล ทำให้โครงการดังกล่าวทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานยังไม่สามารถขุดเจาะสำรวจเพิ่มเติมในพื้นที่

////////////////////////

On Key

Related Posts

นายจ้างสีขาว-ลูกจ้างต่างด้าวหวั่นข้อมูลลงทะเบียนแรงงานหลุดถึงมือรัฐบาลพม่า-เชื่อถูกนำไปเช็คบิลแน่หลังรัฐบาลทหารพม่าถังแตกสั่งเรียกเก็บภาษี 25% ชาวมอญตื่นสั่งลูกเลิกเรียนแห่กันเข้ามาขุดทองในไทย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 นางนิลุบล พงษ์พะยอม ตัวRead More →

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →