Search

หวั่นทำลายพยูน-แหล่งดำน้ำสำคัญโลก คนลันตายื่นหนังสือสผ.ชะลอทำค.3โรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหิน ชี้บริษัทที่ปรึกษา “ลักไก่”ไม่นำข้อกังวลชุมชนใส่รายงาน

IMG_27951797528308

เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ประชาชนบนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงเลขาธิการสผ.เพื่อขอให้ระงับการจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็น ค.3 โครงการท่าเทียบเรือถ่านหินบ้านคลองรั้ว

ในหนังสือดังกล่าวระบุว่า ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)โดยบริษัทที่ปรึกษาฯจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ได้จัดทำรายงานสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(ค.1) โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วและได้เผยแพร่ในเวปไซต์ไปนั้น แต่รายงานดังกล่าวมิได้นำข้อห่วงกังวลเพิ่มเติมที่ประประชาชนในพื้นที่และผู้ที่มีส่วนได้เสีย ที่ได้ให้ความเห็นไว้หลายประการมาใส่ไว้ในรายงาน

ในหนังสือดังกล่าวระบุว่า การดำเนินการจัดเวทีการประชุมครั้งที่ 3(ค.3)จึงไม่เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนตามเจตนารมณ์ตามขึ้นตอนในประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ระเบียบ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง

“ท่านในฐานะหน่วยงานท่านมีอำนาจหน้าที่ ได้โปรดตรวจสอบและสั่งการให้กฟผ.โดยบริษัทที่ปรึกษาฯดำเนินการให้มีการนำข้อห่วงกังวลต่างๆของประชาชน ชาวบ้านหรือผู้ที่มีส่วนได้เสีย นำไปศึกษาจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วน ตามประกาศของทส. ใหม่เสียก่อนที่จะจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 28 กันยายนนี้ ณ ศาลาประชาคมอำเภอคลองเหนือ จังหวัดกระบี่” ในหนังสือระบุ

received_m_mid_1410162857264_58af557df7c60c7395_0

นายธีรพจน์ กษิรวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา กล่าวว่าการเดินทางมายื่นหนังสือครั้งนี้ เพราะบริษัทที่ปรึกษาฯของกฟผ.ยังไม่ได้นำข้อกังวลต่างๆของชาวบ้านมารวมไว้ในรายงาน ซึ่งหากการศึกษาเป็นไปอย่างรอบด้านและครบถ้วนชาวบ้านก็ไม่สงสัยเท่าทุกวันนี้ แต่จนถึงขณะนี้ผ่านไปแล้วเกือบ 6 เดือนตั้งแต่มีการทำค.1 ซึ่งชาวบ้านได้นำเสนอข้อมูลข้อกังวล 29 ประเด็นแต่กลับไม่มีการนำไปใส่ในรายงาน

“ทุกวันนี้หลายเรื่องก็ยังไม่มีคำตอบให้พวกเราเลย ทั้งเรื่องผลกระทบที่จะเกิดกับภาคประมง เรื่องผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล อย่าลืมว่าที่นี่เป็นแหล่งพยูน สัตว์ที่หายากเต็มทีซึ่งทั่วทั้งโลกเขาพยายามอนุรักษ์กัน ที่นี่ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรในระดับต้นๆของโลก พวกเราเคยทำแบบสอบถามนักท่องเที่ยวว่าเขาคิดอย่างไร หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนใหญ่ตอบว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นเขาคงไม่มาแล้ว เขาบอกว่าเขารู้สึกเสียดายมาก”นายธีรพจน์ กล่าว

On Key

Related Posts

นักโทษทางการเมืองพม่าเสียชีวิตในคุก หลังถูกเรือนจำปฏิเสธให้เข้ารับการรักษา ชี้รัฐบาลทหารหวังผลทางการเมืองหลังนิรโทษกรรมกว่า 5 พันคน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →