Search

คนสลัม 2 พันร่วมรณรงค์วันที่อยู่อาศัยโลก 7 ตค.

image

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม นายจำนง หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดรณรงค์ในวันที่อยู่อาศัยสากลซึ่งในปีนี้ตรงกันวันที่ 7 ตุลาคม ว่าจะมีการเคลื่อนขบวนชาวบ้านประมาณ 1,500-2,000 คน เพื่อสะท้อนปัญหาของชาวชุมชนแออัด รวมทั้งกลุ่มคนไร้บ้าน และยื่นข้อเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข โดยจะเริ่มร่วมตัวกันเวลา 08.00 น.ที่บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินหน้าอาคารสหประชาชาติ และหลังจากยื่นข้อเสนอเรียบร้อยแล้วจะเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาล

“ก็มีตัวแทนของรัฐบาลติดต่อมา เพราะไม่อยากให้เราเดินและบอกว่าเป็นช่วงประกาศกฎอัยการศึก แต่เรายืนยันว่ามันไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ไม่กระทบกับเรื่องความมั่นคง ถ้าไม่เชื่อก็ไปดูข้อมูลย้อนหลังได้เพราะ พวกเราจัดเดินรณรงค์ในวันที่อยู่อาศัยโลกกันทุกปี ถ้ารัฐบาลส่งตัวแทนมาเร็ว เจรจาเร็ว ก็จบเร็ว แถมรัฐบาลจะได้หน้าได้ตาด้วย เพราะทั่วโลกก็จะให้การยอมรับมากขึ้น” นายจำนง กล่าว

ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาคกล่าวว่า ขณะเดียวกันที่จังหวัดสงขลา เครือข่ายสิทธิชุมชนก็จะจัดเดินรณรงค์ในลักษณะเดียวกัน จากหน้าโรงเรียนสตรีศึกษาไปยังศาลากลางจังหวัดสงขลาเพื่อยื่นหนังสื่อผ่านผู้ว่าราชการจัดหวัดเช่นเดียวกัน โดยมีชาวบ้านจากภาคใต้หลายจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช ตรัง เข้าร่วมราว 400-500 คน

image

นายจำนงกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ของคนจนในสลัมยังคงถูกไล่รื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีโครงการสร้างรถไฟรางคู่ ทำให้หลายชุมชนได้รับผลกระทบจากการไล่รื้อ เช่น ที่ขอนแก่น และที่ตลิ่งชัน กทม. ขณะเดียวกันนายทุนบางพื้นที่ก็ฉวยโอกาสอ้างนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ไล่รื้อชาวบ้านเช่นกัน ดังกรณีของชุมชนหลังสถานีตำรวจทองหล่อซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ

ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการคือ 1.การสานต่อนโยบายโครงการบ้านมั่นคง เนื่องจากงบประมาณเดิมของโครงการใกล้หมดแล้ว แต่ยังไม่มีการอนุมัติใหม่ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะดุด ดังนั้นรัฐบาลควรอนุมัติงบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 3,000 ล้านบาท ให้กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) รวมถึงอุดหนุนงบประมาณจัดทำสาธารณูปโภคให้ชุมชนจำนวน 35,000 หน่วย และงบประมาณกรณีฉุกเฉิน เช่น ถูกไฟไหม้ ถูกไล่รื้อ

ด้านนายสุชิน เอี่ยมอินทร์ สมาชิกกลุ่มคนไร้บ้านในเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่าปัจจุบันคนไร้บ้านยังต้องอยู่กันแบบหลบๆซ่อนๆเหมือนเดิม โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนนี้ได้รับความลำบากมาก เพราะไม่มีที่นอนหรือที่หลบฝน โดยยามปกติที่ฝนไม่ตก กลุ่มคนไร้บ้านมักอาศัยหลับนอนใต้ชายคา แต่เมื่อฝนตกก็ไม่สามารถป้องกันละอองฝนได้ ทำให้ต้องยืนหลบตามที่ต่างๆไม่ได้หลับไม่ได้นอน

นายสุชินกล่าวว่าทุกวันจันทร์แรกของเดือน เครือข่ายฯจะไปเดินกาแฟเพื่อพูดคุยกับคนไร้บ้านบริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกทม. ซึ่งเคยมีคนไร้บ้านถึง 200 คนมาหลับนอน ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งแกปัญหานี้ โดยปัจจุบันมีศูนย์พักพิงของคนไร้บ้านอยู่ที่ตลิ่งชัน ซึ่งมีผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่ 40-50 คน

“เราอยากให้รัฐบาลสร้างบ้านให้คนไร้บ้านได้มีที่หลับนอน อาบน้ำ โดยควรแยกแยะผู้หญิง เยาวชนและผู้สูงอายุ ให้เป็นสัดส่วน เพราะเมื่อเอามาอยู่รวมกันก็ลำบาก บางคนก็ป่วยไข้” นายสุชิน กล่าว

 

 

ข้อมูลกรณีปัญหาความเดือดร้อน
และข้อเสนอเครือข่ายสลัม 4 ภาค

 

กรณีปัญหา สภาพปัญหา ผลการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา มาตรการ/ข้อเสนอเพื่อ

แก้ไขปัญหา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
นโยบายการแก้ปัญหา
  1. สานต่อนโยบายโครงการบ้านมั่นคง
  • ปัจจุบันงบประมาณที่จะต้องนำมาใช้ในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคงใกล้จะหมดแล้วแต่ยังไม่มีการตอบรับที่จะอนุมัติงบประมาณมายังโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งจะส่งผลให้โครงการบ้านมั่นคงที่ดำเนินการอยู่จะต้องสะดุดหยุดไปได้
  • ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ถูกไฟไหม้ ไล่รื้อ  สภาพชุมชนเสื่อมโทรม   เพื่อใช้สำหรับปลูกบ้านพักชั่วคราว  น้ำ/ไฟ การโยกย้าย การปรับปรุงสภาพชุมชน เป็นต้น
  • อนุมัติงบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำนวน 3,000 ล้านบาท
  • อนุมัติงบอุดหนุนสาธารณูปโภค จำนวน 2,800 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาคนในชุมชน         จำนวน 35,000 หน่วย
  • อนุมัติงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อเป็นงบประมาณแก้ปัญหาชุมชนกรณีเร่งด่วน
ก.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
  1. นโยบายการแก้ปัญหาคนไร้บ้าน
ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และ 8 มีนาคม 2554  โดยมีข้อเสนอคือ      “โครงการชุมชนใหม่คนไร้บ้าน” เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเสนอเป็นโครงการนำร่องในการแก้ปัญหา จำนวน 200 หน่วย ในพื้นที่ 3 เมืองใหญ่  คือ กรุงเทพมหานคร  เชียงใหม่ และขอนแก่น  โดยใช้งบสนับสนุนจากรัฐบาลรวมทั้งสิ้น 97 ล้านบาท

 

ก.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
  1. ให้สนับสนุนการดำเนินโครงการโฉนดชุมชนนำร่อง 4 พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
มีชุมชนที่อยู่ในโครงการนำร่องจำนวน 4 พื้นที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณะ คือ

  1. ชุมชนเพชรคลองจั่น เขตบึงกุ่ม
  2. ชุมชนหลวงวิจิตร เขตคันนายาว
  3. ชุมชนโรงหวาย เขตสวนหลวง

ชุมชนหลังสน.ทองหล่อ เขตวัฒนา

ขณะนี้ทั้ง 4 ชุมชนได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชนเป็นสหกรณ์ เพื่อที่จะเข้าสู่การขอสัมปทานพื้นที่ที่ชุมชนตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 12 เร่งให้ประกาศทั้ง 4 ชุมชน เป็นชุมชนที่เข้าโครงการโฉนดชุมชน ก.มหาดไทย และกรมที่ดิน
  1. รัฐต้องจัดระบบสาธารณูปโภคโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในโครงการที่อยู่อาศัยของคนจน
ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง ในติดตั้งไฟฟ้า ประปา ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญ แต่การประเมินราคาติดตั้งเป็นราคาประเมินที่แพงจนทำให้งบประมาณบ้านมั่นคงที่จะนำมาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอื่นๆไม่เพียงพอ เคยทำเรื่องขอความอนุเคราะห์ลดหย่อนการคิดค่าใช้จ่ายระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำประปา และ ไฟฟ้า ไปยังหน่วยงานทั้ง 2 แต่ก็ไม่ได้รับการลดหย่อนแต่อย่างใด ให้รัฐสนับสนุนการจัดระบบสาธารณูปโภคน้ำประปา – ไฟฟ้า ที่ดำเนินการโดยโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน ก.มหาดไทย
  1. โครงการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยคนจนประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
หลายครั้งที่มีโครงการพัฒนาใหญ่ๆจากรัฐบาลแล้วมีผลกระทบต่อชุมชน  ทางผู้ปฏิบัติงานแต่ละโครงการมักจะอ้างว่าไม่ได้คิดงบประมาณเผื่อไว้ที่จะมาชดเชย หรือดูแลชุมชนที่ได้รับผลกระทบ  และแนวทางการแก้ปัญหาก็มาจากที่หน่วยงานที่ดูแลโครงการเพียงฝ่ายเดียว โครงการพัฒนาที่กระทบเรื่องที่อยู่อาศัย ต้องคำนวณงบประมาณการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเป็นต้นทุนของโครงการด้วย            และต้องให้ผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และกำหนด แนวทางการแก้ปัญหา
  1. การนำที่ดินรัฐมาจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยของคนจน
ที่ผ่านมานโยบายบ้านมั่นคงเพื่อที่จะแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนได้มีการดำเนินการไปหลายพื้นที่  ทำให้เห็นปัญหากับกลุ่มชุมชนที่มีปัญหาการขัดแย้งเรื่องที่ดิน   ทำให้ชุมชนเหล่านี้ถึงแม้จะมีงบประมาณแต่ก็ไม่ถูกต้องนัก   และที่ปรากฏคือที่ตั้งชุมชนเหล่านั้นอยู่ในที่ดินในการดูแลของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ให้มีนโยบายนำที่ดินรัฐมาจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน  เช่น ที่ดินการรถไฟ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะ และที่กรมศาสนา และที่วัด เป็นต้น  โดยให้เช่าในอัตราต่ำ   ใช้ระบบกรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการร่วมกันโดยชุมชน
กรณีถูกดำเนินคดี / ได้รับผลกระทบจากโครงการ
  1. กรณีคดีชุมชนหลังสน.ทองหล่อ
ถูกฟ้องคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่สาธารณะจำนวน 3 ราย คือ

  1. น.ส. วรารัตน์ กัลป์วิรา
  2. นายคงพล กอเข้ม
  3. น.ส.ลัดดา(ภานิชา) มะลิวัลย์

ถูกฟ้องคดีอาญาในข้อหาผิด พรบ.ควบคุมอาคารจำนวน 1 ราย  คือ

น.ส.ชวน  มีเสียง

ซึ่งทั้ง 4 ราย อยู่ในชั้นที่อัยการจะพิจารณาการส่งฟ้องต่อศาล

ได้มีการเจรจากับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ เพื่อให้ชะลอการดำเนินคดีส่งต่ออัยการ   แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังจะส่งต่ออัยการเพื่อส่งฟ้องศาล ให้ทางอัยการมีความเห็นไม่ส่งฟ้องต่อศาลทั้ง 4 ราย เนื่องจากชุมชนหลังสน.ทองหล่ออยู่ระหว่างการดำเนินโครงการโฉนดชุมชน ก.ยุติธรรม และ สำนักงานอัยการ
  1. กรณีชุมชนบึงลำไผ่
กรุงเทพมหานคร มีโครงการสร้างสวนสาธารณะบึงลำไผ่ เขตมีนบุรี พื้นที่กว่า 78 ไร่ ซึ่งจะเน้นเป็นสวนสาธารณะสำหรับครอบครัว โดยโครงการจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2เฟส เฟสแรก จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 95 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มหาผู้รับจ้างได้ปลายปี 57 นี้ โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 6-8 เดือน และจะเปิดใช้งานได้ในปี 58 ส่วนในเฟสที่ 2 พื้นที่ดังกล่าวคือที่ตั้งของชุมชนบึงลำไผ่
  • ให้เปิดการเจรจากับทาง กรุงเทพมหานคร โดยทางชุมชนเสนอแนวทางขอแบ่งปันพื้นที่ 6.47 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดเพื่อเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของชาวชุมชน 29 หลังคาเรือน ให้ชะลอการดำเนินงานในส่วนที่จะส่งผลกระทบต่อขุมชนไปก่อนจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ
กรุงเทพมหานคร
  1. กรณีชุมชนหลวงวิจิตร เขตคันนายาว กทม.
ชุมชนจะได้รับผลกระทบการทำแนวเขื่อนริมคลอง  ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการมาบอกกล่าวว่าจะมีการดำเนินโครงการเร็วๆนี้
  • ให้เปิดการเจรจากับทาง กรุงเทพมหานคร และเร่งออกโฉนดชุมชนให้กับทางชุมชนเพื่อที่จะได้พัฒนาชุมชนใหม่ภายใต้เขตชุมชนที่ชัดเจน และถูกต้อง
กรุงเทพมหานคร

 

 

 

On Key

Related Posts

นายจ้างสีขาว-ลูกจ้างต่างด้าวหวั่นข้อมูลลงทะเบียนแรงงานหลุดถึงมือรัฐบาลพม่า-เชื่อถูกนำไปเช็คบิลแน่หลังรัฐบาลทหารพม่าถังแตกสั่งเรียกเก็บภาษี 25% ชาวมอญตื่นสั่งลูกเลิกเรียนแห่กันเข้ามาขุดทองในไทย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 นางนิลุบล พงษ์พะยอม ตัวRead More →

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →