Search

กรมชลยันยังไม่สร้างเขื่อนแม่ขานระบุสถานการณ์เปลี่ยน-หากเดินหน้าต้องศึกษาใหม่แม่เฒ่าปกาเกอะญอนอนไม่หลับ-ห่วงอนาคตลูกหลาน

image

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนรุ่งอรุณร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีเสวนา “นับต้น(น้ำ) ชนปลาย(น้ำ)” โดยวิทยากรประกอบด้วยนายสุรจิต ชิรเวทย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ พะตีจอนิ โอโอเชา ปราชญ์ชาวปกาเกอะญอแห่งดอยแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือและผู้นำชุมชนบ้านสบลาน นายนพดล โค้วสุวรรณ ผู้แทนกรมชลประทาน

การเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในจัดทำโครงการ “การศึกษาวิถีพึ่งพิงและภูมิปัญญาการจัดการทรัพยากรป่าและน้ำกรณีศึกษาบ้านสบลาน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่” ของคณะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5)โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งได้มีการลงพื้นที่กินนอนอยู่กับชาวบ้านเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆในวิถีชุมชน รวมถึงกรณีที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่ขานกั้นลำน้ำแม่ขานซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญของชุมชน

ในการเสวนาครั้งนี้ดำเนินรายการและตั้งคำถามต่างๆโดยผู้แทนนักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนรุ่งอรุณ

นายนพดล โค้วสุวรรณ ผู้แทนกรมชลประทาน ตอบคำถามถึงความคืบหน้าของการสร้างเขื่อนแม่ขาน ว่า โครงการเขื่อนแม่ขานนั้น กรมชลประทานได้ศึกษาและเสนอเป็นทางเลือกไว้ 5 รูปแบบ โดยสันเขื่อนลดระดับเรื่อยๆ หรืออาจเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เป็นผู้ดูแล โดยกรมชลประทานทำหน้าที่ศึกษาไว้ แต่ยังไม่ทำ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันกรมชลประทานยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป และเราเองก็ยังไม่ได้บรรจุไว้ในแผนงานก่อนสร่างใดๆทั้งสิ้น

“ ที่บอกว่าประกาศสร้างเขื่อนแม่ขานนั้นจึงไม่จริง คนที่จะเป็นผู้ประกาศคือผู้บริหารเท่านั้น ถ้าเขาไม่ประกาศเราก็สร้างไม่ได้ หลังศึกษาเราทำประชาพิจารณ์ แต่เมื่อประชาชนไม่เห็นด้วยเราก็ยุติ แต่เมื่อเกิดอุทกภัยกบอ.ก็รื้อแผนขึ้นมา แต่ปัจจุบันยังไม่มีคำสั่งคืบหน้า โครงการชะงักอยู่ หากถูกสั่งให้ดำเนินการ การพิจารณาต้องรื้อฟื้นทั้งหมด จะไม่เกิดระยะสั้นๆแน่ ตอนนี้สภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลง สังคมเปลี่ยนแปลง ป่าเปลี่ยนแปลง หากจะนร้างก็ต้องเริ่มทำการศึกษากันใหม่”นายนพดล กล่าว

ผู้แทนนักเรียนได้ตั้งคำถามว่าการสร้างเขื่อนเป็นการบริหารจัดการน้ำที่ดีหรือไม่ นายสุรจิต ชิรเวทย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากล่าวว่าการสร้างเขื่อนไม่ได้กักแค่น้ำ แต่กักตะกอนและแร่ธาตุต่างๆที่อุดมสมบูรณ์ไว้ด้วย ทำให้ท้ายน้ำลำบาก เราจึงมีปัญหาแผ่นดินทรุด และความคุ้มค่าจากการสร้างเขื่อนจึงน้อยมาก คนท้ายน้ำได้รับผลกระทบมหาศาล ทั้งลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มแม่กลอง ซึ่งเขื่อนขนาดใหญ่คงสร้างไม่ได้แล้ว เพราะผลกระทบมหาศาลเกินไป ไม่ใช่กระทบแค่เชียงใหม่ แต่ตลอดสายน้ำ

ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต กล่าวว่า เดิมทีเราคิดว่ารัฐคือตัวแทนของประชาชน แต่ 50 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาพิสูจน์แล้วว่ารัฐไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน แต่กลับสร้างปัญหามากกว่า ดังนั้น จึงเกิดองค์กรภาคประชาสังคมเกิดขึ้น เมื่อก่อนการทำอะไรภาครัฐมักอ้างความถูกต้องเสมอ รัฐมักอ้างความชอบธรรมที่จะทำใดๆ เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ทำให้เกิดเครือข่ายภาคประชาสังคมเกิดขึ้นเพราะประชาชนเดือนร้อนทุกหย่อมหญ้าจึงรวมตัวร่วมใจกันทำงาน ต่อไปนี้สิ่งที่ภาครัฐต้องทำคือมานั่งให้ลูกๆหลานๆไตร่สวนแบบนิ้

ขณะที่แม่เฒ่าปกาเกอะญอรายหนึ่งจากบ้านสบลานได้ลุกขึ้นแสดงความเห็นว่า รู้สึกใจหายฟังเรื่องที่จะมีการสร้างเขื่อน เราไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ถ้าจะสร้างเขื่อนต้องคิดลึกๆ ท่านมีเงินเดือนสูงกว่าหมื่นบาท ชาวบ้านไม่ไปแตะต้อง ท่านไปไหนมีรถขี่ แต่ชาวบ้านอยู่ไปวันๆ พวกเรายากจน แต่เกิดที่นี่เคยได้ยินคนจะมาสร้างเขื่อน 2 ครั้ง พอได้ยินข่าวก็นอนไม่ค่อยหลับ เป็นห่วงลูกๆหลานๆเพราะถ้าเขาสร้างเขื่อนประเพณีวิถีวัฒนธรรมจะเปลี่ยนไปหมด

On Key

Related Posts

นายจ้างสีขาว-ลูกจ้างต่างด้าวหวั่นข้อมูลลงทะเบียนแรงงานหลุดถึงมือรัฐบาลพม่า-เชื่อถูกนำไปเช็คบิลแน่หลังรัฐบาลทหารพม่าถังแตกสั่งเรียกเก็บภาษี 25% ชาวมอญตื่นสั่งลูกเลิกเรียนแห่กันเข้ามาขุดทองในไทย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 นางนิลุบล พงษ์พะยอม ตัวRead More →

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →