Search

ชาวบ้านสะท้อนผลกระทบนโยบายยึดที่ดินคืนรัฐ สื่อมวลชนหลากหลายร่วมลงพื้นที่เชียงราย-เชียงใหม่ อดีตสว.จี้คมช.-รัฐบาลตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ นักวิชาการแนะคสช.เปิดใจกว้างรับฟังชุมชนเข้มแข็ง

3

 

ระหว่างวันที่ 31 -2 พฤศจิกายน  2557  ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ พร้อมด้วยสื่อมวลชนทั้งจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุและสื่อออนไลน์ ประมาณ 20 คน  ร่วมกันลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสำรวจข้อเท็จจริงชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายบุกยึดที่ดินและคืนพื้นที่ป่าไม้ รวมถึงผลกระทบจากแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในชุมชนพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่

ในวันแรก(31 พฤศจิกายน)คณะสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่บ้านโป่งปูเฟือง อำเภแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้ร้องเรียนว่าถูกตัดต้นยางพาราในสวนที่ปลูกไว้ในนานแล้ว นอกจากนี้ในช่วงค่ำคณะทั้งหมดได้เดินทางไปยังบ้านห้วยหินลาดใน ซึ่งเป็นชุมชนปกาเกอะญอต้นแบบในการอนุรักษ์ป่า ในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

เวลา 14.00 น.ชาวบ้านโป่งปูเฟือง 7-8 รายที่ถูกทำลายสวนยาง บางรายถูกจับและติดคุก  ได้ร่วมกันเล่าข้อเท็จจริงให้สื่อมวลชนได้รับทราบโดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์  นักวิชาการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่าในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมรับฟัง

1

นายกมล อุปรัตน์ ชาวบ้านโป่งปูเฟือง กล่าวว่า หมู่บ้านของตนเป็นอีกชุมชนที่ได้รับผลกกระทบจากนโยบายของภาครับ เพราะหมู่บ้านโป่งปูเฟืองก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2432  และต่อมาได้มีการประกาศเขตป่าสงวนแม่ลาวฝั่งซ้าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เข้าปลูกป่าเป็นสวนป่าแม่ลาว2512 เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ แต่มีการทุจริตและแจ้งข้อมูลเพื่อเก็บในฐานข้อมูลว่าพื้นที่ปลูกป่าแปลงแรกจำนวนกว่า 300 ไร่ ทำให้ข้อมูลพื้นที่นั้นทับซ้อนกับที่อยู่อาศัย ที่นา ที่ทำกินของชาวบ้าน

นายกมลกล่าวว่าในปี พ.ศ. 2513-2540 ยังมีการปลูกป่าทับที่ชาวบ้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบางแปลงมีเอกสารสิทธิ์ ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่มีการปรับปรุงแผนที่ จึงเห็นชัดว่าพื้นที่ป่าและที่ทำกินทับซ้อนกัน ทำให้มีข้อขัดแย้งกันกันเรื่อยมา   จนกระทั่งปี 2547 ชาวบ้านตัดสินใจจะฟ้องร้องคดี จึงมีการตรวจสอบ ทำให้รู้ว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ปลูกป่าแต่เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ยอมรับว่าการดำเนินการของตนเองมีความผิดพลาดและเกิดการทุจริตขึ้น จึงมีการตกลงกันว่าให้ชาวบ้านสามารถทำกินในพื้นที่ดังกล่าวได้และจะไม่มาสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน โดยแลกกับการที่ชาวบ้านไม่ฟ้องร้องคดี

“ที่ดินของผมเป็นมรดกที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ ผมเข้ามาทำกินในพื้นที่ เมื่อปี 2530 เดิมทีปลูกข้าวไร่ และข้าวโพด ต่อมาเมื่อมี 2547 ได้ร่วมลงทุนกับญาติปลูกยางพารา จำนวน 5 ไร่ ประมาณ 350 ต้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 เจ้าหน้าที่ตัดต้นยางของผมและเพื่อนบ้านจำนวน 8 ไร่ แถมยังต้องเผชิญปัญหากการยึดคืนที่ดิน ผมและเพื่อนบ้านหลายคนก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน”นายกมล กล่าว

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กล่าวว่าปัญหาของชาวบ้านโป่งปูเฟืองได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในจังหวัดเชียงราย โดยมีผู้ว่าราชการฯและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหารือ โดยมีข้อสรุปในเบื้องต้นว่าจะชะลอการจับกุมชาวบ้านไว้ก่อน ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจ แต่จู่ๆเจ้าหน้าที่รัฐกลับมาตัดต้นยางพาราของชาวบ้าน แถมยังให้คนมาประมูลไปหมด

“เมื่อคสช.บอกว่าจะคืนความสุขให้ประชาชนก็ควรแก้ไขปัญหานี้ให้ถูกต้อง ไม่ใช่เพิ่มทุกข์ให้ขาวบ้าน และเรื่องนี้คสข.หรือคณะรัฐมนตรีควรเข้ามาแก้ไข เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีหลักฐานชัดเจนว่าอยู่มาก่อนป่า เขาปลูกต้นไม้ใหญ่ มีบ้านเรือนที่มั่นคง สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนอยู่กันมานาน ทางที่ดีคือคสช.หรือคณะรัฐมนตรีควรตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนโดยลงมาดูพื้นที่” นางเตือนใจ กล่าว

ด้านนายปรีชา ศิริ หรือพะตีปรีชา ปราชญ์ชาวบ้านแห่งหมู่บ้านห้วยหินลาดใน  ตำบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งชุมชนต้นแบบในการอยู่กับป่าของชาวปกาเกอะญอจนเป็นที่ยอมรับและยังได้รับรางวัลวีรบุรุษผู้ปกป้องผืนป่า (Forest Hero) จากองค์การสหประชาชาติ (UN)  กล่าวว่า  ขณะนี้ปัญหาเรื่องการจัดการทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือและทั่วประเทศ รวมทั้งแผนยึดคืนที่ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่านั้น ส่งผลกระทบต่อหลายชุมชน แต่กรณีของบ้านห้วยหินลาดใน ถือเป็นหมู่บ้านที่มีการจัดการที่ดินโดยชุมชน เพื่อชุมชนอย่างเข้มแข็ง  หลังจากเผชิญปัญหาไฟป่า และการคุกคามของกลุ่มตัดไม้มาหลายครั้งในอดีต  ทำให้ชาวบ้านเริ่มมองเห็นสภาพปัญหาและออกแบบการจัดการทรัพยากรร่วมกัน เริ่มแรกนั้นไปของบประมาณจากองค์กรภาครัฐแต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงหันมาตั้งกลุ่มจัดการตนเอง เช่น การรวมกลุ่มตั้งเวรยามเฝ้าเหตุการณ์ในพื้นที่ และการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครทำแนวกันไฟป่า

 

2

“หมู่บ้านเราตั้งมาครั้งแรกประมาณปี  .2432 อยู่ในเขตป่าธรรมชาติที่คงสภาพอุดมสมบูรณ์  มีน้ำห้วยหินลาดไหลผ่าน  แต่ถูกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูน-โป่งเหม็น ประกาศซ้อนทับเมื่อปี พ.ศ.2517    เราพยายามลุกขึ้นมาดูแลชุมชนด้วยตัวเอง ทำให้ปัจจุบัน เรามีอาชีพและรายได้ยั่งยืนจากการทำเกษตร  เช่น ทำไร่หมุนเวียน  เลี้ยงสัตว์  โดยยึดหลักเกษตรผสมผสาน ทำให้หมู่บ้านมีความมั่นคงทั้งอาชีพ รายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” นายปรีชา กล่าว

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์  นักวิชาการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การออกแผนแม่บทป่าไม้ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการปฏิบัติงานข้ามขั้นตอน คือ เร่งจัดการที่ดินโดยมองเป้าหมายระดับชาติ ระดับมหภาคมากกว่ามองระดับชุมชน โดยไม่มีการรับฟังเสียงประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการที่เขียนไว้  เช่น ที่ระบุว่าการจัดการพื้นที่ป่า ที่ดินของรัฐ คสช.ระบุว่าต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน แต่แล้วก็พบว่ามีหลายชุมชน ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน สูญเสียรายได้ ซึ่งการจัดการแบบดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพราะ คสช.กำลังพยามยามทำลายบุคคลากรของประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นชนชั้นกสิกรรมที่เป็นอาชีพของคนไทยมาเนิ่นนาน ซึ่งไม่มีผลดีในอนาคตอย่างแน่นอนกับการเร่งเพิ่มพื้นที่ประเทศแต่ประชาชนไม่มีที่อยู่และที่ทำกิน

“ข้อเสนอของผมต่อแผนแม่บทครั้งนี้คืออยากให้คสช.เปิดใจรับฟังชาวบ้านที่เข้มแข็ง เช่น ชาวบ้านห้วยหินลาดใน  เพื่อมาร่วมเสนอบทเรียนให้แก่ภาครัฐในการจัดการทรัพยากรที่ดิน และใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อปฏิรูปประเทศ กระจายรายได้และสิทธิให้เท่าเทียมกัน ไม่ใช่การเร่งรัดจัดการเพิ่มที่ดินของหลวง เพียงเพราะมองว่าป่าไม้ถูกทำลาย แต่ลืมไปว่าคุณภาพชีวิตประชาชนสำคัญไม่แพ้กัน”นายเพิ่มศักดิ์ กล่าว

 

////////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

สส.ปชน.เชียงรายจี้รัฐบาลสร้างระบบเตือนภัยแม่น้ำกก-แนะเร่งถอดบทเรียน 6 เดือนภัยพิบัติ คนขับเรือลำบากหลังนักท่องเที่ยวลดฮวบ ผวจ.เชียงรายเตรียมตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาคุณภาพน้ำข้ามแดน

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สRead More →

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →

สนามรบในรัฐกะเหรี่ยงเดือด ทหารพม่าใช้เรือส่งกำลังพลเสริมทางแม่น้ำจาย หลังถูกปิดล้อมค่ายใหญ่ในเขตกอกะเร็ก KNUออกประกาศเตือนชาวบ้านเลี่ยงเดินทาง หวั่นตกเป็นเป้าทหารพม่า

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ชาวเมืองล่าเสี้ยวสุดเซ็ง ทัพโกก้างคืนเมืองล่าเสี้ยวให้ทัพพม่า-เล่นเกมอำนาจการเมืองกัน เปรียบเหมือนหมาแย่งบอลแต่ชีวิตชาวบ้านไม่มีอะไรเปลี่ยน

สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 25Read More →

ผู้เชี่ยวชาญหวั่นผลกระทบสารหนูในน้ำกก-น้ำสายกระจายตัววงกว้าง-รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบแก้ที่ต้นทาง ชี้เป็นสารพิษสะสมก่อเกิดมะเร็ง จี้ ทส.ตั้ง กก.เฝ้าระวัง-ตรวจผลอย่างน้อยทุกเดือน เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารทำหนังสือประสานพม่าร่วมแก้ไข

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวRead More →