Search

คนหนองคาย –บึงกาฬ ย้ำชัดไม่เอาเขื่อนกั้นโขง เสนอให้พื้นที่สีพันดอนเป็นเมืองมรดกโลก กรมน้ำรับปากน้ำข้อคิดเห็นชาวบ้านไปสานต่อ

3

วันนี้ 16 ธันวาคม ที่หอประชุม ประจักษ์ศิลปาคม ศาลากลาง จังหวัดหนองคาย ได้มีการจัดประชุมเวทีรับฟังและให้ข้อมูลโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง ซึ่งกั้นลำน้ำโขงในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คนจากจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้นายสุชาติ นพวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หนองคาย กล่าวเปิดว่าจะให้ประชาชนที่มาร่วมเวทีได้แสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ เป็นข้อมูลอย่างแท้จริง เพื่อนำข้อมูลไปเพื่อการแก้ไข ส่วนการนำเสนอข้อมูลก็ขอให้นำเสนอข้อมูลผลกระทบที่แท้จริง

นายจตุพร บุรษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะในภาคอีสาน ปัญหาเรื่องน้ำมีทั้งแล้งและท่ว เห็นว่า ภาคอีสานมีแม่น้ำสาขามากมายที่น้ำไหลลงแม่น้ำโขงไปโดยเปล่าประโยชน์ในแต่ละปี ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ ทางกรมน้ำได้รับมอบหมายให้มีแผนการจัดการน้ำแล้งและท่วมให้แก่ภาคอีสาน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ที่จะมีการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง อยากให้สบายใจว่า เในฐานะกรมน้ำมารับฟังความเห็นของชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องนี้ เห็นชาวบ้านชูป้าย ไม่เอาเขื่อน มีปลา มีอะไรมา ก็พอจะเข้าใจได้ว่าอาจจะผิดหวังในกรณีเรื่องที่มีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีไปแล้ว และยังจะมีการสร้างเขื่อนดอนนะโฮง

หลังจากนั้นมีนักวิชาการจากสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงหรือเอ็มอาร์ซีได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮง ผลการศึกษาเกี่ยวกับปลาและการอพยพของปลา และเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น

นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ชาวบ้านจังหวัดหนองคายกล่าวว่า เราไม่เห็นด้วยกับเขื่อนดอนสะโฮง เป็นที่ชัดเจนมากว่า โครงการไม่มีรายงานผลกระทบข้ามพรมแดน และเป็นที่น่าเจ็บใจว่า “กระบวนการ PNPCA” นี้ เพราะว่า ไม่มีผลยับยั้งต่อการตัดสินใจต่อการดำเนินโครงการ แต่อย่างไรก็ตามอยากเรียกร้องให้กรมทรัพยากรน้ำได้แสดงจุดยืนของประชาชน พูดแทนประชาชนว่า ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงและเขื่อนแม่น้ำโขง

นายนิชล ผลจันทร์ ชาวบ้านจากจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า กระบวนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นนี้ไม่เพียงพอและทั่วถึง อยากให้ไปจัดทุกตำบล ในเฉพาะอำเภอบุ่งคล้าบึงกาฬ ที่มีมากกว่า 15 ตำบล เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจ เท่าทันข้อมูลและกรมทรัพยากรน้ำจะได้รับข้อมูลที่เป็นความกังวลใจของชาวบ้านต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้อย่างแท้จริง

“พวกเราเป็นห่วงกังวลมากเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบเรื่องปลา การอพยพของปลาและผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในเขตประเทศไทย เราเสนอให้พื้นที่เขตสี่พันดอนเป็นมรดกโลก เนื่องจากชาวบ้านริมโขงตอนนี้ได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น น้ำลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติแล้ว ส่งผลกระทบด้านเกษตรริมโขง สถานีสูบน้ำที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งชาวบ้านและองค์กรท้องถิ่นต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และไม่มีใครมารับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ”ผู้แทนชาวบ้านรายหนึ่ง กล่าว

ทั้งนี้กรมทรัพยากรน้ำ ย้ำยืนยันว่า จะนำข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ชาวบ้านได้เสนอมารวบรวมและขอเป็นตัวแทนทีมชาติไทย ไปเจรจาต่อรองเพื่อปกป้องชาวบ้านของพวกเราในเวทีต่อไป และก่อนปิดเวที เครือข่ายชาวบ้านสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขงหนองคาย บึงกาฬ ได้อ่านแถลงการเรียกการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสิทธิของประชาชนไทย (อ่านรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้ที่(https://transbordernews.in.th/home/?p=6146)

On Key

Related Posts

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →

ลาวดำเนินคดีอดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าลาว-ผู้รับเหมาฐานฉ้อโกงเหตุสร้างเขื่อนไม่แล้วเสร็จ-เกินเวลานาน เผยโครงการได้รับสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 สำนักข่าวลาว Laotian TiRead More →