Search

คนรอบเหมืองร่วมกันขันน็อตกพร. จี้ชะลอการให้สัมปทาน อธิบดีวอนเปิดใจกว้าง

received_859253330784620
เครือข่ายชาวบ้านค้านเหมืองแร่ กพร.อีก ทวงสัญญาข้อเรียกร้องภาคประชาชน อธิบดีเผย อนุมัติงบประมาณเยียวยาคนพิจิตรแล้ว ด้านคนโคราชหวั่นกรมป่าไม้ทวงคืนที่ดินชาวบ้านเอื้อธุรกิจเหมือง วอน กพร.รอผลตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ก่อนออกอาชญาบัตร

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กรุงเทพฯ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกิจการเหมืองแร่ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัดภาคเหนือ (พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์) เครือข่ายชาวบ้านคัดค้านการขออาชญาบัตรและประทานบัตรเหมืองแร่ อำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตัวแทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมียมปนเปื้อนในดินและน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประมาณ 60 คน ได้เดินทางมาพบนายสุรพงษ์ เชียงทอง อธิบดี กพร. เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีข้อเรียกร้องของประชาชนในประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกิจการเหมืองแร่

ทั้งนี้ในช่วงเช้าก่อนการประชุมเจรจาระหว่างกพร.และชาวบ้าน ตัวแทนแต่ละเครือข่ายได้มอบดอกไม้และของที่ระลึกให้แก่อธิบดีและรองอิธบดีกพร.เพื่อขอบคุณและให้กำลังใจในการร่วมแก้ปัญหาของชาวบ้าน จากนั้นตัวแทนแต่ละเครือข่ายได้ยื่นหนังสือและชี้แจงกรณีปัญหาแต่ละพื้นที่ โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

นายชวน ศรีทรัพย์ ตัวแทนชาวบ้านอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ชาวบ้านจากอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้ว เดินทางมายัง กพร.เพื่อขอให้กรมได้มีคำสั่งชะลอการขออาชญาบัตรและประทานบัตรเพื่อประกอบกิจการเหมืองทุกชนิดในพื้นที่พิพาทเรื่องที่ดินเชื่อมต่อระหว่างอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้ว เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้หลายรายเข้าไล่รื้อและยึดคืนพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ที่ครอบครองที่ดินแบบ ภบท.5 เพื่อนำกลับไปเป็นที่ดินของกรมฯ โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับความเสียหายรวมเนื้อที่ประมาณ 200 กว่าไร่ ซึ่งชาวบ้านกังวลว่าที่ดินที่กรมป่าไม้ยึดคืนนั้นเสี่ยงต่อการเปิดโอกาสให้นายทุนเข้าไปสำรวจแร่ เพราะพื้นที่อำเภอปากช่องและสีคิ้วที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนนั้น มีเนื้อที่ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งเคยพบแร่ทองคำและแร่อื่นๆจำนวนมาก ชาวบ้านกังวลว่า จะกลายเป็นที่ประกอบการของเหมืองในที่สุด จึงขอเรียกร้องให้ กพร.ชะลอการออกใบอนุญาตให้เอกชนต่างๆ จนกว่าประชาชนจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป

“ที่ดินหลายร้อยไร่ที่มีคนมาหลอกซื้อ มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาล่อลวงและมีเจ้าหน้าที่มาใช้อำนาจยึดคืน หาว่าพี่น้องไม่มีกรรมสิทธิ์ เป็นวิธีการที่ไม่เป็นธรรม และยิ่งมายึดคืนช่วงเดียวกันการสถานการณ์การสำรวจแร่ ประกอบกับ กพร.เร่งดัน พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ด้วยแล้ว เป็นวิธีการที่เสี่ยง จึงอยากให้ กพร.ทบทวนหรือชะลอการออกใบอนุญาตต่างๆก่อน” นาย ชวน กล่าว

ขณะที่นางสาวสื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การมาทวงสัญญาของชาวบ้านในครั้งนี้ชาวบ้านหลายคนรู้สึกมีความหวังต่อการการทำหน้าที่ของกพร. อย่างน้อยก็ขอทราบข้อมูลรายชื่อประชาชนผู้ป่วยจำนวน 250 คน ที่อธิบดีกพร.มีคำสั่งให้บริษัท อัครารีซอร์สเซส (มหาชน) จำกัด นำไปรักษาเพื่อขอให้ทราบในการดำเนินการ และขอคำยืนยันเรื่องการจัดงบประมาณจากกองทุนประกันความเสี่ยงของ กพร.เพื่อเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และมีสารพิษปนเปื้อน ซึ่งกพร.ทราบดีว่าต้องเร่งรัดดำเนินการ ส่วนปัจจัยอื่นก็ขอให้มีการพิจารณาตามมาเป็นลำดับ เพราะชาวบ้านมีความกังวลใจในหลายกรณี

ด้านนายญาณพัฒน์ ไพรมีทรัพย์ แกนนำชุมชนคนแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของคนแม่ตาวหลังจากการประกอบกิจการเหมืองแร่คือ การได้รับสารพิษปนเปื้อนในผลิตผลการเกษตร ซึ่งเครือข่ายชาวบ้านได้ทำโครงการพัฒนาชุมชนลุ่มน้ำแม่ตาว เพื่อของบประมาณจากกพร.ในการดำเนินการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมรอบชุมชนในเนื้อที่ 4,000 ไร่ จากทั้งหมดที่เสียหายประมาณ 13,000 ไร่ และเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ที่อำเภอแม่สอด โดยปี 2557 ได้ของบประมาณไปทั้งหมด 11 ล้านบาทและขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงอยากให้ กพร.ชี้แจงและเร่งดำเนินการจัดงบประประมาณให้ประชาชน

ทั้งนี้ภายหลังจากการเสนอปัญหาของแต่ละเครือข่ายนายสุรพงษ์ กล่าวกับชาวบ้านว่า ในเรื่องการขออาชญาบัตรและประทานบัตร เพื่อประกอบการเหมืองแร่นั้น กรณีที่ชาวบ้านกังวลเรื่องข้อพิพาททางที่ดิน ทางกพร.ยินดีจะประสานงานให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) เพื่อมาปรึกษาหารือร่วมกัน หรืออาจขอความร่วมมือในการจัดเวทีสาธารณะ ร่วมกันทั้งฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายต่อต้าน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจดำเนินการในเร็วๆ นี้ ส่วนกรณีความเดือดร้อนของชาวบ้านแม่ตาวนั้น อาจส่งฝ่ายวิชาการไปดำเนินการที่พื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและหาตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริงประเมินสถานการณ์ออกมาให้แน่ชัด

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการอนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่ป่วยด้วยสารพิษปนเปื้อน ในจังหวัดพิจิตรนั้น ตนได้อนุมัติงบประมาณไปแล้ว ส่วนรายชื่อและข้อมูลผู้ป่วยที่กพร.ได้มีคำสั่งให้ผู้ประกอบการระงับการดำเนินการถลุงแร่ชั่วคราวเป็นเวลา 30 วันนั้น ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทแล้วว่าให้รายงานมาภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558

“กพร.ยืนยันว่า การอนุญาตผู้ประกอบการทุกแห่งดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้ ผู้ประกอบการรายนั้นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ขอให้ชาวบ้านเปิดใจรับฟังการพิจารณาของกพร.ในรายกรณี เพราะแต่ละที่ แต่ละแห่งนั้นประเมินผลกระทบแตกต่างกันไป โดยหาก 250 คนที่ป่วยมีอาการทรุดหนัก ก็ต้องเร่งประสานงานฝ่ายสาธารณสุขให้รักษาตัวต่อไป” นายสุรพงษ์ กล่าว

 
—————-

On Key

Related Posts

สส.ปชน.เชียงรายจี้รัฐบาลสร้างระบบเตือนภัยแม่น้ำกก-แนะเร่งถอดบทเรียน 6 เดือนภัยพิบัติ คนขับเรือลำบากหลังนักท่องเที่ยวลดฮวบ ผวจ.เชียงรายเตรียมตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาคุณภาพน้ำข้ามแดน

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สRead More →

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →

สนามรบในรัฐกะเหรี่ยงเดือด ทหารพม่าใช้เรือส่งกำลังพลเสริมทางแม่น้ำจาย หลังถูกปิดล้อมค่ายใหญ่ในเขตกอกะเร็ก KNUออกประกาศเตือนชาวบ้านเลี่ยงเดินทาง หวั่นตกเป็นเป้าทหารพม่า

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ชาวเมืองล่าเสี้ยวสุดเซ็ง ทัพโกก้างคืนเมืองล่าเสี้ยวให้ทัพพม่า-เล่นเกมอำนาจการเมืองกัน เปรียบเหมือนหมาแย่งบอลแต่ชีวิตชาวบ้านไม่มีอะไรเปลี่ยน

สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 25Read More →

ผู้เชี่ยวชาญหวั่นผลกระทบสารหนูในน้ำกก-น้ำสายกระจายตัววงกว้าง-รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบแก้ที่ต้นทาง ชี้เป็นสารพิษสะสมก่อเกิดมะเร็ง จี้ ทส.ตั้ง กก.เฝ้าระวัง-ตรวจผลอย่างน้อยทุกเดือน เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารทำหนังสือประสานพม่าร่วมแก้ไข

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวRead More →