Search

ภาคประชาชนตื่นรับมือเขตเศรษฐกิจพิเศษ สานเครือข่ายร่วมนักวิชาการ-นักกฎหมาย ศึกษา“เชียงของ”โมเดล 1 เมือง 2 แบบ

received_912235965486356

ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม ที่โรงแรมเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)จัดสัมมนาเรื่อง “วิเคราะห์สถานการณ์นโยบายพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โอกาสหรือภัยคุกคามต่อชุมชนท้องถิ่น” โดยเชิญเครือข่ายภาคประชาชนใน 10 จังหวัดที่รัฐบาลเตรียมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าร่วม และมีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ เช่น ผู้แทนสำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์อนันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายพลากร วงค์กองแก้ว ผู้อำนวยการ พอช. เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันคือ 1.จากมีการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนใน 10 จังหวัด 12 พื้นที่ที่มีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษและประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายดังกล่าว โดยเครือข่ายแต่ละจังหวัดจะร่วมกันทำงานควบคู่ไปกับคณะกรรมการที่รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล 2.จะมีการสร้างเครือข่ายนักวิชาการเพื่อศึกษารอบด้านเกี่ยวกับผลที่จะตามมาจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 3.จะมีการจัดตั้งเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อให้ข้อมูลกับชุมชน

“ในระดับพื้นที่ เราจะมีการจัดทำแผนงานต่างๆ ร่วมกัน เช่น การทำข้อมูลให้เป็นระบบ ขณะเดียวกันจะประสานไปยังกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษระดับจังหวัดและระดับประเทศ เพื่อให้มีผู้แทนของภาคประชาชนเข้าไปร่วมเป็นกรรมการ ที่สำคัญในอนาคตเราจะมีการเชื่อมร้อยไปถึงองค์กรใหม่ในรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่คือสมัชชาพลเมือง เพราะสมัชชาพลเมืองจะไม่มีความหมายเลย หากไม่ห้องล้อมด้วยขบวนองค์กรชุมชนต่างๆ” นายพลากร กล่าว

ผู้อำนวยการ พอช.กล่าวว่า ประเทศไทยถูกกำหนดให้ต้องทำเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยดูจากแผนที่เส้นทางการค้าโลกต้องมีการตัดเส้นทางขนส่งสินค้าจากเวียดนามข้ามไปยังอันดามันเพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุด ดังนั้นหากเราทำได้ดีก็ไปได้ไกล แต่หากไม่ดีก็จะส่งผลกระทบไปทั่ว เพราะคนหลายล้านกำลังจากผ่านมาทางนี้ แต่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่รู้เลย เช่น คนมุกดาหารยังไม่รู้ว่ามีคนเป็นล้านกำลังผ่าน ขณะเดียวกันการเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเออีซีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แม้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เช่น การใช้แรงงานจากฝั่งลาวถูกกว่า แต่เราไม่ได้คิดว่าคนมุกดาหารจะอยู่อย่างไรภายใต้โลกใหม่

“ผมเชื่อว่าไม่มีใครปฎิเสธเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่เราต้องมาคุยกัน ที่สำคัญควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนด้วย เพราะขณะนี้ในหลายพื้นที่ ชาวบ้านในท้องถิ่นยังไม่รู้เลยว่าเขากำลังเผชิญกับอะไร และต้องเตรียมรับมืออย่างไร แต่มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งประชาชน ร่วมกับท้องถิ่นและท้องที่ รวมทั้งสถาบันการศึกษา ผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ 1 เมือง 2 แบบ คือทั้งวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจ ก้าวควบคู่กันไป” นายพลากร กล่าว

ด้านนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ได้เสนอกับที่ประชุมว่าชุมชนท้องถิ่นต้องเข้าใจถึงการเข้ามาของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และต้องมีความตื่นตัวโดยศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ รวมทั้งหารือกันถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อร่วมกันหาทางออก มิฉะนั้นสิ่งดีของชุมชนจะถูกเบียดขับออกไปหมด

นายนิวัฒน์กล่าวว่า การผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นประชาชนต้องรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยในส่วนของเชียงของได้มีการพูดคุยกันมาตั้งแต่ปี 2555 จนตกผลึกในเรื่อง 1 เมือง 2 แบบซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ของเมืองเชียงของ ซึ่งล่าสุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆร่วม 100 คน ทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการค้า โดยมีนายอำเภอเชียงของเป็นประธานชุดใหญ่

“ผมคิดว่าเราไปหยุดเขาไม่ได้หรอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่เราจะทำอย่างไรให้ผลประโยชน์เหล่านั้นตกอยู่กับคนท้องถิ่นด้วย เช่น เชียงของเป็นเมืองการค้า โดยค้าขายกับฝั่งลาว เมื่อมีสะพานเชื่อม 2 ฝั่ง ก็ไม่ใช่มุ่งแค่เรื่องค้าขายบนสะพานอย่างเดียว แต่ควรเปิดจุดผ่อนปรนต่างๆ ทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีรายได้จากการค้าขายนั้นด้วย” นายนิวัฒน์ กล่าว

———————–

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →