Search

แนะรัฐเร่งแก้ปัญหาคนเฒ่าไร้สัญชาติ เชียงรายพบไม่น้อยกว่า 1,400 ชีวิตลำบาก พชภ.จัดทำ 8 ข้อเสนอ-สื่อชุดใหญ่ลงพื้นที่

received_917706711605948
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 คณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางราว 21 คน ลงพื้นที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อสำรวจสถานการณ์ชุมชนที่มีผู้เฒ่าไร้สัญชาติ โดยช่วงเช้าได้เดินทางไปบ้านหล่อโย ซึ่งมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนเขตภูเขา (พชภ.) และเจ้าหน้าที่พชภ.ร่วมให้คำแนะนำ

นางเตือนใจ กล่าวว่า หลังจากมีการประกาศเขตปกครองของรัฐ มีประชาชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ อาข่า ไทลื้อ ลาหู่ ม้ง ฯลฯ มีปัญหาเรื่องสถานะทางกฎหมายจำนวนไม่น้อยโดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ 1 ผู้ตกหล่นจากระบบทะเบียนราษฎร ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ไม่มีเอกสารทางกฎหมาย คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จึงไม่มีตัวตน 2 ผู้ได้รับการสำรวจมีเลขประจำตัว 13 หลักแล้ว (เลข 0) มีบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่มีสิทธิ์ในสวัสดิการสังคม การเมือง

 

received_917706721605947

 

3 กลุ่มถือบัตรเลข 6 อพยพเข้าเมืองในรัฐไทยระว่างวันที่ 3 ต.ค. 2528 –18 ม.ค. 2538 ยื่นคำร้องขอมีสถานะคนต่างด้าว หรือ และอาจเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายที่อาศัยในประเทศไทยถาวร แต่ยังไม่มีการอนุมัติให้ได้สัญชาติไทย 4 กลุ่มอพยพเข้ามาในรัฐไทยก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2528 ที่ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 -2543 จนถึงปัจจุบันแต่ติดเงื่อนไขตามกฎหมายสัญ พ.ศ. 2508 มาตรา 10 กำหนดให้คนแปลงสัญชาติต้องมีรายได้ที่มั่นคงไม่เป็นภาระประเทศไทย จึงไม่สามารถแปลงสัญชาติได้ ซึ่งกลุ่มต่างเหล่านี้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ พชภ.และเครือข่ายได้สำรวจนั้นมีอยู่ในเขต อ.เวียงแก่น อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เชียงของ อ.แม่จัน อ.เชียงแสน จำนวน 1,400 คน

 

received_917706714939281

“การเดินทางใช้ชีวิตประจำวันของผู้เฒ่าทุกวันนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะมีข้อจำกัดเรื่องสิทธิการเดินทาง บางคนไม่ได้สิทธิในการรักษาพยาบาล ทำให้เกิดข้อติดขัดต่างๆ มากมาย เราอยากให้สังคมเห็นใจ คนกลุ่มนี้ บางรายก็อายุมาก เขียนอ่านไทยไม่คล่อง การสื่อสารเป็นอุปสรรคมาก เราอยากให้อนุโลมเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้การขอสัญชาติง่ายขึ้น” นางเตือนใจ กล่าว

นางอาผ่า เชอมือ อายุ 66 ปี ชาวบ้านชาติพันธุ์อาข่า บ้านหล่อโย กล่าวผ่านล่ามแปลภาษาว่า ตนอาศัยอยู่บ้านหล่อโยมานานกว่า 30 ปี มีที่ดินไว้สำหรับทำไร่ทำนาพอประมาณใกล้ๆ บ้าน ชีวิตที่เรียบง่ายทำให้ตนไม่อยากย้ายไปที่อื่น ทุกวันนี้ตนถือบัตรเลข 6 ซึ่งยังติดขัดในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลและการเดินทางออกนอกพื้นที่

“คนอาข่าเรามีการอยู่ติดบ้าน และไม่ต้องการย้ายไปไกล เราทำเกษตรใกล้ชุมชนให้มากที่สุด เพื่อจะได้อยู่กับครอบครัว แม้ว่าคนรุ่นใหม่จะย้ายไปข้างนอกกันบ้างก็ตาม แต่คนรุ่นเก่าไม่มีใครออกนอกพื้นที่ ฉันปลูกผลไม้ ปลูกกาแฟ ช่วยกันกับเพื่อนบ้านไม่ต้องจ้างใครเข้ามาให้วุ่นวาย ชีวิตแบบนี้มันสบายดี แต่อยากมีสิทธิ์เดินทางไปที่อื่นบ้าง” นางอาผ่า กล่าว

 

received_917706704939282

ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น.คณะสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่บ้านป่าคาสุขใจ อ.แม่ฟ้าหลวง เพื่อสัมภาษณ์ตัวแทนผ้สูงอายุที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนเพิ่มเติม โดยในวันที่ 28 พฤษภาคม ทางพชภ.และเครือข่ายภาคี จะมีการจัดงานวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะทางกฎหมายต่อไป โดยมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ผู้แทนส่วนราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านกฎหมาย ซึ่งรศ.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะ มาร่วมงานด้วย และมีผู้เฒ่าไร้สัญชาติกว่า 150 คนเข้ามาร่วมกิจกรรม

ทั้งนี้ได้มีการจัดทำข้อเสนอไว้ 8 ข้อสำหรับแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ อาทิ 1 ขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งทำโครงการพิเศษเพื่อขจัดปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติให้แก่ผู้เฒ่าในประเทศไทย โดยเริ่มให้อำเภอฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายเป็นอำเภอนำร่อง 2 ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งสังคายนาข้อกฎหมายเพื่อการแก้ปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติของชาวเขาและชนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานจนเป็นปู่เป็นย่าของคนสัญชาติไทย และต้องการขอมีสถานะคนต่างด้าว มีสิทธิอาศัยถาวร 3 ขอให้กระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการทบทวนแนวคิดทัศนคติและวิธีการปฏิบัติแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ฝ่ายทะเบียน เพื่อขจัดปัญหาความไร้รัฐให้แก่ผู้เฒ่าที่ตกหล่นทางทะเบียน

4 ขอให้มีระบบความร่วมมือ มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคราชการกับภาคระชาสังคม ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ผู้เฒ่าไร้รัฐไร้สัญชาติ เพื่อสร้างต้นแบบในการแก้ปัญหาโดยใช้เชียงรายเป็นจังหวัดนำร่อง

5 ขอให้กระทรวงสาธารณสุข รับรองสิทธิในสุขภาพดีถ้วนหน้าแก่ผู้เฒ่าและลูกหลานไร้รัฐ ไร้สัญชาติ โดยตั้งกองทุนพิเศษแก่โรงพยาบาลชายแดนเพื่อเป็นกองทุนในการดูแลกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งทำให้เป็นหนี้แล้วนับสิบล้านบาท รวมทั้งแบกรับภาระอื่นๆ ส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ทำหน้าที่ดูแลสุขภาวะให้ผู้เฒ่า และให้มีล่ามภาษาท้องถิ่นประจำโรงพยาบาลชายแดนทุกแห่ง

////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →