Search

กฟผ.แจงเหตุจำเป็นสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอ้างป้องกันความเสี่ยง นักวิชาการม.นเรศวรชี้งานวิจัยระบุชัดอันตราย เครือข่ายคนสงขลาค้านสุดตัว ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบผวจ.สงขลาใช้อำนาจมิชอบ

received_959464760763476

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ซิตี้ กรุงเทพฯ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมและยั่งยืนของภาคใต้” โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณ 300 คน

นางสาวจิราพร ศิริคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่า สถานการณ์ไฟฟ้าในปัจจุบันนั้น มีข้อกังวลหายอย่างเนื่องจากประเทศไทยจำเป็นต้องสำรองไฟฟ้าเพื่อการใช้ระยะยาว โดย กฟผ. ได้วางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ พีดีพี (Power Development Plan : PDP) ไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านความมั่นคงของพลังงานที่รัฐบาลนี้ต้องการให้มีไฟฟ้าสำรองทั้งระบบ

“ไฟฟ้าสำรองของเราไม่ได้เพียงพอในตอนนี้ หากอนาคตประเทศพัฒนาขึ้น เราจำเป็นต้องมีการจัดระบบสำรองไฟฟ้าเพิ่มเติมด้วย ตอนนี้นอกจากการเร่งเปิดโรงไฟฟ้าใหม่แล้ว สิ่งหนึ่งที่คนไทยทุกคนทำได้ คือการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ขณะที่มาตรการการพัฒนาพลังงานของไทยก็เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงระยะหลัง ประเทศไทยมีประเทศเพื่อนบ้านพยายามเสนอขายไฟฟ้าจำนวนมาก ทั้ง พม่า เขมร ลาว และมาเลเซีย โดยกฟผ.ไม่ได้ตอบรับการเสนอขายทั้งหมด แต่จะพิจารณาช้าๆ ว่า การเสนอขายไฟฟ้านั้นมีราคาเหมาะสมหรือไม่” นางสาวจิราพร กล่าว

received_959464750763477

นางสาวจิราพรกล่าวว่า กฟผ.ยังเชื่อมั่นว่า การผลิตไฟฟ้าใช้เองจะดีที่สุด เคยมีคำถามว่า กำลังไฟฟ้าสำรองนั้นมากไปหรือไม่ แต่เรามีเหตุผล เพราะเรามีความเสี่ยงเรื่องการจัดหาเชื้อเพลงธรรมชาติ เช่น กรณีการวางท่อก๊าซเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อส่งเชื้อเพลิงผ่านท่อจากพม่า ถ้าวันหนึ่งพม่าไม่ได้วางท่อ กำลังการผลิตเชื้อเพลิงของไทยจะหายไปราวร้อยละ 30 เราจึงต้องป้องกันความเสี่ยงการสูญเสียดังกล่าวด้วยการพยายามสร้างโรงไฟฟ้าเอง เผื่อในบางโอกาส พม่าจะมีแผนพัฒนาอย่างอื่นแล้วไม่มีท่อนำก๊าซต่อไป อย่างไรก็ตามขณะนี้ไทยมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแค่ร้อยละ 25 ส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ร้อยละ 20 ของพลังงานทั้งหมดเท่านั้น ทั้งนี้แผนพีดีพีดังกล่าวยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ จะประกาศใช้ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรี ( ครม.) รับรองเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าอาจเปลี่ยนแปลงได้

ด้านดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จากการศึกษางานวิจัยของไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ถ่านหินมีสารก่อมะเร็งทั้งหลังเผาไหม้และก่อนเผาไหม้ โดยภายหลังการเผาไหม้ถ่านหินจะแปรสภาพเป็นสารก่อเกิดมลพิษในรูปของแก๊ส และฝุ่น ที่มีโลหะหนักปนเปื้อนและฟุ้งกระจายไปยังระดับท้องถิ่น ข้ามภาคและข้ามโลกได้ โดยส่วนตัวจึงเชื่อว่า หากเราปฏิเสธถ่านหินไม่ได้ ต้องดูว่ามีกฎหมายความรับผิดชอบความเสียหายจากเคมีในถ่านหินอย่างไรบ้าง แล้วเราต้องสรุปออกมาให้ประชาชนได้รับรู้ โดยขณะนี้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่มีการออกกฎหมายและมาตรการจำกัดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และสารพิษต่างๆ โดยเฉพาะจากถ่านหิน ซึ่งหากเกินกฎหมายกำหนดแล้วส่งผลอันตรายกับคน สิ่งแวดล้อม บริษัทที่ประกอบการต้องออกมารับผิดชอบ

“กรณีโรงไฟฟ้าเทพา จังหวัดสงขลานั้นมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องว่า มีการกำหนดระบบกำจัดไนโตรเจนอกไซด์ มีตัวกำจัดปรอท เตาเผาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ถ้าการวางระบบจริงๆ ไม่เป็นไปตามคำโฆษณา ก็ไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับการกระทำดังกล่าว” ดร.ธนพล กล่าว

ด้านนายอธิราษฎร์ ดำดี ผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริษัทกระบี่ปาล์ม ออยล์ ซิตี้ จำกัด กล่าวว่า ในการประกอบการโรงไฟฟ้าสกัดน้ำมันนั้น แม้จะมีการสร้างกำไรอยู่บ้าง แต่ก็เป็นทางเลือกของพลังงานหมุนเวียนได้ดี โดยขณะนี้มีซากปาล์มบางส่วนส่งจากภาคใต้เพื่อเผาทำเชื้อเพลิงที่ภาคตะวันออกและภาคกลางของไทย สะท้อนว่า ภาคใต้นั้นเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ หากโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น อาจจะส่งผลให้ซากปาล์มดังกล่าวถูกระงับ ดังนั้นวันนี้ข้อเท็จจริงที่ กฟผ.ต้องรับฟัง คือ พลังงานมีเหลือใช้ เหลือเฟือ ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีสารพิษ

ทั้งนี้เวลาประมาณ 12.30 น. ภายหลังการเสวนาเสร็จสิ้นตัวแทนภาคประชาชนในนามเครือข่ายคนสงขลา- ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้รวมตัวถือป้ายคัดค้านโครงการพัฒนาภาคใต้ทั้งโรงไฟฟ้า ท่าเทียบเรือและอุตสาหกรรมสกปรกทุกประเภท รวมทั้งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการโพกผ้าสีเขียวเพื่อรณรงค์ให้ภาคใต้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปลอดโครงการสกปรก จากนั้นร่วมกันอ่านแถลงการณ์ ขอให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และโครงการท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และตรวจสอบการใช้อำนาจปกครองอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ว่าราชการสงขลา

ในแถลงการณ์ระบุว่า 1. ให้นายกรัฐมนตรี ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ทุกโครงการ 2.ให้ยกเลิกกระบวนการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ และการรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการต่างๆเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการท่าเทียบเรือทุกประเภทในภาคใต้ 3. ขอให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของ กฟผ.และบริษัทที่ปรึกษา ที่นำงบประมาณมาใช้เพื่อใช้ในการจัดเวทีรับฟังความเห็นทุกเวที 4. ขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ที่ออกคำสั่งกองอำนวยการการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม

นายดิเรก เหมนคร ตัวแทนเครือข่ายคนสงขลาฯ กล่าวภายหลังการอ่านแถลงการณ์ว่า ในวันนี้ช่วงเช้าเครือข่ายได้ยื่นหนังสือแก่สำนักนายกรัฐมนตรีพร้อมแนบแถลงการณ์ดังกล่าวให้นายกฯ ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายตามระบุในแถลงการณ์ โดยส่วนตัวยืนยันว่า เวทีรับฟังความเห็นทุกเวที ประชาชนไม่อาจยอมรับได้ และในเวทีวันนี้ ทางเครือข่ายฯ มองว่า เป็นเวทีซึ่งดำเนินการโดย สปช. ดังนั้น หากจะมีการปฏิรูปประเทศอย่างชอบธรรม ภาคใต้ต้องปลอดอุตสาหกรรมถ่านหิน และอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษระดับรุนแรง และคุกคามเศรษฐกิจชุมชน
ต่อมาในภาคบ่ายเครือข่ายฯยื่นหนังสือแก่ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบการกระทำของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

////////////////////////

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →