สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ชาวบ้านชมภูยื่นจดหมายเปิดผนึก ประกาศไม่ร่วมเวทีรับฟังของทหาร เผยถูกบีบลงชื่อห้ามค้านเขื่อนคลองชมพู นักวิชาการย้ำไม่เห็นด้วยทหารจัดเวที เสนอทางเลือกสร้างฝายขนาดเล็กแทน ชี้ได้ประโยชน์ทั้งลำน้ำ

received_10153636966471492

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559 ภายหลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกันของชาวบ้าน ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ที่ศาลาอเนกประสงค์วัดชมภู เพื่อหารือถึงกรณีโครงการเขื่อนคลองชมพู ชาวบ้านมีมติร่วมกันว่าจะไม่เดินทางไปเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม 2559 ณ กองพลทหารราบที่ 4 ค่ายนเรศวรมหาราช พร้อมทั้งให้ตัวแทนชาวบ้านในนามเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภูนำจดหมายเปิดผนึกไปยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองพลทหารราบที่ 4 และนายอำเภอเนินมะปราง เพื่อขอให้มีการทบทวนการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการสร้างเขื่อนคลองชมภู

received_10153636966461492

ทั้งนี้ใจความสำคัญของจดหมายเปิดผนึกระบุว่า ปัจจุบันกรมชลประทานกำลังมีการผลักดันให้เกิดการสร้างเขื่อนคลองชมพูอีกครั้ง โดยเสนอให้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) นำโครงการมาพิจารณา จนนำไปสู่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ที่กองพลทหารราบที่ 4 ค่ายสมเด็จพระนเศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งทางทหารได้มีการส่งหนังสือเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมนำเสนอข้อมูลอย่างพร้อมเพรียง แต่กลับไม่มีการเชิญตัวแทนชาวบ้านชมภูที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างทั่วถึง ในการเข้าร่วมเสนอความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ

received_10153636966466492

จดหมายระบุว่า จนกระทั่ง เดิมที่มีการกำหนดจัดเวทีแสดงความคิดเห็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 มีนาคม 2559 ซึ่งจะจัดในพื้นที่อำเภอเนินมะปราง แต่เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559 (ก่อนกำหนดการ 3 วัน) ทางทหารได้ออกหนังสือเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ไปร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ที่จะจัดขึ้นที่กองพลทหารราบที่ 4 ค่ายนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 10 มีนาคม 2559 แทนการจัดเวทีในพื้นที่ ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีการส่งหนังสือเชิญตัวแทนชาวบ้านชมภูให้เข้าร่วมเวทีแสดงความคิดเห็น

จดหมายระบุว่า ขณะเดียวกันวันที่ 7 มีนาคม 2559 นายสุริยา หาญไพบูลย์ นายอำเภอเนินมะปราง ได้เรียกตัวแทนชาวบ้านจำนวน 4 คน เข้าไปพูดคุยร่วมกับฝ่ายปกครอง ทหาร และตำรวจ เพื่อขอทำความเข้าใจและขอความร่วมมือชาวบ้านชมภูไม่ให้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนคลองชมพู โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลง 2 ข้อ ที่ระบุว่า 1.ชาวบ้านต้องนำเสนอข้อมูลด้านเหตุและผลอย่างสงบเรียบร้อย 2.ห้ามใช้ความรุนแรงโดยเด็ดขาด หากมีการชุมนุมที่เข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฏหมาย ซึ่งมีการให้ชาวบ้านลงชื่อในท้ายข้อตกลงด้วย

จดหมายระบุว่า ในฐานะที่เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู ซึ่งเป็นองค์กรที่ชาวบ้านตำบลชมพูร่วมกันจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2540 เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการทำงานปกป้องทรัพยากรท้องถิ่น ทั้งจากการให้สัมปทานโรงโม่หิน และโครงการเขื่อนคลองชมพู รวมทั้งการคุกคามด้านต่างๆ ต่อป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำคลองชมภู จึงได้มีการประชุมชาวบ้านตำบลชมพูเมื่อคืนวันที่ 8 มีนาคม 2559 ณ ศาลาอเนกประสง วัดชมภู เพื่อหารือต่อกรณีโครงการเขื่อนคลองชมพูที่กลับมาอีกครั้ง ซึ่งชาวบ้านมติร่วมกันว่าจะยืนยันการคัดค้านโครงการเขื่อนคลองชมพู และพร้อมจะชี้แจงเหตุผลการคัดค้านต่อสังคมให้เห็นถึงผลกระทบรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

จดหมายระบุว่า ส่วนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่กำลังมีการดำเนินการโดยทหารนั้น ชาวบ้านมีมติว่าจะไม่เดินทางไปเข้าร่วมเวทีในวันที่ 10 มีนาคม 2559 ที่กองพลทหารราบ 4 ค่ายนเรศวร เนื่องจากเห็นว่า เป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่จัดขึ้นอย่างมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการสร้างเขื่อน ทั้งเป็นการดำเนินการอย่างเร่งรีบ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน โดยเฉพาะการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในค่ายทหารนั้นชวนให้ชาวบ้านเกิดคำถามต่อความชอบธรรมในกระบวนการมีส่วนร่วม

จดหมายระบุว่า อีกทั้งการที่นายอำเภอเรียกชาวบ้านไปชี้แจงทำความเข้าใจ และมีการทำบันทึกข้อตกลง ซึ่งตัวแทนชาวบ้านได้ลงชื่อไปนั้น ขอชี้แจงว่าเป็นการลงชื่อภายใต้สภาวะจำยอมต่อสถานการณ์ ที่มิอาจปฏิเสธต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากมีการอ้างอำนาจตามกฏหมายมาใช้ควบคุมชาวบ้าน ในการแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกที่คัดค้านต่อโครงการเขื่อนคลองชมพู ซึ่งถือเป้นการใช้อำนาจรัฐลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้านและชุมชน

ด้าน ดร.สมิทธิ์ ตุงคะสมิต อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ว่า แม้รัฐจะอ้างว่าเพื่อให้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ขอยืนยันว่าการจัดเวทีไม่ควรไปจัดในค่ายทหาร ต้องนำเวทีออกมาจัดในพื้นที่สาธารณะ เนื่องจากชาวบ้านมีความกังวลว่าจะมีการเกณฑ์คนจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวบ้านท้ายน้ำที่ล้วนเป็นผู้ที่ต้องการใช้น้ำให้มาร่วมในเวที ซึ่งดูเหมือนเป็นความพยายามที่ต้องการให้ประชาชน 2 ฝ่ายมาปะทะกัน แต่ส่วนชาวบ้านที่ไม่สนับสนุนเขื่อน เช่นชาวบ้านชมภูกลับไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมในเวทีแสดงความคิดเห็น

ดร.สมิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ กรมชลประทานควรปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ โดยพิจารณาการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งให้ีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพราะด้วยคลองชมภูถือเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ เป็นแหล่งอาศัยของจระเข้ธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธ์ และมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ หากมีเขื่อนน้ำจะท่วมพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชุมชนใต้เขื่อนจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นโดยหลักการแล้วจึงไม่ควรสร้างเขื่อนในพื้นที่คลองชมภู แต่อาจปรับไปใช้การสร้างฝายหรืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกระจายในพื้นที่อย่างเหมาะสมกับการเก็บน้ำหรือป้องกันน้ำท่วม ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างเขื่อนคลองชมภูมาก และจะทำให้ชาวบ้านทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำได้ประโยชน์ โดยไม่เป็นการผลักให้ชาวบ้านส่วนใดต้องตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือต้องเสียสละฝ่ายเดียว

On Key

Related Posts

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →

รัฐคะเรนนียังรบกันเดือด โฆษก IEC เผยฝ่ายต่อต้านยึดพื้นทางทหาร SACได้เกือบหมด-ปิดล้อมบอลาเค-ผาซอง ส่วนสู้รบในเมืองเมียวดีกองกำลังชาติพันธุ์รุมสกัดขบวนทหารพม่าเสริมทัพ

v เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 นายบันยา (Banya) โฆษกRead More →