สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

รัฐบาล NLD ถอดรายชื่อออกจากบัญชีดำอีกกว่า 600 รายชื่อ ด้านนักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นเรียกร้อง “ซูจี” คืนสัญชาติ

ภาพจาก Women's League of Burma (WLB)
ภาพจาก Women’s League of Burma (WLB)

กระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากรของพม่า ได้ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาล NLD ได้ถอดรายชื่ออีกกว่า 607 รายชื่อ ออกจากบัญชีดำแล้ว การถอดรายชื่อครั้งนี้เป็นไปตามคำมั่นสัญญาของนายเต็งส่วย หลังเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและตามแผนการทำงานใน 100 วันแรก มีรายงานว่า รายชื่อที่ถูกถอดออกจากบัญชีดำมีทั้งชาวพม่าจำนวนกว่า 200 คน และชาวต่างชาติอีกกว่า 300 คน

กระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของพม่าได้เปิดเผยว่า ได้มีการส่งรายชื่อดังกล่าวไปยังกระทรวงอื่น ๆ เช่น กระทรวงมหาดไทยของพม่า และกระทรวงการต่างประเทศ และจะดำเนินการลบรายชื่อออกจากบัญชีดำเพิ่ม โดยเฉพาะกับบุคคลที่ทำคุณงามความดีให้กับประเทศ อย่างไรก็ตามทางกระทรวงไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับรายชื่อที่ถูกลบจากบัญชีดำ

ในยุคของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้น มีประชาชนทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากถูกขึ้นบัญชีดำ เพราะถูกรัฐบาลทหารมองว่าเข้าข่ายคุกคามความมั่นคงของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในยุคของรัฐบาลเต็งเส่ง เมื่อปี 2555 ได้มีการถอดรายชื่อจำนวน 2,000 จากทั้งหมด 6,000 รายชื่อออกจากบัญชีดำ ซึ่งมีนักเคลื่อนไหวพม่าพลัดถิ่นหลายคนรวมอยู่ด้วย เช่น ดร.ซินเธีย มาว ผู้ก่อตั้งคลินิคแม่ตาว ในอ.แม่สอด จ.ตาก และนางซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU เป็นต้น

ในจำนวนผู้ที่ถูกถอดรายชื่อจากบัญชีดำเมื่อปี 2555 ยังรวมถึง มิเชล โหย่ว นักแสดงสาวชาวมาเลเซียที่รับบทบาทแสดงเป็นนางอองซาน ซูจี ในหนังเรื่อง “The Lady” และบุตรชายทั้งสองคนของนางซูจี รวมไปถึงนาย Benedict Rogers ผู้เขียนหนังสือชื่อ “Unmasking Burma’s Tyrant”เกี่ยวกับชีวประวัติของนายพลตานฉ่วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการถอดรายชื่อออกจากบัญชี แต่ก็มีรายงานว่า รัฐบาลชุดก่อนได้กลับเพิ่มรายชื่อบางส่วนเข้าไปในบัญชีดำอีกครั้ง ด้านนายอ่องโมซอ จากพรรคประชาธิปไตยสำหรับสังคมใหม่ (Democratic Party for New Society- DPNS) กลับเห็นว่า ในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีอูถิ่นจ่อและนางอองซาน ซูจี ควรที่จะต้อนรับนักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นทั้งหมดกลับบ้าน เพื่อให้คนเหล่านี้ได้เข้ามีส่วนร่วมในระหว่างที่ประเทศกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้ นายอ่องโมซอ ยังแสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรจะลบรายชื่อทั้งหมดของผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองออกจากบัญชีดำ

ขณะที่เมื่อวันจันทร์ (25 ก.ค.) ที่ผ่านมา ทางตัวแทนของกลุ่มภาคประชาสังคมจาก 40 องค์กรที่ตั้งอยู่ตามชายแดนพม่าได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนางซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ เรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายชื่อนักเคลื่อนไหวที่ยังติดอยู่ในบัญชีดำ และเรียกร้องให้รัฐบาลคืนสัญชาติให้กับกลุ่มคนเหล่านี้

นาง ทเว ซิน โท คณะกรรมการจากองค์กรสันนิบาสตรีพม่า (Women’s League of Burma) กล่าวในจดหมายเปิดผนึกว่า นักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นเหล่านี้จะสามารถช่วยเหลือสนับสนุนความเข้มแข็งเกี่ยวกับกระบวนการปรองดอง การสร้างสันติภาพและการถ่ายโอนไปสู่ประชาธิปไตยในประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กระทรวง แรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของพม่าระบุว่า ชาวพม่าที่ต้องการเรียกร้องสัญชาติคืนจำเป็นจะต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เนื่องจากประเทศพม่าไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ

ที่มา Irrawaddy
แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →