สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

เริ่มแล้ว งาน “จากป่าสู่เมือง รำลึก 26 ปี สืบ นาคะเสถียร” “พิไล พูลสวัสดิ์” ปาฐกถาความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลโลก บทเรียนจาก 30 ปี งานอนุรักษ์นกเงือก

received_1191755577534392
ขอบคุณภาพ โดย Himalayan Juntavaro

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนิธิสืบนาคะเสถียรจัดกิจกรรม “จากป่าสู่เมือง : บทเรียนอพยพสัตว์ป่าที่เขื่อนเชี่ยวหลาน”(รำลึก 26 ปี สืบ นาคะเสถียร) ในระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน โดยวันนี้นอกจากการฉายสารคดีรายการธรรมชาติมหานคร และการแสดงประกอบดนตรี รวมทั้งการเสวนาแล้ว ได้มีการปาฐกถาหัวข้อ นกเงือก ความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลโลก โดย ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก

ทั้งนี้บรรยากาศของงานวันแรกเป็นไปอย่างคึกคัก ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป และคนทำงานด้านการอนุรักษ์เดินทางมาร่วมมากมาย ซึ่งกิจกรรมในอีก 2 วัน ยังมีหลายกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ ภาพยนตร์สารคดี Medecine Man (หมอยาผู้ยิ่งใหญ่) การบรรยาย เขาสก-คลองแสง เรื่องราวหลังวันมีเขื่อน เสวนาบทเรียนอพยพสัตว์ป่าเขื่อนเชี่ยวหลาน และรายงานสิ่งแวดล้อมไทยจากนักอนุรักษ์ เป็นต้น (คลิกอ่าน กำหนดการจากป่าสู่เมืองฯ  http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1922:seub&catid=125:bangkok&Itemid=160)

 

received_1191755574201059
ขอบคุณภาพ โดย Himalayan Juntavaro

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวปฐกถามีใจความสำคัญว่า ปัจจุบันมีพื้นที่วิจัยนกเงือก 3 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมนกเงือก 13 ชนิด คือที่ เขาใหญ่ ห้วยขาแข้ง บูโด-สุไหงปาดี โดยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพื้นที่ศึกษา 350 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตอนเริ่มศึกษาพบโพรงรังที่ใช้ได้เพียง 3 รัง เราเข้าไปช่วยเหลือจนมีเฑรงรังเพิ่มขึ้นกว่า 200 โพลง ซึ่งต้องเป็นต้นไม้ในวงศ์ยางและต้นหว้า ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร เป็นไม้ใหญ่ และป่าดั่งเดิม นกเงือกกินทั้งผลไม้มากกว่า 100 ชนิด และสัตว์มากกว่า 7 ชนิด โดยผลไม้กว่า 100 ชนิด จะอยู่ในวงศ์ของต้นไม้ในป่าโบราณ ดังนั้นนกเงือกจึงเป็นผู้รักษาพันธ์ุไม้ในป่าดิบตั้งแต่โบราณให้คงอยู่จนปัจจุบันนี้

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวต่อว่า บทบาทของนกเงือกในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ถ้าเทียบเป็นวงศ์ไม้มีมากถึงร้อยละ 32 ของพันธุ์ไม้ หรือ ร้อยละ 20 ของพันธุ์ไม้ที่พบในเขาใหญ่ แต่ก็มีศุชัตรูคือหมาไม้และหมีขอ ที่เคยพบเข้าไปจัดการนกเงือกคอแดงถึงบนโพรง การทำวิจัยจึงไม่ใช่ทำแค่ 1-2 ปี แต่ได้ทำระยะยาว เพื่อเฝ้าระวังว่าผิดปกติตรงไหนแล้วจะได้เฝ้าระวัง ไม่เฉพาะแต่การวิจัยนกเงือกแต่รวมถึงทั้งสัตว์ป่า ซึ่งเราพบว่านกเงิอกเป็นผู้ปลูกป่า เพราะไม่ทำลายเมล็ดพืชและเลือกผลที่แก่ คือมีเมล็ดสมบูรณ์และพาเมล็ดพันธุ์ที่กินกระจายไปทั่วผืนป่า รักษาความหลากหลายและสมดุลของระบบนิเวศป่า และเป็นตัวช่วยกำจัดแมลงเล็กกๆ เพื่อรักษาสมดุลนิเวศ แทนที่เหยื่ยวเพราะในป่าทึบเหยี่ยวจำนวนน้อย นกเงือกจึงเป็นผู้ทำหน้าที่แทนเหยี่ยว

received_1191755570867726
ขอบคุณภาพ โดย Himalayan Juntavaro

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวต่อว่า ลักษณะของป่าเสื่อมโทรม เราพบว่าจะไม่มีผู้กระจายเมล็ดพันธุ์ ไม่มีชะนี ลิง หรืือนกเงือก เมื่อผลไม้สุกตกใต้ต้นไม้ หนูหมูป่าจะแทะกินทำลายเมล็ด พันธ์ไม้จึงลดน้อยลง ต่างจากป่าที่สมบูณ์ ที่มีผู้ล่าทั้งนกเงือก ชะนี กวาง ผลไม้ที่จะตกใต้ต้นจะมีตำนวนน้อย เพราะผู้กระจายจะกินและพาเมล็ดไป โอกาสที่จะได้ต้นกล้าไม้ก็เยอะขึ้น มีโอกาสมากขึ้นที่จะรอดเป็นต้นใหญ่ แต่ก็ขึ้นกับขนาดของผู้กระจายด้วย เช่น นกปรอทจะไปพาเมล็ดจันทร์เทศที่มีขนาดใหญ่ก็ไม่ได้ แต่นกเงือกสามารถกินและกลืนขย่อนเมล็ดขนาดใหญ่ออกมาได้ เพราะมีปากขนาดใหญ่จึงเป็นผู้กระจายที่ดี ผลไม้ที่มีขนาดใหญ่จึงต้องอาศัยนกเงือกเท่านั้น ถ้านกเงือกหายไป ผลไม้ขนาดใหญ่ก็จะหายจากป่าไปด้วย อย่างป่าในภาคเหนือ เมื่อนกเงือกหายไป พบว่าพันธ์ุไม้หายไปกว่า 50 ชนิด น่าเป็นห่วงมาก จะเห็นได้ว่ามะกอกเกื้อที่มีขนาดใหญ่ นกเงือกหนึ่งตัวพาไปได้ 5 ผล นกพิราบป่าขนาดใหญ่จะพาไปได้ 2 เมล็ดเท่านั้น เห็นได้ว่าประสิทธิภาพต่างกัน อย่างทุเรียนป่าที่มีเมล็ดใหญ่มาก ไม่มีนกชนิดใดนอกจากนกเงือกที่พาไปได้ นกก็ได้กินผลไม้ตอบแทบ และก็ได้พาเเมล็ดนั้นออกไป มันเป็นวิวัฒนาการเอื้อกันอยู่ระหว่างพืชและสัตว์

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวอีกว่า นกกกมีพื้นที่หากิน 600 ตารากิโลเมตร นกเงือกกรามช้างหากินเกือบ 900 ตารางกิโลเมตร นี่แค่นก 1 คู่ เวลาเคลื่อนที่นกกก 40 กิโลมตร นกเงือกกรามช้าง 50 กิโลเมตร และมีอีกชนิดที่เดินทางเป็นนับพันกิโลเมตร ซึ่งเรากำลังระดมเพื่อศึกษาวิจัย คือ นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เมื่อสิ้นฤดูอพยพเข้าไปถึงมาเลเซีย ระยะเดินทางประมาณ 1400 กิโลเมตร ใช้เวลา 123 วัน เรายังไม่เคยมีรายงานเลยว่ามีการอพยพไกลถึงพม่าและมาเลเซีย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจำนำองค์ความรู้ที่จะได้นี้ ไปใช้ในการให้ชุมชนตามเส้นทางอพยพมีส่วนร่วมในการอนุรกษ์ป่าได้ ซึ่งตอนนี้พบว่านกเงือกกำลังอยู่แถวหาดใหญ่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ส่วนที่มาเลเซียมีทีมวิจัยยของ Malay Nature Society แต่ที่มาเลเซียยังไม่เคยพบการทำรังของนกเงือก เราก็ไปสำรวจให้เขา ที่มาเลเซียมีต้นไม้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ แต่จมหมดเพราะอยู่ในเขื่อน เหลือแต่ต้นเล็กจึงไมีมีโอกาสเป็นโพรงรังได้ และนกเงือกนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับนกหัวขวาน ใช้โพรงเก่าของหัวขวาน ดังนั้นต้องอนุรักษ์นกหัวขวานด้วย เห็นได้ว่ามีการเอื้อกันอยู่ในระบบนิเวศ

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวด้วยว่า ปัจจัยคุกคามจากธรรมชาติ คือการสูญเสียโพรงรัง ตัดโค่นเอาลูกนก พายุพัดหัก โพรงมีอายุการใช้งาน จึงเกิดการแก่งแย่งรัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะการขาดแคลนโพรงรัง ปัญหาโพรงปิด เราต้องไปช่วยถากปากรังให้ ปากโพรงนกเกาะไม่ได้ เราต้องติดคานให้ป้อนอาหารได้ สถานกาณ์โพรงรังนกเงือกเขาใหญ่ 2556 มีจำนวน 250 โพรง ต้นโพรงหักพัง 125 ต้น โพรงรังเสียอีก 94 โพรง เหลือโพรงรังดีแค่ 30 กว่าโพรงเท่านั้น ขนาดเขาใหญ่ที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ที่อื่นก็เช่นเดียวกัน แต่อย่างทางใต้อาจสำรวจยากเพราะเป็นป่าดิบฝนที่ต้นไม้สูงมาก จึงทำได้ลำบาก เราก็ยังได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นัก ดังนั้นถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ต้นไม้จะสูญหายหมดภายใน 10-12 ปี เราจึงมีการสำรวจโพรงรังที่จะปรับปรุงให้นกเงือกใช้ได้ ซึ่งจากการช่วยเหลือของเราสามารถช่วยนกเงือกที่ได้ถึงร้อยละ 65

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวต่อว่า ที่เทือกเขาบูโดส่วนใหญ่จะเป็นนกเงือกขนาดใหญ่ คือ นกกก และนกเงือกหัวแรด การทำงานที่เขาบูโดกว่า 20 ปี เราได้ลูกกกเพิ่มประมาณกว่า 200 ตัว ลูกนกเงือกหัวแรด 150 ตัว รู้สึกดีใจที่อย่างน้อยป่าและนกเงือกว่าจะอยู่ไปได้อีกอย่างน้อย 50-70 ปี อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไฟงปาดีอาจเป็นพื้นที่เล็ก เมื่อปี 2537 ราคาลูกนกเงือกเป็นที่ดึงดูดให้มีการล่ามาก ราคาดี ลูกนกเงือกหัวหงอกตัวละ 3 หมื่นบาท เราได้เขาไปคุยกับชาวบ้าน ซึ่งพบทั้งปัญหาการค้าไม้เถื่อน ลักลอบปลูกยาง สวนผลไม้ของชาวบ้าน ระยะเร่งด่วน้องหยุดการล่าและเพิ่มประชากรนกเงือกให้ได้ เข้าไปคุยกับพรานชาวบ้าน เป็นเรื่องยากทีเดียวในการพยายามเปลี่ยนทัศนคติ มีการพาชาวบ้านมาดูงานที่เขาใหญ่ ซึ่งก็ได้รับความสนใจ พอเห็นภาพเขาก็อยากให้บ้านเขามีแบบนี้บ้าง ก็กลับไปขึ้นป้ายว่าเป็นชุมชนที่จะอนุรักษ์นกเงือก เราก็ถามว่าจะร่วมมือกันมั้ย จนเกิดโครงการอุปการะครอบครัวงนกเงือก อดีตพรานจับนกกลายมาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยนกเงือก ตอนนี้มีประมาณ 40 คน และมีเด็กรุ่นใหม่เข้ามาแล้ว

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าวต่อว่า ระยะสอง คืออการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้าน ให้ช่วยแจ้งเบาะแส และเปลี่ยนทัศนดติจากการค้านกเงือกเป็นอนุรักษ์นกเงือก จนทำให้ชาวบ้านบริจาคที่ดินให้สร้างศูนย์อนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี และมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนเพื่อรองรับการสานต่องาน เพราะฉะนั้นชาวบ้านรอบเทือกเขาบูโดจะรู้จักนกเงือกเป็นอย่างดี ซึ่งผลสัมฤทธิ์เราสามารถหยุดการล่านกเงือกได้และเพิ่มประชากรได้กว่า 600 ตัว เกิดความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ทั้งอุทยานแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบล ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งร่วมกันจนสำรวจพบว่านกเงือกกรามช้างไปรวมฝูงนอนที่เขื่อนถึง 700 ตัว รวมทั้งเกิดเครือข่ายโรงเรียนรอบเทือกเขาบูโดอีกกว่า 30 กว่าโรงเรียนที่ช่วยกันดูแลป่าและนกเงือก

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →