สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

นักวิชาการแนะตั้งเป้าคืนสัญชาติไทยพลัดถิ่น นักศึกษา ม.รังสิตลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านเตรียมข้อมูล

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 นางสุนี ไชยรส อาจารย์คณะนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วยคณะนักศึกษา 30 คน ร่วมกับมูลนิธิชุมชนไทและเครือข่ายขอคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น ได้ลงพื้นที่อำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยเหลือชาวไทยพลัดถิ่นเก็บและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการขอคืนสัญชาติไทย โดยนางสุนีกล่าวว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตได้ลงนามข้อตกลงไว้กับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้นักศึกษาช่วยตรวจสอบและเตรียมเอกสารของชาวบ้านกลุ่มนี้เพราะมีความยุ่งยาก บางส่วนไม่รู้หนังสือ นอกจากนี้นักศึกษายังช่วยเหลือในการเตรียมพยาน ทำผังเครือญาติซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการขอคืนสัญชาติ เพราะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าญาติคนไทยเป็นใคร โดยนักศึกษาได้ลงพื้นที่ในลักษณะนี้เป็นครั้งที่ 9

อาจารย์คณะนวตกรรมสังคม กล่าวว่า ที่ผ่านมานักศึกษาได้จัดเตรียมเอกสารไปแล้วกว่า 1,000 คำขอ คือ 1.กลุ่มที่ยื่นใหม่เพื่อขอคืนสัญชาติ 2. กลุ่มที่ถูกจำหน่ายเพราะมีข้อสงสัยเรื่องการทุจริตภายใน ทำให้อำเภอใช้วิธีจำหน่ายชื่อตัดสิทธิชาวบ้าน โดยคนกลุ่มนี้มีนับพันคน 3. กลุ่มผิดหลงคือเป็นไทยพลัดถิ่นแต่ไปลงข้อมูลไว้เป็นอย่างอื่น โดยกลุ่มผิดหลงต้องหาคนมารับรอง และเราต้องแนะนำเรื่องยื่นเอกสารอะไรบ้าง เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่น ไม่ใช่กะเหรี่ยง มอญ อย่างที่ระบุไว้ผิดๆ

“ ปัจจุบันตัวเลขของคนไทยพลัดถิ่นที่กรมการปกครองขึ้นทะเบียนไว้มีประมาณ 1.8 หมื่นคน แต่เราคิดว่ามีมากกว่านั้น เราก็เศร้าใจอยู่ ทางการจะบอกว่าไม่มีกำลังคนและไม่มีงบประมาณก็ไม่ได้ เพราะนักศึกษาก็มาช่วย แต่ตอนนี้ยังทำกันได้ไม่รวดเร็วนักเพราะปัญหาอุปสรรคมาก โดยในส่วนของชาวบ้านที่เป็นสมาชิกเครือข่ายขอคืนสัญชาติไทยนั้น มีการจัดเตรียมเอกสารได้ดีกว่าชาวบ้านที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย แต่เพราะทางการเกรงกลัวเรื่องทุจริตมาก เลยพยายามรักษาเนื้อรักษาตัวไว้ให้มากที่สุด ทำให้กลไกต่างๆ ไม่ลื่นไหล แม้แต่คณะกรรมการพิจารณาสัญชาติชุดใหญ่ก็พิจารณาแค่เรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการเท่านั้น แต่มีอีกจำนวนมากที่ไปกองอยู่บนอำเภอและไม่มีใครไปกระทุ้ง” นางสุนี กล่าว

นางสุนีกล่าวว่า รัฐควรมีการวางแผนและตั้งเป้าไว้ว่าต้องใช้เวลาในการพิจารณาเท่าไร โดยเอาตัวเลขจากทุกหน่วยงานมาวางกองไว้บนโต๊ะและตั้งเป้าว่าจะทำแต่ละปีได้แค่ไหน และควรเตรียมข้อมูลมาประสานกันให้เร็ว นอกจากนี้ยังควรมีกลไกส่วนกลางลงพื้นที่มาตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานเดินได้เร็ว ถ้าไม่มีแผนเรื่องก็จะไปเรื่อยๆ แล้วมาอ้างว่าไม่มีกำลัง

“เราพบอธิบดีกรมการปกครองมาแล้ว 3 ครั้ง เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนระดับนโยบาย เราต้องดูว่ากรมการปกครองติดขัดอะไร เราหวังว่าการมาใน 3 พื้นที่ครั้งนี้คือทับสะแก บางสะพาน และเมือง จะทำให้ข้อติดขัดต่างๆ ได้เดินต่อ ทางการต้องใจกว้างให้ชาวบ้านติดตามได้” นางสุนี กล่าว

นายโชไอซ์ ปาทาน นักศึกษาคณะนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นคนไร้สัญชาติ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่ร่วมกับคณะนักศึกษามาแล้ว 5-6 ครั้ง ทุกวันนี้ตนเองก็ยังไม่มีบัตรประชาชน ทั้งที่เกิดที่โรงพยายาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบฯ และพ่อก็อยู่ในประเทศไทยมาแล้ว 35 ปี ตอนนี้อายุ 21 ปี และเคยยื่นเรื่องไปแล้วหลายครั้ง ที่มีปัญหาเพราะหน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการตรวจสอบที่ช้า เขารับคำร้องและส่งไปตรวจสอบหลายหน่วยงาน ส่งไปถึงสถานทูตพม่าในไทย

นายโชไอซ์กล่าวว่า ด้วยความที่ทางการมักมองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก แล้วตัดสินว่าพวกตนเป็นมุสลิมและกลัวเป็นภัยความมั่นคง ทั้งๆ ที่พวกตนอยู่มานานจนกลมกลืนกับสังคมไทยแล้ว และไม่มีญาติพี่น้องในพม่าหรือประเทศอื่นเลย ทุกวันนี้ยังไม่มีการแก้ปัญหาให้กับมุสลิมมะริดที่อยูในไทย ซึ่งมี 300-400 คนใน 4 จังหวัด แต่ที่อื่นไม่มีปัญหาเท่ากับประจวบฯ

“ผมประสบปัญหามาตั้งแต่เด็ก ยังดีที่ได้ทุนจากคุณพ่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เพราะไม่สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนการศึกษาได้ สมัยเป็นนักเรียน ผมเองก็ถูกกลั่นแกล้งอยู่บ่อยๆ มักถูกล้อไม่ใช่แค่เพื่อนๆ ในห้องเท่านั้น แม้แต่ครูก็ยังล้อเรา” นายโชไอซ์ กล่าว

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →