สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

พิธีเรียกขวัญข้าว

ในช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ชาวบ้านบางกลอย จะร่วมกันทำพิธีเรียกขวัญข้าวซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่ยังอยู่ในหมู่บ้านบางกลอย-ใจแผ่นดิน

พิธีเรียกขวัญข้าวของชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่เป็นช่วงปลายปีประมาณเดือน พฤศจิกายน –เดือนธันวาคม ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คนกะเหรี่ยงเชื่อว่าข้าวมีจิตวิญญาณ หล่อเลี้ยงผู้คนให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ตราบใดถ้ามีข้าวอยู่คนก็จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ข้าวเปรียบเสมือนน้ำนมพระแม่โพสพ พิธีเรียกขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญอีกพิธีหนึ่ง ที่เกี่ยวกับข้าวโดยตรง เจ้าของไร่ต้องทำที่ ที่เก็บข้าวนั่นคือยุ้งข้าวเพื่อให้ข้าวทุกเม็ดกลับมาอยู่รวมกัน และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย มิให้ถูกแดด ถูกฝน ให้ข้าวอาศัยอยู่อย่างมีความสุข พิธีเรียกขวัญข้าวมีตามขั้นตอนต่างๆดังนี้

  1. ขั้นตอนการเตรียม/และอุปกร์ในพิธี
    1.1 ทำยุ้งข้าว (บื๊อพ้อ)
    1.2 ทำข้าวห่อเพื่อเตรียมในพิธีเรียกขวัญข้าวโดยไปหาใบไผ่หรือใบตองก็ได้เพื่อนำมาทำข้าวห่อ ส่วนใหญ่เขานิยมทำข้าวห่อเป็นข้าวเหนียว (มีตอ)
    1.3 ทำข้าวหลามโดยเอากระบอกไม้ไผ่ที่สะอาดและอ่อนอายุในปีนั้นๆ ข้าวเหนียวที่ทำข้าวหลามนั้นต้องต้องแช่ในน้ำประมาณ 1 คืน เสร็จแล้วรุ่งเช้านำมาเผาไฟ เมื่อสุกแล้วนำมาปอกเปลือก (มีจึ)
    1.4 ข้าวเหนียวสุกตำเป็นแผ่นเพื่อเตรียมในพิธีเรียกขวัญข้าว (มีโต้เป่)
    1.5 หมากพลู นำมาม้วนเหมือนการม้วนยาสูบแล้วเอาเส้นด้ายมัด 5 มัด หรือ 7 มัด ก็ได้
    1.6 เทียน 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม ก็ได้
    1.7 มีไข่ไก่ในพิธี หรือไม่มีก็ได้
    1.8 เหล้าต้ม มี หรือไม่มีก็ได้
    1.9 ทำยุ้งข้าวให้ยักษ์หรือสิ่งไม่ดีต่างหากเพื่อไม่มารบกวนยุ้งข้าวของเรา และมีหน้าไม้จำลอง 1 อันเอาไว้อยู่ใต้ยุ้งข้าวของเรา เพื่อปกป้องยุ้งข้าวของเรา ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายมารบกวนยุ้งข้าวของเรา
    1.10 มีท่อนไม้แขวนไว้ใต้ยุ้งข้าวเพื่อปกป้องคุ้มครองยุ้งข้าวของเรา

2. ขั้นตอนเริ่มพิธี

2.1 เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วนำของที่เตรียมไว้ มีข้าวหลาม ข้าวห่อ แผ่นข้าวเหนียวที่ตำ เทียน หมากพลู ไข่ต้ม (เหล้าต้มถ้ามี) มันต้ม เผือกต้ม ใส่ในสวิง หรือใส่ในกระบุงก็ได้

2.2 ไปเอาเครื่องต้าแสะเถาะ(ก๊าเอาะคุ) ที่จุดทำทำพิธีตะหม่อขึ มาเอาไว้ที่ยุ้งข้าว มีอ้อย และดอกหงอนไก่มาตกแต่งยุ้งข้าวให้มีความสวยงาม เมื่อเสร็จแล้วทำพิธีแสะเถาะพ้อ โดยมี ข้าวห่อ 7 ห่อ หมุนรอบยุ้งข้าว 3 รอบ พร้อมกับพูดว่า ขอให้ข้าวขึ้นยุ้งข้าว เต็มยุ้งข้าวเร็วพลัน ขอให้เจริญมีข้าวตลอดไป

2.4 พิธีต้อเสะกร้อ เป็นพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายที่จ้องมากิน จ้องทำไม่ดีให้กับข้าว ที่อยู่ในยุ้งข้าว ในพิธีมีอุปกรณ์ ดังนี้ 1. สานลำแพตาห่างเอานิ้วแหย่ได้ 1 อัน ขนาดเท่าฝ่ามือ 2. หมากพลู 3. เทียน 1 เล่ม 4. ข้าวสุก 1 กำมือ

2.5 พิธีอิน่อกองข้าว มีขิงจำนวน 1 ก้อน เพื่อกัดเข้าปากแล้วพ่นกองข้าว มีข้าวสุก 4 กำมือ ดิน 4 ก้อน

ขั้นตอนประกอบด้วยบุคคลจำนวน 3 คน คนที่ 1 เป็นคนรอแบกข้าว คนที่ 2 เป็นคนคอยตวงข้าวใส่ให้คนที่ 1 พร้อมทั้งกัดหัวขิงแล้วพ่นไปที่กองข้าวแล้วพูดว่า ขอให้กองข้าวของฉันเปรียบเสมือนกองหิน กองดิน กองทราย ใส่ถุงใส่ภาชนะเท่าไหร่ก็เหมือนเดิม ไม่มีลง ไม่มีหมด ยุ้งข้าวฉันเต็มแล้ว กองข้าวของฉันมีอยู่เท่าเดิม แล้วก็เดินไป พ่นไป เก็บก้อนดิน และข้าวแต่ละกำเอาไว้ตามมุมกร้อ ครบทั้ง 4 มุม

ส่วนคนที่ 3 คอยแบกของที่เตรียมไว้ ชุดเดียวกับของที่อยู่ในสวิง หรือในกระบุง หมุนรอบกองข้าวครั้งละ 3 รอบ พร้อมทั้งเรียกขวัญข้าว หรือเรียกวิญญาณข้าวกลับมา ทำเหมือนกันแบบนี้ จำนวน 3 ครั้ง พอครบ 3 ครั้งแล้ว คนอื่นๆ สามารถแบกได้

2.6 พอข้าวหมดแล้วทุกคนไปร่วมพิธีที่บนยุ้งข้าวพร้อมทั้ง เชิญพระแม่โพสพลงมาจากสวรรค์มาเสวยของบูชาที่เตรียมไว้ เป็นการเชิญพระแม่โพสพครั้งสุดท้ายในรอบปี


ขอบคุณข้อมูลจากครูเจริญ รักจงเจริญ
ภาพ-พิธีเรียกขวัญข้าวของชาวบ้านบางกลอยซึ่งจัดที่ด้านล่างเมื่อปี 2559 แต่เป็นการนำข้าวเปลือกจากด้านนอกไปร่วมสมทบ เนื่องจากในพื้นที่บางกลอยล่าง ชาวบ้านไม่มีที่ดินปลูกข้าว

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →