สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ทหารพม่าส่งกำลังเสริมเข้าคะเรนนี บก.สื่อดังชี้การปกครองพังทลาย-เชื่อกองทัพหม่องพ่ายในที่สุด

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564  สำนักข่าวกันตรวดีไทมส์ ซึ่งรายงานข่าวเกี่ยวกับชาติพันธุ์คะเรนนี ได้รายงานว่า ตั้งแต่เมื่อวานนี้ได้มีรถของกองทัพพม่าจำนวนราว 20 คัน กำลังมุ่งหน้าจากเมืองตองอู เข้าสู่รัฐคะเรนนี โดยคาดว่ามีการขนกองกำลังพลทหารพม่าอย่างน้อย 300 นาย รวมทั้งเสบียงอาหาร เข้าสู่พื้นที่กองพล 2 ของรัฐกะเหรี่ยง โดยประชาชนในพื้นที่กล่าวว่ามีการจอดพักค้างคืน จุดหมายน่าจะเป็นเมืองเดโมโส่ ที่เกิดการปะทะอย่างหนักในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างทหารพม่าและกองกำลังภาคประชาชน โดยชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งขบวนรถของทหารพม่าจอดพักต่างพากันหวาดกลัว บางคนไม่กล้าอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และเกิดความกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นอีก

ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวอิรวดีได้จัดรายการโดยเชิญนายออง ซอ บรรณาธิการของสำนักข่าวอิรวดีแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพม่าโดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า การต่อสู้ของประชาชนพม่าในตอนนี้ขยายในวงกว้างจนเป็นเรื่องยากที่กองทัพพม่าจะควบคุม ส่วนทางด้านการต่อสู้ระหว่างกองทัพพม่ากับกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์ ก็เห็นได้ว่ากองทัพพม่าไม่มีข้อมูลเพียงพอ  และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ของรัฐชาติพันธุ์ต่างๆ รวมถึงไม่มีประชาชนให้การสนับสนุน ในขณะที่กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) มีความชำนาญในพื้นที่ และมีประชาชนให้การสนับสนุน จึงเห็นได้ว่าระยะที่ผ่านมากองทัพพม่าต้องอาศัยการโจมตีทางอากาศ แต่การโจมตีแบบนี้ก็ไม่สามารถทำได้ต่อเนื่อง

บรรณาธิการข่าวของสำนักข่าวอิรวดีระบุด้วยว่า ขณะเดียวกันสิ่งที่เราเห็น คือการเกิดขึ้นของกองกำลังภาคประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศพม่า เช่น CDF, PDF, KPDF โดยในช่วง 4 เดือนของการรัฐประหาร เราจะเห็นว่ามีการเกิดขึ้นของกองกำลังภาคประชาชน ตัวอย่างเช่น เมืองมัณฑะเลย์มีการโจมตีกองทัพพม่าโดยกองกำลังของประชาชน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กองทัพพม่าไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ขณะเดียวกันทหารพม่าที่ถูกกองกำลังต่างๆ โจมตีส่วนหนึ่งเริ่มไม่มีกำลังใจ และคนในกองทัพจำนวนหนึ่งก็เริ่มเข้ามาร่วมกับขบวนการประชาชน CDM(ขบวนการอารยะขัดขืนพม่า) ซึ่งใครจะแพ้ใครชนะเราคงเดาออก

รายการของอิรวดีนำเสนออีกว่า นานาชาติก็มีมาตรการกดดันกองทัพพม่า เช่นการคว่ำบาตรทางการค้า เป็นสิ่งที่กองทัพพม่าเลือกเอง

“สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่ากองทัพจะแพ้ ความต่างของการรัฐประหารครั้งนี้กับปี 1988  ช่วงปี 1988 คือการรัฐประหารของผู้นำรุ่นใหม่ ในครั้งนั้น หลังจากการรัฐประหารช่วง 4 เดือนเริ่มมีการกลับมาฟื้นเรื่องระบบเศรษฐกิจ ประสานความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ และหลังจาก 1 ปี กองทัพพม่าก็สามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับนานาประเทศได้ แต่รัฐประหารครั้งนี้คือ ระบบการเมืองการปกครองในพม่าได้พังทลายลง กองทัพพม่าไม่สามารถควบคุมการปกครองในประเทศได้ การจะกลับไปเปิดเรียนตามปกติก็ยังไม่สามารถทำได้ เราไม่เห็นกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ที่จะมาสานต่องานของคณะรัฐประหารชุดนี้ ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ไม่เคยมีการสู้รบอย่างรัฐคะเรนนี กลับมีการต่อสู้และความไม่สงบอย่างรุนแรง สุดท้ายก็มองว่าไม่มีใครที่จะอุ้มกองทัพพม่าไว้ได้ตลอด” บรรณาธิการสื่อดังในพม่า กล่าว

ขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทยริมแม่น้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน แม้ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ว่า ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายนเป็นต้นมา ไม่มีการสู้รบระหว่างทหารพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยง KNU และไม่มีการปฏิบัติการทางอากาศมาแล้ว 39 วัน  แต่ทหารยังคงปิดพื้นที่บ้านแม่สามแลบและบ้านท่าตาฝั่งโดยตั้งด่านตรวจอย่างเข้มงวดเพื่อสกัดกั้นไม่ให้คนภายนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้าไปในพื้นที่ และได้สร้างความยากลำบากให้กับชาวบ้านเนื่องจากไม่สามารถค้าขายได้ แม้แต่ตลาดนัดประจำสัปดาห์ยังไม่สามารถเข้าไปขายของในบ้านแม่สามแลบได้ ล่าสุดทหารไทยได้ตรวจค้นบ้านชาวบ้านรายหนึ่งซึ่งรับบริจาคข้าวของสำหรับส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ที่หนีภัยจากการสู้รับ โดยทหารได้ยึดข้าวของบริจาคทั้งหมดและอ้างการบริจาคใดๆ ต้องผ่านสภากาชาด


On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →