สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ไฮไลต์พม่า : ชาวบ้านทางเหนือรัฐฉาน ต่อต้านสะพานข้ามแม่น้ำมาว หวั่นสูญเสียดินแดนให้จีน / ซูจี ระบุ อาจคว่ำบาตรเลือกตั้งปลายปี ย้ำรัฐบาลเต็งเส่งไม่จริงใจปฏิรูปประเทศ /นักกฎหมายพม่าจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่สื่อมวลชน

image_26
ภาพจาก Taifreedom.com

 

ชาวบ้านทางเหนือรัฐฉาน ต่อต้านสะพานข้ามแม่น้ำมาว หวั่นสูญเสียดินแดนให้จีน

ชาวบ้านในเมืองน้ำคำ ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ราว 400 คน ได้ออกมาคัดค้านการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมาว ระหว่างหมู่บ้านกุ๋นเหนือ ฝั่งจีน และหมู่บ้านกุงส่า ฝั่งรัฐฉาน เมื่อวันศุกร์(3 เม.ย.) ที่ผ่านมา หลังเจ้าหน้าที่ทางการและทหารจีนทั้งสิ้น 20 คน ได้มาวัดที่ดินเพื่อสร้างสะพาน พร้อมทั้งนำธงชาติจีนมาปักไว้ในฝั่งรัฐฉาน สร้างความไม่พอใจและถูกต่อต้านจากชาวไทใหญ่ในพื้นที่อย่างหนัก จนเจ้าหน้าที่จีนต้องเดินทางกลับ

เกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่ได้แสดงความกังวลว่า หากมีการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างกัน จะทำให้สูญเสียที่ดินสำหรับเพาะปลูกและสูญเสียดินแดนบางส่วนในรัฐฉานให้กับจีน ทั้งนี้มีรายงานว่า จีนเตรียมใช้ที่ดินจำนวน 125 ไร่ ในหมู่บ้านกุงส่า ฝั่งรัฐฉาน สำหรับสร้างสะพาน ซึ่งที่ดินจำนวน 125 ไร่นี้จะตกอยู่ในฝั่งจีนหากสะพานแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ จีนเตรียมสร้างสะพานดังกล่าวในเดือนเม.ย.นี้ จีนกล่าวว่า จะสร้างสะพานแห่งนี้ให้ได้ แม้จะถูกคัดค้านจากชาวบ้านก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ระบุจะต่อต้านโครงการสร้างสะพานนี้ให้ถึงที่สุด พร้อมทั้งจะนำเรื่องนี้รายงานต่อสภาพม่า

ที่มา Tai Freedom

ภาพจาก Facebook National League Democracy
ภาพจาก Facebook National League Democracy


ซูจี ระบุ อาจคว่ำบาตรเลือกตั้งปลายปี ย้ำรัฐบาลเต็งเส่งไม่จริงใจปฏิรูปประเทศ

นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรค NLD
ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ทางพรรคอาจเลือกที่จะคว่ำบาตรการเลือกตั้งใหญ่ในพม่าปลายปีนี้ แม้นั่นจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด หากยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2551 ที่กีดกันไม่ให้นางซูจีก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของพม่า โดยระบุ พรรค NLD ยังเปิดโอกาสทุกทางเลือก และยังไม่ตัดประเด็นการคว่ำบาตรเลือกตั้ง

นางซูจีระบุ พรรค NLD พร้อมที่จะบริหารประเทศ แต่ก็ยังคงถูกกีดกัน ทั้งนี้ยังระบุว่า รู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลเต็งเส่งไม่มีความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศ เช่นเดียวกับท่าทีของสหรัฐฯที่ชื่นชมรัฐบาลพลเรือนพม่าก็ทำให้การปฏิรูปไม่มีความก้าวหน้า พร้อมทั้งแสดงความกังวลว่า รัฐบาลพม่าอาจจะเลื่อนการเลือกตั้งใหญ่ออกไป โดยใช้ข้ออ้างที่จะต้องเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อย ดอว์ซูจียังกล่าวว่า ระหว่างพบกันในปี 2544 ประธานาธิบดีเต็งเส่งยังมีความกระตือรือล้นที่จะปฏิรูปประเทศ แต่ปัจจุบันไม่ให้ความสนใจเรื่องนี้อีกแล้ว

อย่างไรก็ตาม ซูจี กล่าวย้ำว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงนั้นมีความสำคัญ เพราะจะเป็นบทพิสูจน์ว่า พม่ายังจะเดินไปในเส้นทางประชาธิปไตยหรือไม่ ทั้งนี้ในปี 2533 พรรค NLD นั้นชนะการเลือกตั้งทั่วประเทศอย่างถล่มทลาย แต่ไม่มีโอกาสขึ้นมาบริหารประเทศ และนางซูจีถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นเวลา 15 ปี

ที่มา REUTERS

ภาพโดย Khaung Htet / Facebook
ภาพโดย Khaung Htet / Facebook

นักกฎหมายพม่าจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่สื่อมวลชน

นักกฎหมายพม่าจากทั่วประเทศได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาในชื่อ “เครือข่ายทนายความเพื่อนักข่าวและสื่อมวลชน” (Lawyers Network for Journalists and Media) โดยเปิดตัวเมื่อวันพุธ (1 เม.ย.) ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือในด้านกฎหมายให้กับสื่อมวลชนและสำนักข่าวต่างๆ ที่ถูกทางการจับกุมและฟ้องร้องดำเนินคดี โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นทนายความทั้งหมด 80 คน จากทั่วประเทศ โดยจะเริ่มให้บริการในเขตอิรวดี เขตมะกวย เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโคและเขตย่างกุ้ง

ทาน ซอ อ่อง หนึ่งในทนายความและเป็นเลขาธิการของกลุ่มเปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้เริ่มมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับสื่อมวลชนและนักข่าวมากขึ้น และยังไม่มีกฎหมายที่จะคุ้มครองสื่อมวลชน ดังนั้นจึงจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย และทางกลุ่มยังมีแผนที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านให้กับผู้ที่ทำงานด้านสื่ออีกด้วย

ด้านองค์กรสื่อของพม่าอย่าง Interim Myanmar Press Council ออกมายินดีที่มีการจัดตั้งทีมทนายความช่วยเหลือสื่อมวลชน โดยระบุ จะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่สื่อถูกคุกคาม นับตั้งแต่การก้าวขึ้นมาบริหารประเทศของรัฐบาลพลเรือนเต็งเส่ง มีนักข่าวถูกจับกุมทั้งสิ้น 20 คน และถูกฆ่าเสียชีวิต 1 คน มีรายงานว่า นักข่าว 12 คนกำลังรับโทษอยู่ในคุก โดยที่เหลืออยู่ระหว่างรอศาลพิจารณาคดี นักข่าวหลายคนถูกจับดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทและยั่วยุ ที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่า กฎหมายดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรมและล้าหลัง เพราะถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ยุคอาณานิคม

ที่มา Irrawaddy

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →