Search

ชาวกะเหรี่ยงริมน้ำเมยยังคงหนีการสู้รบด้วยความยากลำบาก-ทหารพม่าห้ามกลับหมู่บ้าน-ต้องกระจายตัวหลบซ่อน เผยกองทัพหม่องส่งกำลังพลเข้าพื้นที่เพิ่ม ขณะที่ศูนย์สั่งการชายแดนไทยระบุมีผู้หนีภัยสมัครใจเดินทางกลับอีก 152 คน

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 สำนักข่าวบีบีซี (BBC Burmese) รายงานข่าวว่า ชาวบ้านจากเลเก่ก่อในรัฐกะเหรี่ยงของประเทศพม่า ยังคงหนีภัยสงครามด้วยสถานการณ์ที่ยากลำบากขึ้น โดยผู้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเปิดเผยว่า ผู้หนีภัยจากการสู้รบในเลเก่ก่อยังคงหลบหนีไปตามชายแดนไทย-พม่าด้วยสถานการณ์ที่ยากลำบากยิ่งขึ้น

“ผู้ลี้ภัยพบกับความยากลำบากที่จะกลับไปตั้งถิ่นฐานอีก ตอนนี้การสู้รบได้หยุดลง กองทัพพม่าก็ไม่ปล่อยให้ชาวบ้านกลับมายังบ้านเขาอีก ในขณะที่กองทัพพม่าเพิ่มกำลังมากขึ้น ความกลัวที่จะถูกจับในสถานที่หลบภัยการสู้รบก็มีมากขึ้นจึงกระจายกันไปในพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่าเดิม ผู้ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารอย่างพวกเราก็อยู่ไกลเกินเอื้อม” หัวหน้ากลุ่มช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในแม่สอด ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ผู้ลี้ภัย กล่าว

“เมื่อก่อนเราเคยส่งอาหารมากกว่า 1,000 กล่องต่อวัน แต่ตอนนี้ส่งเพียง 400 กล่อง เนื่องจากผู้ลี้ภัยกระจัดกระจายกันไปที่อื่น” เขากล่าว

ทั้งนี้การสู้รบระหว่างกองทัพพม่ากับกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA กองพันที่ 6 ของ KNU ร่วมกับกลุ่มกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) ซึ่งเริ่มปะทะกันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นระยะยาวนานกว่า 1 เดือน ทำให้ชาวบ้านมากกว่า 15,000 คนจาก 10 หมู่บ้าน รวมทั้งเลเก่ก่อต้องพลัดถิ่น

“ผู้ลี้ภัยกระจัดกระจายไปกันอยู่ทุกหนแห่ง พวกเขาก็กลัวว่าจะถูกจับกุมและถูกฆ่า ถ้าหากกองทัพพม่าเพิ่มกำลังและตรวจค้นป่า ซึ่งบางหมู่บ้านไม่เต็มใจที่จะรับผู้ลี้ภัย ซึ่งผู้ลี้ภัยยังอาศัยอยู่ในหมู่บ้านด้วยความเกรงกลัวต่อภัยสงครามที่จะเกิดขึ้น พวกเราต้องอยู่ในป่าใกล้ต้นทางของแม่น้ำเมยเพื่อที่จะได้รับโทรศัพท์จากไทยและขอความช่วยเหลือ บางคนหนีขึ้นไปบนเขาก็ไม่รู้จะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร น้ำดื่มก็หายาก พกไปแต่เสบียงอาหาร การติดต่อสื่อสารก็ถูกตัดขาด” ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในหมู่บ้านยะเต้ะกู่ของเมียวดี กล่าว

ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยที่ก่อกะเระกว่า 20,000 คน ที่หนีจากการต่อสู้ในพื้นที่ KNU กองพลน้อยที่ 6 ยังคงต้องอพยพ เนื่องจากช่วงไม่กี่วันมานี้ กองทัพพม่าได้เพิ่มกำลังและขยายขอบเขตการสู้รบ

ขณะที่ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-เมียนมาจังหวัดตาก ได้เผยแพร่สถานการณ์ชายแดนในพื้นที่โดยระบุว่า ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น.ของวันที่ 24 มกราคม ไม่มีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยเชื่อสายกะเหรี่ยงบริเวณฝั่งเมียนมาด้านตรงข้ามจังหวัดตาก ส่วนผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวเมยโค้ง ต.มหาวัน อ.แม่สอด มียอดเดิม 619 คนและมีความประสงค์สมัครใจขอกลับเมียนมาจำนวน 152 คน ทำให้เหลืออยู่ 467 คน

ศูนย์สั่งการฯระบุว่า ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้หนีภัยในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวอย่างทั่วถึงและพอเพียงต่อการดำรงชีพภายใต้การดำเนินการของภาครัฐ โดยสนับสนุนยานพาหนะในการเคลื่อนย้ายผู้หนีภัยที่เดินทางกลับ และกองอำนวยการร่วมฯยังคงดูแลพื้นที่อย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบการดำเนินการตามหลักมนุษยธรรมโดยไม่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รวมถึงการสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่สนับสนุนผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →