Search

กห.เตรียมส่งมอบพื้นที่งานหลังร่วมฟื้นฟูภัยพิบัติเมืองแม่สายกว่า 2 เดือน พล.อ.ณัฐพลเชื่อทางการเมียนมาเอาด้วยรื้อสิ่งกีดขวางลำน้ำสาย กลุ่มสิทธิมนุษยชนไทใหญ่เผยเหมืองแร่ทุนจีน-ว้าแน่นต้นน้ำ

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2567 พล.อ.ณัฐพล นาควาณิช รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ กระทรวงกลาโหมมีกำหนดส่งมอบพื้นที่งานในส่วนของกองทัพที่เข้าพื้นที่ทำงานมากว่า 2 เดือน โดยปัจจุบันมีกำลังพลอยู่ในพื้นที่ 1,100 คน พร้อมเครื่องจักรยานยนต์ขนาดใหญ่จำนวนมาก ค่าใช้จ่ายประมาณวันละ 1 แสนบาท ดังนั้นกองทัพและกำลังพลจึงเร่งทำงานในส่วนที่เกินกำลังพื้นที่ และในเดือนหน้าจะเป็นช่วยการเปลี่ยนผลัด ที่กองทัพต้องเตรียมการตามภาระหน้าที่ และในการถอนกำลังครั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลถอนการสนับสนุน เพราะหลังจากนี้กระทรวงมหาดไทยและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.จะเข้ามาดูแล

พล.อ.ณัฐพลกล่าวว่า สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาระยะยาวในการป้องกันน้ำท่วมเป็นเรื่องของการขุดลอกแม่น้ำสายที่ตื้นเขินมาก แม้บางช่วงปริมาณน้ำไม่มากก็ทำให้ท่วมได้ และการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำขณะนี้อยู่ในระหว่างการหารือและการเตรียมการ ซึ่งการดำเนินการในแม่น้ำสายต้องมีการพูดคุยกับฝั่งเมียนมา ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) และคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) กำลังหารือในการรับมือไม่ให้ท่วมซ้ำในปีหน้า โดยมีการหารือแนวคิดเรื่องการย้ายเมือง หรือวิธีการต่าง ๆ รับมือให้ทันในปีหน้า

“ในการเรื่องการเจรจากับทางเมียนมาคิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร มีความมั่นใจเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากทั้งสองฝั่งต่างประสบภัยพิบัติจากอุทกภัยเช่นเดียวกัน”รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าว

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามชาวบ้านที่มีที่พักอาศัยอยู่ติดแม่น้ำสายถึงกรณีที่จะมีแนวคิดจะเวนคืนพื้นที่ติดแม่น้ำสาย ที่ต้องเร่งรื้อถอนให้ทันฤดูน้ำหลาก นายสมศักดิ์ อินโยง ชาวบ้านเกาะทราย กล่าวว่า เอาตามความเห็นของคนส่วนมากหรือจะทำให้มันแข็งแรงได้มาตรฐานที่ได้รับการรองว่ารับน้ำได้ ชาวบ้านก็ยังอยู่ได้เหมือนเดิม

“เรื่องค่าเวนคืนจะตกลงกันได้ลงตัวหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายจะยอมกันมั้ย ปัญหาจะต่อรองกันอย่างไร จะใช้เวลานานไปหรือไม่ เพราะคิดว่าเวนคืนต้องใช้เวลาอีกนาน”นายสมศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ชาวบ้านเกาะทรายอีกคนหนึ่งบริเวณซอยต้นโพธิ์ กล่าวว่า หากรัฐจะเวนคืนเป็นเรื่องดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะยอมหรือไม่ เพราะที่นี่น้ำท่วมทุกปี แต่ปีนี้รุนแรงมาก เจอน้ำท่วมครั้งนี้รู้สึกเข็ด ตอนนี้ถ้ารู้ว่าจะเวนคืนจะได้ไม่ต้องทำอะไร เพราะตอนนี้กำลังขนดินออกและจะทาสีใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ต่างทราบว่าดินนี้น่าจะมาจากเหมืองทองด้วย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเป็นตะกอนจากชั้นหินแกรนิตที่อยู่ไกลประมาณ 20-30 กม. ที่หากผสมกับโคลนก็จะทำให้แข็งตัวเร็ว อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างการตรวจสอบแบบละเอียดของตะกอน โดยในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์พบว่าลำน้ำสายมีตะกอนขาวขุ่นตกตะกอนยากที่มีข้อสงสัยว่าตะกอนดินเหล่านี้มาจากเหมืองทองที่ทำแบบเปิดหน้าดิน ที่หน่วยงานกำลังอยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบเพื่อหาทางรับมือทั้งในฤดูแล้ง และฤดูน้ำหลาก

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย น.ส.จ๋ามตอง ผู้แทนมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ ได้กล่าวในเวทีเสวนาทางวิชาการ 3 ทศวรรษของการพัฒนายุคใหม่ของแม่น้ำโขงบนบทเรียนของประชาชนและชุมชนในการปกป้องสิทธิของแม่น้ำ ว่าในพื้นที่รัฐฉานมีการสู้รบ 2 กลุ่มติดอาวุธติดชายจีนและกลุ่มทางใต้ที่ติดชายแดนไทย ส่งผลกระทบตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงตะวันออกของแม่น้ำสาละวินรวมถึงพื้นที่ที่ติดชายแดนจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน โดยในปี 1999 ทหารว้าได้นำประชากร 1.26 แสนคนจากชายแดนจีนมาอยู่ทางใต้ โดยประชาชนที่เป็นลาหู่ได้ถูกขับไล่ออกไปซึ่งจำนวนหนึ่งได้เข้าอยู่ไทย

น.ส.จ๋ามตองกล่าวว่า หลังมีการรัฐประหารในพม่า รัฐบาลทหารได้ให้สัมปทานกลุ่มต่าง ๆ ในรัฐฉานทั้งภาคเหนือ ใต้ ตะวันออก โดยตะวันออกมีแร่แรเอิร์ธ แมงกานีส ส่วนทางใต้เป็นแหล่งถ่านหินซึ่งเป็นบริษัทจากจีนที่เข้ามาดำเนินการเป็นหลัก มีบ้างเป็นของนักลงทุนชาวออสเตรเลีย รัสเซีย อิตาลี

ภาพจากแฟ้มภาพ

“ภาคตะวันออกของรัฐฉาน มีแม่น้ำกกไหลเข้าประเทศไทยบ้านท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และยังมีแม่น้ำน้ำสาย แม่น้ำรวก แต่มีการทำเหมืองแร่บริเวณต้นน้ำ เริ่มแรกเป็นของทหารพม่าที่มาตั้งฐานเมื่อปี 2007 เป็นเหมืองถ่านหิน ขณะนั้นมีแผนนำถ่านหินเข้าไทยผ่านเชียงราย แต่มีการคัดค้าน จึงยกเลิกโครงการนี้ แต่ปี 2019 มีการแจ้งว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทาน ได้เปลี่ยนแผน ไม่ใช้เส้นทางเดิมแล้ว แต่ปี 2020 เกิดโควิด”น.ส.จ๋ามตอง กล่าว

ผู้ประสานงานมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่กล่าวว่า ต่อมาบริษัทเอกชนของจีนได้ทำเหมืองกขุดทองที่ต้นน้ำสายจนถึงทุกวันนี้ทำให้เราเห็นได้ชัดถึงเสียหายกว้าง ส่งผลกระทบแม่น้ำสาย ภาวะปนเปื้อน แถมยังมีสัมปทานเหมืองแมงกานีส พื้นที่ขุดกว้างมาก จาก 100 กว่าบริษัท แต่ขอสัมปทานแบบถูกต้องเพียง 20 กว่าแห่ง บริษัท หงปังของว้าได้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อปี 2546

On Key

Related Posts

จี้รัฐทำแผนรับมือน้ำท่วมเชียงรายหลังพบเหมืองทองต้นน้ำกก นักวิชาการหวั่นซ้ำรอยปีที่แล้ว แนะรัฐเจรจากับพม่า-กองกำลังชาติพันธุ์-เร่งตรวจสารปนเปื้อนและเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 นายสืบสกุล กิจนุกร อาจาRead More →

หวั่นภาพพจน์การท่องเที่ยวเมืองภูเก็ตติดลบ หลังพบใช้แรงงานข้ามชาติอื้อแต่คุณภาพชีวิตย่ำแย่-เด็กนักเรียนกว่า 300 คนเสี่ยงหลุดจากระบบหลังสถานศึกษาถูกปิด

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ด้านนายฐิติกันต์ ฐิติพฤRead More →