สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ชาวปากบาราตบหน้ากรมเจ้าท่า ไม่ร่วมเป็นคณะทำงานชวนเชื่อ ย้ำชัดไม่เอาท่าเทียบเรือ

11025303_875811335795486_1166220737_o

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 2 มีนาคม ตัวแทนชาวบ้านเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายเดชรัฐ สัมสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแสดงความจำนงไม่เข้าร่วมเป็นคณะทำงานแก้ปัญหาการคัดค้านโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา โดยในหนังสือระบุว่า ตามที่กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการคัดค้านโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล โดยมีอธิบดีกรมเจ้าท่าเองเป็นประธานคณะทำงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นที่ปรึกษาและได้กำหนดแนวทางการทำงานว่า ให้คณะทำงานดำเนินการเพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการในทางบวกที่มีมากกว่าด้านลบให้แล้วเสร็จ ใน 6 เดือน พร้อมกันนั้น ได้แต่งตั้งให้ผู้แทนเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เป็นผู้ทำงานร่วมด้วย ความละเอียดทราบแล้วนั้น

เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ขอเรียนว่า โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา มีผลลบมากกว่าด้านบวก ไม่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดสตูล หรือพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ จึงได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลที่จะตัดสินใจอนุมัติ/ไม่อนุมัติโครงการ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาก่อนหน้านี้มาอย่างต่อเนื่องแล้ว และมีกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่างๆของรัฐในการดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ร่วมกับประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สรุปได้ดังนี้

1.โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราเข้าข่าย 1 ใน 11 ประเภทโครงการ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรอย่างรุนแรง ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามกำหนดพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมฯโดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน และกรมเจ้าท่ายังไม่ดำเนินการ

2. รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) เดิม ก็ยังขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง, กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน, และมาตรการแก้ไขผลกระทบไม่ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้านของโครงการ

3. มีการค้นพบข้อเท็จจริงในพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่ตั้งและบริเวณใกล้เคียงโครงการฯพบว่ามีแหล่งทรัพยากรธรณี (ฟอสซิล) ที่ล้ำค่าเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องค้นพบใหม่ และการเสนอพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นมรดกโลก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สตูลและจังหวัดภาคใต้ในทิศทางใหม่

4. รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) และรายงานสำรวจออกแบบ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล เดิม ได้ระบุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่จะต้องดำเนินการภายในจังหวัดสตูล อ้างความเกี่ยวเนื่อง เพื่อจะได้อ้างความจำเป็นในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราขึ้นมารองรับ ทั้งที่การชี้แจงของหน่วยงานที่รับผิดชอบต่างๆยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรหรือไม่

ในหนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแล้ว โดยมีสาระสำคัญหนึ่ง คือ ให้มีการทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ใหม่ทั้งระบบ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมเจ้าท่าจึงควรยุติบทบาทไว้ก่อนโดยทันที

นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการตรวจสอบธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ วุฒิสภา มีนาคม 2557 ได้สรุปชัดเจนว่า กรมเจ้าท่ายังไม่ดำเนินตามระเบียบกฎหมายหลายกรณี, การเสนอโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ของกรมเจ้าท่าได้สร้างความขัดแย้งขึ้นในหลายระดับทั้งระดับนโยบายและพื้นที่ และที่สำคัญโครงการนี้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่เพราะอยู่ในเขตมรดกของชาติ รายละเอียดตามเอกสารที่อ้าง

“ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จะเห็นว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ได้ถูกดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเหลือขั้นตอนที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจทางนโยบายว่าหากจะดำเนินการ โครงการฯ จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือจะต้องดำเนินการตัดสินใจแนวทางการพัฒนาภาคใต้ใหม่ทั้งระบบ ยังไม่ใช่ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้ประชาชนสนับสนุนโครงการ ดังนั้นการที่กรมเจ้าท่าได้ตั้งคณะทำงานฯ มีหน้าที่ดำเนินการให้ประชาชนเห็นผลบวกของโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารามากกว่าด้านลบ ย่อมเป็นกระบวนการทำงานที่ไม่ชอบธรรมและไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้” ในหนังสือดังกล่าวระบุ

ในหนังสือระบุในตอนท้ายว่า อย่างไรก็ตาม เครือข่ายประชาชนฯ เห็นว่า ศักยภาพและปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม ของจังหวัดสตูล รวมทั้งภาคใต้ในปัจจุบัน รัฐสามารถสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาพื้นที่ในด้านอื่นๆ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ยั่งยืน โดยอิงการพัฒนาเศรษฐกิจหลัก 3 ขา ได้แก่ การท่องเที่ยว การประมง และ การเกษตร

//////////////////////////

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →