Search

พระสงฆ์-สส.-ชาวบ้านมอญในพม่าร่วมต้านโรงงานไฟฟ้าถ่านหินในเครือปูนใหญ่ หวั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม MLC บริษัทลูกSCG แจงมาตรฐานสูงลิ่ว ระบุทำอีไอเอเป็นเจ้าแรกในเมืองหม่อง

ภาพจาก facebook Naiaung Naing
ภาพจาก facebook Naiaung Naing

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ภายหลังจากที่สื่อมวลชนพม่าได้นำเสนอข่าวที่พระสงฆ์ ชาวบ้านและส.ส.ในรัฐมอญ ออกมาต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงปูนซีเมต์ของบริษัท Mawlamyine Cement Limited (MCL) ที่เป็นบริษัทลูกของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)หรือ SCG ล่าสุดทางMLC ได้จัดทำเอกสารข่าวชี้แจงโดยระบุว่าMCL เป็นโรงงานปูนซีเมนต์ที่ให้ความสําคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีมาตรฐานโลก มีการเปิดเผยข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ในคำชี้แจงระบุว่า MCL เป็นโรงงานประเภท Integrated Cement Plant ประกอบด้วยโรงงานปูนซีเมนต์และโรงงานผลิตไฟฟ้ าขนาดเล็ก เพื่อใช้เองในโรงงาน (Self-use) โดยมีโรงงานผลิตไฟฟ้ า (Electricity Utility) เป็นพลังงานจากถ่านหินและชีวมวล 40 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งหน่วยผลิตไฟฟ้าจากลมร้อนเหลือทิ้ง (Waste Heat Generator) 9 เมกะวัตต์ ที่ช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทาง ทั้งนี้ MCL ได้มีการนําเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ดําเนินการโดย Resource and Environment Myanmar ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนําของประเทศเมียนมา และได้รับการอนุมัติอย่างเป็น ทางการจาก Myanmar Investment Commission เมื่อปี 2013 นับเป็นผู้ผลิตรายแรกในเมียนมาที่ทํา EIA

ในคำชี้แจงของMCL ระบุด้วยว่าถ่านหิน ยังคงเป็นวัตถุดิบพลังงานที่มีความจําเป็นในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตที่ทั่วโลกยอมรับ และใช้กันอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม MCL เลือกใช้ถ่านหินคุณภาพสูงที่มี ซัลเฟอร์ต่ำ มีการควบคุมระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมาย และกระบวนการผลิตมีการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมและลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์( SO2) ก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์(NOX) และฝุ่น ที่ให้ ค่า Emission ต่ำมาก ผ่านเกณฑ์กําหนดของค่ามาตรฐานระดับโลก โดยอ้างอิงจากทั้งมาตรฐาน EU และมาตรฐาน ไทย เนื่องจากทางเมียนมายังไม่มีการกําหนดมาตรฐาน สําหรับกองเก็บ จะไม่มีการโดนน้ำอย่างแน่นอน เพราะปรับยกระดับให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดที่เคยมีน้ำท่วม ในหน้าฝนตามสถิติในรอบหลายปี และจัดทําโรงเก็บชนิดมีหลังคาคลุมพร้ อมระบบระบายน้ำที่เป็นระบบปิดในพื้นที่ของโรงงาน

ในคำชี้แจงยังระบุว่า เพื่อให้มั่นใจในการบริหารจัดการในภาพรวม MCL ได้แจ้งความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างให้กับพนักงาน ผู้เกี่ยวข้อง และชุมชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การ จัดกิจกรรมการพาผู้นําชุมชนในพื้นที่ อาทิ ข้าราชการ ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ มาชมโรงงานปูนซีเมนต์และโรงงาน ไฟฟ้าในประเทศไทย และในปี 2015 ได้จัดงาน Open House เปิดโรงงานต้อนรับชุมชนเยี่ยมชม จํานวน 4 ครั้ง พร้อมให้ข้อมูลเรื่องหน่วยงานผลิตไฟฟ้าในโรงงานและการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม จํานวนรวม 150 คน ซึ่งได้สร้าง ความเข้าใจกับชุมชนเป็นอย่างดี และได้จัดบรรยายให้กับพนักงานของบริษัทฯ จํานวนกว่า 200 คน เพื่อให้ความรู้ และเกิดความเข้าใจใน เรื่องดังกล่าวครบทุกคน ขณะนี้ MCL อยู่ในระหว่างการดําเนินการก่อสร้างโรงงาน มีความตั้งใจจริงที่จะดําเนินงานด้วยความปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะสื่อสารให้ข้อมูลกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และยินดีรับฟังทุก ความคิดเห็น เพื่อนํามาปรับปรุงระบบการจัดการของโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเกื้อกูล

ทั้งนี้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักข่าวอิรวดีรายงานว่าพระนาย เกตธรา พระสงฆ์ชาวมอญ ผู้นำกลุ่มอนุรักษ์ในรัฐมอญ ประเทศพม่า เปิดเผยว่าขณะนี้ประชาชนชาวรัฐมอญกำลังมีปฏิกริยาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินของโรงปูนของบริษัท MCL ซึ่งเป็นของบริษัทลูกของปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ขนาด 20 เมกกะวัตต์ ที่กำลังก่อสร้างที่ริมแม่น้ำซามี ในเขตไจก์มารอ รัฐมอญ โดยขณะนี้กลุ่มชาวมอญต้องการตรวจสอบว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้จะสร้างอันตรายต่อประชาชนหรือไม่

“บริษัทไม่บอกชาวบ้านเลยว่าจะสร้าง รู้อีกทีก็สร้างแล้ว ขนาดคนงานในโรงงานยังไม่รู้เลยว่ามีโรงไฟฟ้าด้วย หากบริษัทต้องการยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะไม่สร้าง อันตรายต่อสุขภาพชาวบ้านก็ต้องมีหลักฐาน ขณะนี้กลุ่มอนุรักษ์ได้จัดประชุมกับชาวบ้านรอบๆ โรงไฟฟ้าและมีชาวบ้านมาร่วมนับร้อยคน”พระนาย เกตธรา กล่าว

ขณะที่นายอองนายอู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวมอญคนเดียวของสภาพม่ากล่าวว่าบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพียงแต่แจ้งหน่วยงานว่าต้องการสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ แต่ไม่ได้ระบุว่าจะมีโรงไฟฟ้าด้วย แม้กระทั่งในสภาก็ยังไม่ได้รับการแจ้งแต่อย่างใด โดยตนจะตรวจสอบข้อมูลเรื่องนี้ต่อไป

ทั้งนี้แม่น้ำซามี เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอัตทะรัน ซึ่งไหลลงสู่ปากน้ำเดียวกับแม่น้ำสาละวิน สู่อ่าวเมาะตะมะ

On Key

Related Posts

7 ชุมชมลุ่มน้ำกกจับมืออุทกวิทยา-ปภ.-เครือข่ายค.อ.ก. “คิกออฟ”ระบบเตือนภัยน้ำท่วม-พระอาจารย์มหานิคมเผยป่าต้นน้ำถูกทำลาย-ทำเหมืองทอง เป็นเหตุน้ำเชี่ยวโคลนถล่ม แนะรัฐเร่งเจรจา

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลแRead More →

สส.ปชน.เชียงรายจี้รัฐบาลสร้างระบบเตือนภัยแม่น้ำกก-แนะเร่งถอดบทเรียน 6 เดือนภัยพิบัติ คนขับเรือลำบากหลังนักท่องเที่ยวลดฮวบ ผวจ.เชียงรายเตรียมตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาคุณภาพน้ำข้ามแดน

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สRead More →

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →