นาย
ด้านชาวบ้านที่ต้องอพยพออกจากหมู่บ้านของตนเพราะโครงการเขื่อนมิตส่งกล่าวว่า หากรัฐบาลจีนพยายามที่กดดันรัฐบาลใหม่พม่า เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนออกมาประท้วง และชาวบ้านยังเชื่อว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่ทำในสิ่งที่ประชาชนคัดค้านไม่เห็นด้วย “ผมอยากให้มิตส่งเป็นไปตามวิถีทางของมัน” เขากล่าว
ด้านนายตะเว ต้านซิน จากเครือข่ายสีเขียวพม่า (Myanmar Green Network) กล่าวแสดงความกังวลว่า มีหลายโครงการที่รัฐบาลชุดเต็งเส่งได้ลงนามไปแล้ว ซึ่งเขาเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ออกมาชี้แจงต่อประชาชนว่ารัฐบาลเก่าได้ทำอะไรไปบ้าง และมีเรื่องไหนที่ไม่ควรทำต่อ ระบุ หากมองย้อนไปในอดีต ปัญหาการจลาจลระหว่างจีนและพม่าอาจมาจากปัญหาเล็กๆ แต่ในปัจจุบันนี้มาจากปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้นหากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถจัดการปัญหาอย่างถูกต้องได้ ก็จะทำให้มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นได้
ด้านโฆษกของพรรค NLD ให้สัมภาษณ์ว่า ทางรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะขึ้นมาบริหารประเทศในเร็วๆ นี้ จะไม่พิจารณาที่จะกลับมาสร้างเขื่อนมิตส่งอย่างแน่นอนหากกระทบกับประชาชนท้องถิ่น ซึ่งโครงการนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในพม่า
อย่างไรก็ตาม นายวินเมียวทุ นักสิ่งแวดล้อมพม่า แสดงความเห็นว่า หากรัฐบาลใหม่ระบุว่าจะทำตามสิ่งที่ประชาชนต้องการ จึงจำเป็นจะต้องมีหลักการ โดยหากโครงการมีการยกเลิกไปก็จะต้องมีการจ่ายเงินชดเชย
ที่ผ่านมา นักสิ่งแวดล้อมพม่ายังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดเต็งเส่งว่า ล้มเหลวในการให้คำปรึกษาแก่ประชาชน หรือพิจารณาศึกษาในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและด้านสุขภาพ รวมทั้งไม่มีการหารือกับชาวบ้าน และโครงการเขื่อนมิตส่งยังไม่มีความโปร่งใส โดยหากโครงการเขื่อนแห่งนี้ยังเดินหน้าต่อ จะเป็นการทำลายประวัติศาสตร์อันยาวนานของแม่น้ำอิรวดี วัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ
ทั้งนี้ พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนมิตส่งอยู่บริเวณต้นนำอิรวดี จุดที่มีแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำเมขะและแม่น้ำมาลิขะไหลมารวมกัน โครงการเขื่อนมิตส่งถูกยกเลิกไปในปี 2554 ในยุครัฐบาลเต็งเส่ง หลังถูกต่อต้านอย่างหนักจากภาคประชาชน
ที่มา MITV/Eleven Media Group
แปลโดย สำนักข่าวชายขอบ : Transbroder News