Search

เครือข่ายค้านเหมืองแร่จี้รบ.ถอนร่างพรบ.พ้นสนช. -ยุติต่อสัมปทาน แม่เฒ่าเมืองจันทร์ร่วมหนุน ลั่นรัฐบาลควรปกป้องประชาชน

received_1265120610197888
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ สำนักนายกรัฐมนตรี เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่กว่า30 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2559 เรื่องการรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการทำเมืองแร่ของบริษัท อัครา รีสอร์เซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีการยกเลิกไป หลังจากประกาศให้ปิดเหมืองทองอัคราฯ ว่าขณะนี้รัฐบาลจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรบ้าง และยื่นหนังสือขอให้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติ (พรบ.)แร่ พ.ศ…ฉบับคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ ออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างเร่งด่วน โดยมีผู้แทนหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียน

received_1265120710197878q

สำหรับการเข้ามายื่นเรื่องร้องเรียนครั้งนี้ ชาวบ้านได้ถือป้ายคัดค้านการให้สัมปทานเหมือง และร่วมมอบดอกไม้ให้กำลังใจเครือข่ายต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ที่มีการนั่งภาวนาหน้าสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ซึ่งดำเนินการมาได้ 7 วัน แล้ว

ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีระบุว่า ตามที่รัฐบาลชุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ของบริษัทอัครา รีสอร์ทเซส จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 และมีการประกาศยกเลิกไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 นั้น ล่าสุดได้มีการรายงานข่าวในสื่อสาธารณะเกี่ยวกับการที่บริษัทฯ กำลังยื่นเรื่องขอต่อใบอนุญาตโลหะกรรมก่อนถูกปิดสิ้นปี 2559 นี้และข่าวเกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังพิจารณาข้อกฎหมายตามอำนาจและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแร่ว่าจะสามารถปิดเหมืองแร่ทองคำของบริษัทได้หรือไม่นั้น บัดนี้ใกล้ถึงเวลาสิ้นปี 2559 แล้ว ตามที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ซึ่งติดตามปัญหาและผลกระทบจากการดำเนินกิจการเมืองแร่ทั่วประเทศ ขอยื่นข้อเสนอดังนี้

1 ขอให้ดำเนินการเพื่อยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำซึ่งปัจจุบันมีคำขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำจาก 12 บริษัทครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัดได้แก่เพชรบูรณ์ พิจิตร จันทบุรี ระยอง พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี สระแก้ว นครสวรรค์และสตูลจำนวน 177 แปลง พื้นที่ประมาณ 1,539,644 ไร่ อย่างเร่งด่วน

2 ขอให้ดำเนินการเพื่อยุตติการอนุญาตประทานบัตรทำเมืองแร่ทองคำซึ่งปัจจุบันมีคำขอประทานบัตรทำเมืองแร่ทองคำเพียงบริษัทเดียวคือบริษัททุ่งคำจำกัดที่จังหวัดเลย จำนวน 107 แปลงพื้นที่ประมาณ 28,780 ไร่ อย่างเร่งด่วนและโดยไม่มีเงื่อนไขในทางที่เป็นประโยชน์แก่เอกชน

3 ขอให้ดำเนินการเพื่อยุติการอนุญาตคำขอต่ออายุประทานบัตรซึ่งปัจจุบันมีคำขอต่ออายุประทานบัตรทำเมืองแร่ทองคำเพียงบริษัทเดียวคือบริษัทอัครารีสอร์ทเซสจำกัดมหาชนที่จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนหนึ่งแปลงพื้นที่ 93 ไร่อย่างเร่งด่วนและโดยไม่มีเงื่อนไขในทางที่เป็นประโยชน์แก่เอกชน

4ในกรณีของ บริษัทอัคราฯ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพนักงานและเพื่อเตรียมการเลิกประกอบกิจการตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติตามอ้างถึงที่เห็นควรให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมไปจนถึงสิ้นปี 2559 เพื่อให้สามารถนำแร่ที่เหลืออยู่ไปใช้ประโยชน์ได้พร้อมทั้งให้บริษัทเร่งดำเนินการปิดเมืองและฟื้นฟูที่ที่ผ่านการทำเมืองให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาตนั้นขอให้ดำเนินการปิดเมืองแร่ทองคำและโรงประกอบกรรมของบริษัทภายในสิ้นปี 2559 โดยไม่มีเงื่อนไข

5 ในกรณีที่มติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประชาชนและบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังสิ้นสุดการประกอบกิจการเมืองแร่และโลหะกรรมของบริษัทโดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำกับดูแลการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่ ส่วนกระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและกระทรวงรายงานดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการขอทราบความคืบหน้าไปได้ดำเนินการเรื่องนี้ไปอย่างไรแล้วบ้าง

สำหรับประเด็นการยื่นขอเสนอถอน พรบ.แร่ พศ…นั้น เครือข่ายฯ เห็นว่าการที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการเสนอพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ… ฉบับแก้ไขใหม่ทั้งฉบับเพื่อตราเป็นกฎหมายให้ใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ที่ยังใช้บังคับอยู่ในขณะนี้บทบัญญัติในมาตราที่เป็นไปในทางเปิดโอกาสให้สามารถทำลายพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนท้องถิ่นได้ในระดับที่รุนแรงมากขึ้น อาทิ บทบัญญัติในมาตรา 13 ที่สามารถนำแหล่งแร่มาประกาศให้มีการประมูลเพื่อได้สิทธิ์ในการสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมต่อประเทศไทยที่พื้นที่ส่วนใหญ่มีชุมชนท้องถิ่นกระจายตัวกันอยู่ทั่วไปและมีความหนาแน่นไม่ใช่พื้นที่ห่างไกลผู้คนบทบัญญัติมาตรา 132 ที่บัญญัติให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่หรือก็พอรอซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐสามารถนำพื้นที่แหล่งแร่ใดยื่นคำขอประทานบัตรและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอแทนเอกชนที่สามารถขอประมูลสัมปทานเมืองแร่ได้ภายหลัง นำมาซึ่งหลายคำถามไม่ว่าจะเป็นการตัดมาตรการถ่วงดุลออกไปผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่อนุมัติอนุอนุญาตสัมปทานการทำลายหลักประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1 ในการดำเนินการขอประทานบัตรที่มีขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้องหลายขั้นตอนเช่นการทำหนังสือคัดค้านขอประทานบัตรของประชาชนการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อคัดค้านการดำเนินการขอประทานบัตรการคัดค้านกับการขอใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์และสาธารณะสมบัติของประชาชนเป็นต้นที่ก็พอรอจะต้องเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองมีความเห็นและนำเสนอเรื่องขึ้นไปให้หน่วยงานต่างๆและตามขั้นตอนต่างๆเพื่อพิจารณาจะแน่ใจได้อย่างไรว่ากอพอรอในฐานะที่เป็นหน่วยงานต้องทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองการขอประทานบัตรแต่ต้องมาขอประทานบัตรเสียเอง ที่ของตัวเองโดยทำความเห็นที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงจากที่ได้รับมาจากประชาชน

2 เมื่อเปิดโอกาสให้กพร.สามารถนำพื้นที่แหล่งแร่ มาขอประทานบัตรและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอเสียเองปัญหาที่ต้องถกเถียงตามมาก็คืออีไอเอที่ กพร. เสนอมาเป็นอีไอเอของโครงการรัฐหรืออีไอเอของโครงการเอกชนเพราะอีไอเอทั้งสองแบบมีกระบวนการและขั้นตอนพิจารณารายงานที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่สั้นยาวไม่เหมือนกันและทั้งในเรื่องของรูปแบบและวิธีการในการพิจารณา

3 เมื่ออีไอเอที่กพร. จัดทำได้รับความเห็นชอบแล้วและอยู่ระหว่างการนำพื้นที่แหล่งแร่ที่ได้รับเห็นชอบอีไอเอแล้วออกประมูลหากยังไม่สามารถหาผู้ได้รับประมูลมาเป็นเวลาเนิ่นนานหลายปีอีไอเอนั้นจะมีอายุใครหรือไม่

4 คุณสมบัติของผู้ประกอบการไม่ยึดโยงกับการจัดทำอีไอเอเนื่องจากการจัดทัพอีเอในลักษณะนี้โดยให้ กพร. นำพื้นที่แหล่งแร่ที่คัดเลือกไปทำอีไอเอ ด้วยตนเองเป็นการไม่ยึดโยงกับคุณสมบัติของผู้ประกอบการเนื่องจากผู้จัดทำอีไอเอไม่ได้เป็นผู้ประกอบการทำเสียเองแต่ขายอีเอและประทานบัตรให้กับผู้ประกอบการทำเหมืองแร่เสียเองแต่ขายอีไอเอและประธานบัตรไปให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือยึดโยงใดใดเลยกับการจัดชัดอีเอมาตั้งแต่ต้นเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่จึงขอให้เพิกถอนร่าง พรบ.แร่ พ.ศ. ฉบับคณะรัฐมนตรีชุดที่มีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร่งด่วน

นางหลินจง วงษ์กล้าหาญ ตัวแทนชาวบ้านจากจังหวัดจันทบุรี อายุ 71 ปี กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นการสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ การสร้างโรงไฟฟ้า หรือการทำอะไรที่ทำลายธรรมชาติ ถือเป็นการกดขี่ประชาชนทั้งสิ้น และรัฐบาลที่มาบริหารประเทศนั้น เป็นรัฐบาลที่ควรปกป้องประชาชน ปกป้องแหล่งอาหาร ปกป้องทรัพยากร ไม่ใช่มาหากินกับการเปิดสัมปทาน
//////////////////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →