Search

ฟ้องหน่วยงานรัฐละเว้นทําหน้าที่ ชาวบ้านริมโขงร้องศาลปกครอง- ปล่อยลาวจับมือจีนสร้างเขื่อนเฉียดพรมแดนด่านจังหวัดเชียงราย เชื่อผลกระทบข้ามมาถึงไทยอื้อ

บรรยายภาพแก่งหินที่โชว์ว่า ภาพแก่งหินสวยงามบริเวณดอนเทศซึ่งอยู่ในบริเวณก่อสร้างเขื่อนปากแบง

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 นายจีระศักดิ์ อินทะยศ ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของเปิดเผยว่าในวันที่ 8 มิถุนายนนี้กลุ่มรักษ์เชียงของและเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มนํ้าโขงจะยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐไทยที่เกี่ยวข้องกับกรณีผลกระทบข้ามพรมแดนจากโครงการเขื่อนปากแบง ซึ่งจะก่อสร้างกั้นแม่นํ้าโขง ในแขวงอุดมไซ สปป.ลาว แต่อยู่ห่างจากชายแดนไทยด่านจังหวัดเชียงรายเพียงประมาณ 100 เมตร โดยจะเป็นเขื่อนที่ 3 ที่กั้นแม่นํ้าโขงตอนล่าง (ถัดจากเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง)

นายจีระศักดิ์กล่าวว่า การฟ้องศาลต่อกรณีดังกล่าวเป็นอีกทางเลือกช่วยให้ชาวบ้านได้ต่อสู้เพื่อปกป้องนํ้าโขง เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเขื่อนปากแบง ไม่มีความชัดเจนในหลายอย่าง บางครั้งพบว่าข้อมูลเก่า ไม่มีความตรงกับปัจจุบันและบางเรื่องไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสถานการณ์ เช่น เรื่องวิจัยพันธุ์ปลาพบว่า ยังใช้ข้อมูลเก่ามาอ้างอิงเสมอ ไม่มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลใหม่และศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นนํ้าโขงในจีนเลยแม้แต่ครั้งเดียว การจัดเวทีนําเสนอแค่ด้านเทคนิคเท่านั้น ไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุน ชาวบ้านหลายภาคส่วนจึงกังวลว่า การเดินหน้าสร้างเขื่อนปากแบง และการลงนามซื้อขายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะเป็นไปในทางที่ไม่โปร่งใส

ถนนจากสะพานคกแคนไปบ้านปากเงย จนถึงบริเวณสร้างเขื่อนปากแบง

“เรื่องรายงานของปลา เรื่องการประมงนั้นหน่วยงานรัฐพูดถึงกันน้อยมาก ในการประชุมที่อําเภอเวียงแก่นนั้นไม่มีการนําเสนอที่ชัดเจน เรื่องเหล่านี้นักวิชาการประมงให้ข้อมูลน้อยมากเราคิดว่ายังไม่พอในการตัดสินใจสร้าง หรือทําสัญญาซื้อขายไฟและคิดว่าไม่คุ้มค่าแน่นอน” นายจีระศักดิ์ กล่าว

นายจีระศักดิ์ กล่าวด้วยว่าช่วงที่ผ่านมา 2เดือน ได้ไปลงพื้นที่ใน สปป.ลาว 2 ครั้ง พบว่าบริเวณหัวเขื่อนนั้นมีความคืบหน้าในการสร้างถนนเชื่อมต่อเพื่ออํานวยความสะดวกแล้ว โดยเฉพาะจากปากเงยถึงดอนเทด ถนนแถวนั้นพบว่าเทคอนกรีตแล้ว และบางเส้นทางนั้นสร้างสะพาน สร้างถนน และตลอดระยะทางนั้นมีการขุดทรายหลายพื้นที่จากแม่นํ้าโขงเพื่อทําการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในบริเวณเขื่อน ที่น่าสังเกตคือ เมื่อสองวันที่แล้วชาวบ้าน และสื่อมวลชนลงพื้นที่สํารวจบริเวณที่จะสร้างเขื่อนปากแบงพบว่า มีสะพานเชื่อมกันระหว่างพื้นที่สร้างเขื่อนปากแบงและโรงไฟฟ้าหงสา แขวงไซยะบุรีด้วยตรงนี้ทําให้มองได้ว่า สองโครงการนี้เชื่อมต่อกันและเป็นไปได้ว่า ไฟฟ้าจากเขื่อนอาจจะไม่เพียงพอ จึงต้องสร้างการเชื่อมโยงแบบนั้น ซึ่งทั้งสองโครงการต่างก็ไม่มีความโปร่งใสทั้งสิ้น

ด้านนายประชิต จันทร์เพ็ง ผู้ใหญ่บ้านปากอิง ตําบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ กล่าวว่า ประเทศไทยควรมีการศึกษาทบทวนผลกระทบจากเขื่อนตอนบนของแม่นํ้าโขงก่อน ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องรายได้จากอาชีพประมงเดิมทีบ้านปากอิงนั้นเคยหาปลาสร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 2,000-3,000 บาท และมีเรือประมงมากกว่า 70 ลํา ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 15 ลํา รายได้การทําประมงลดเหลือแค่ราววันละ 800 ชาวบ้านจึงต้องเร่งเดินหน้าอนุรักษ์พันธุ์ปลาและลดการล่าปลาตัวเล็ก

“อยากให้ทางการไทย ศึกษาอะไรให้แน่นอนกว่านี้ เพราะว่าหากสร้างมาแล้ว มันส่งความเสียหายเหมือนกับเขื่อนตอนบน เราก็อยากรู้ว่าเสียหายอะไรบ้าง เมื่อก่อนเราไม่ต้องกังวลเรื่องหาปลาแบบนี้นะ พี่น้องไทยลาว หาปลาด้วยกันได้สบายๆ แต่ตอนนี้มันยากขึ้น คนหาปลาแขวนเครื่องมือกันไปเยอะ” นายประชิต กล่าว

 

อนึ่งโครงการเขื่อนปากแบงกําลังอยูา่ในขั้นตอนการแจ้งและปรึกษาหารือล่วงหน้า PNPCA ตามในข้อตกลงแม่นํ้าโขง พศ.2538 ซึ่งจะครบกําหนดระยะเวลา 6 เดือน

วันที่ 19 มิถุนายนนี้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง (MRC) แห่งชาติ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ได้นําเสนอผลรายงานการวิเคราะห์ทางด้านเทคนิคต่อรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม และรายงานผลกระทบข้ามพรมแดนของเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าปากแบง ซึ่งมีการพิจาณาประเด็นสําคัญ ๆ 5 ด้านคือ ระบบนํ้าและการระบายตะกอน การประมงและทางปลาผ่าน ความปลอดภัยของเขื่อน การเดินเรือ และผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ จากการศึกษาผู้เชี่ยวชาญได้พบว่ารายงานจํานวน 20 เล่ม ที่บริษัทต้าถังส่งให้กับเอ็มอาร์ซี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 พบว่ามีข้อบกพร่องจํานวนมาก เช่น การประมงและปลา พบว่ามีการเก็บข้อมูลพันธุ์ปลาเพียง 2 ช่วงคือ ฤดูแล้ง เดือนมกราคม และฤดูฝน เดือนกรกฎาคม 2554 และมีจุดเก็บตัวอย่างของชนิดพันธุ์ปลาเพียง 6 จุดใกล้ๆ กับบริเวณก่อสร้างโครงการเขื่อนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเก็บตัวอย่างที่จํากัดและผลการศึกษาเรื่องชนิดพัน์ปลาที่พบนั้นน้อยกว่าข้อมูลของ MRC ที่เคยศึกษาไว้ และกรณีทางปลาผ่าน (Fish passage) ซึ่งออกแบบมาอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการอพยพของปลาได้ เป็นต้น

ขณะที่ประเทศไทยมีการจัดเวทีไปแล้ว 4 ครั้ง และพบว่าประชาชนประเทศไทยมีความกังวลเรื่องผลกระทบท้ายนํ้าจากโครงการเขื่อนปากแบงเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากมีการกั้นลํานํ้าโขงและยกระดับนํ้าขึ้นเพียง 50 เซนติเมตร -1 เมตร ก็จะทําให้เกิดผลกระทบแน่นอน ชาวบ้านเป็นกังวลว่านํ้าจะท่วมถึงไหน เขื่อนจะกักเก็บนํ้ามากเพียงใด เนื่องจากข้อมูลที่เผยแพร่ในเวทีนั้นน้อยมาก ทุกวันนี้ช่วงที่เขื่อนจีนปล่อยนํ้ามาในช่วงฤดูแล้งก็ทําให้เกิดปัญหานํ้าท่วมสูงแล้ว และถ้าหากมีการสร้างเขื่อนปากแบงขึ้น ชาวบ้านที่ จ.เชียงราย ก็เท่ากับอยู่ตรงกลางของ 2 เขื่อน ซึ่งหากเกิดความเสียหายขึ้นก็จะไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ