สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

รัฐบาลเตรียมสร้างรูปปั้นนายพลอองซาน บิดานางซูจี กลางเมืองหลวงรัฐคะเรนนี ด้านเยาวชนในพื้นที่ค้านเสียงแข็ง ย้ำไม่ใช่วีรบุรุษของคนชาติพันธุ์

ภาพ Irrawaddy

รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐคะเรนนียังคงผลักดันให้มีการสร้างรูปปั้นเหมือนขนาดใหญ่ของนายพลอองซานไว้ที่ใจกลางเมืองหลอยก่อ เมืองหลวงของรัฐคะเรนนี แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนัก ทั้งนี้ นายพลอองซานนั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ที่มีส่วนทำให้พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ และยังเป็นบิดาของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและหัวหน้าพรรค NLD ที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เสียงสะท้อนจากเยาวชนชาวคะเรนนีย้ำชัดไม่ต้องการรูปปั้นของนายพลอองซานสร้างในรัฐของตน เพราะไม่ใช่วีรบุรุษของชาวคะเรนนี

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา มีเยาวชนจำนวน 7 คน ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกไปยังรัฐบาลคะเรนนีให้ทบทวนและยุติสร้างรูปปั้นเหมือนของนายพลอองซาน หากไม่เช่นนั้นแล้ว ทางกลุ่มจะออกมาเคลื่อนไหวประท้วง อย่างไรก็ตาม ทางด้าน แอล พอง โช หัวหน้ารัฐมนตรีรัฐบาลประจำรัฐคะเรนนีกลับอ้างว่า รัฐต่างๆของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ต่างก็สร้างรูปปั้นของนายพลอองซาน ดังนั้นทางคณะรัฐบาลของเขาก็จะสร้างรูปปั้นนายพลอองซานด้วยเช่นกัน “นายพลอองซาน เป็นบิดาที่ทำให้ประเทศของเราได้รับเอกราช เราอยากให้คนกลุ่มชาติพันธุ์แสดงความเคารพต่อท่านและร่วมมือกับรัฐบาลในการสร้างรูปปั้นดังกล่าว”เขากล่าว โดยยังระบุเพิ่มเติมจะ ใช้งบประมาณในการสร้างประมาณ 80 ล้านจั้ต หรือประมาณ 1 ล้านกว่าบาท

ที่ผ่านมา นับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 2 ปีก่อน รัฐบาล NLD มีแผนที่จะสร้างรูปปั้นของนายพลอองซานไว้ในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์และในเขตต่างๆ เช่นตามเมืองหลัก ๆ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้นายพลอองซาน จะได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษของคนพม่า แต่ในมุมมองของคนกลุ่มชาติพันธุ์ พวกเขามีวีรบุรุษของตัวเองที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขา นั่นจึงเป็นเหตุให้คนกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ต้องการรูปปั้นของนายพลอองซาน ขณะที่ในจดหมายของเยาวชนชาวคะเรนนี ที่ส่งไปยังรัฐบาลท้องถิ่นได้ระบุว่า หากรัฐบาลยังดึงดันจะสร้างรูปปั้นต่อไป ทางกลุ่มจะเคลื่อนไหวออกมาประท้วง โดยระบุอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยให้สร้าง

รัฐคะเรนนีมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและเป็นรัฐที่มีเอกราชและยังมีอำนาจในการตัดสินใจ โดยได้รับการยอมรับจากอังกฤษในช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้อาณานิคม มีรายงานว่า นายพลอองซานเดินทางเยือนรัฐคะเรนนีแค่ครั้งเดียวในปี ค.ศ.1946 เพื่อมาขอให้ผู้นำคะเรนนีเข้าร่วมกับตนขอเอกราชจากอังกฤษ “เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะสร้างรูปปั้นนายพลอองซานในรัฐของเรา เพราะนายพลอองซานมาที่รัฐของเราแค่ครั้งเดียว” นายคูตูเร ประธานจากสหภาพเกษตรกรในรัฐคะเรนนี กล่าว โดยเขายังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรัฐคะเรนนีว่า ไม่ฟังเสียงของประชาชนท้องถิ่น ฟังแต่เสียงผู้นำคนใหญ่คนโตเท่านั้น

มีรายงานด้วยว่า ขณะนี้กลุ่มเยาวชนคะเรนนีได้เริ่มล่ารายชื่อประชาชนเพื่อคัดค้านการสร้างรูปปั้นดังกล่าว และมีแผนจะออกมาประท้วงในเร็วๆนี้ แม้ก่อนหน้านี้จะระบุในจดหมายว่าจะรอดูท่าทีจากรัฐบาลก่อนก็ตาม “มีผู้นำในประวัติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักในรัฐคะเรนนีของเรา แต่รัฐบาลกลับสร้างรูปปั้นของนายพลอองซาน แทนผู้นำเหล่านั้น “ในจดหมายเปิดผนึกของกลุ่มสหภาพเยาวชนรัฐคะเรนนี(Union of Karenni State Youth)ระบุ “เรากังวลว่า รูปปั้นดังกล่าวจะเติมเชื้อไฟความตึงเครียดในหมู่คนท้องถิ่น เมื่อเราพูดถึงสหพันธรัฐ นั่นหมายถึงความเสมอภาคเท่าเทียม ดังนั้นอันดับแรก เราต้องสร้างรูปปั้นผู้นำชาติพันธุ์ที่เป็นที่เคารพเสียก่อน และรูปปั้นของนายพลอองซานจะต้องมาอันดับสอง” คุนบาเอ็น ผู้นำจากกลุ่มเยาวชนคะเรนนีกล่าว

ที่มา Irrawaddy
แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →