Search

เล็งถกปัญหาทวายบนเวทีิสทธฯอาเซียน

กลุ่มสิทธิฯในพม่าระบุไม่มีการแจ้งข้อมูลให้คนในพื้นที่รับรู้ผลกระทบ

กสม.-กก.สิทธิอาเซียนลุยทวายดูพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระบุชุมชนขาดการมีส่วนร่วมและผลกระทบสูง เตรียมยกเป็นประเด็นถกในเวทีสิทธิอาเซียน

 

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม พร้อมด้วยนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) และนายเสรี นนทสูติ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้ลงพื้นที่เมืองทวาย ประเทศพม่า ซึ่งเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจทวายให้เป็นท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมครบวงจร โดยคณะของนายสุลักษณ์ได้ลงหมู่บ้านในเขตก่อสร้างเพื่อรับฟังสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ จากชุมชนนอกจากนี้ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับภาคประชาสังคมของทวาย

 

นายสุลักษณ์กล่าวว่าได้พบกับพระภิกษุใน 2-3 วัดและประชาชนทวายอีกหลายแห่งซึ่งคนที่นี่มีความเข้มแข็งมาก พื้นที่แห่งนี้ไม่เหมาะกับการสร้างเขตอุตสาหกรรมหรือท่าเรือน้ำลึก ที่สำคัญการที่จะเข้าไปทำอะไรก็ควรฟังชาวบ้านในท้องถิ่นด้วย ที่ผ่านมาทั้งรัฐบาลไทยและบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ไม่เคยให้เกียรติ์กับชาวบ้านในพื้นที่เลย คิดแต่จะสร้างความร่ำรวยและความยิ่งใหญ่ ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับเอาเงินของแผ่นดินมาใช้ในโครงการนี้อีก

 

“เมื่อวานนี้ผมไปนั่งกินข้าวที่หาดมองมะกัน ซึ่งเป็นชายหาดสวยงาม ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าคุณทักษิณ(ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) ได้เอาเรือมาจอดที่นี้ 2-3 ครั้งแล้ว คนพวกนี้เป็นคนที่ไร้จิตสำนึกเรื่องสิทธิชุมชน ไร้จิตสำนึกเรื่องความทุกข์ยากของชาวบ้าน ตอนเราไปพูดเมื่อเช้านี้ก็มีทั้งตำรวจสันติบาล มีทั้งคนของITD มาฟัง ถือได้ว่าเป็นบรรยากาศของพม่าที่ดีขึ้นมาก ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้ไม่ได้แน่” ส.ศิวรักษ์ กล่าว

 

นายสุลักษณ์กล่าวว่า การเดินทางมาทวายครั้งนี้คงไม่เสียเที่ยว เพราะหลังจากกลับไปกสม.ก็จะได้เชิญฝ่ายต่างๆ เช่น ITD ผู้แทนรัฐบาลไทย มาชี้แจง รวมทั้งเชิญพระจากทวายซึ่งพูดดีมากไปร่วมด้วย เพราะเรื่องนี้กสม. มีอำนาจสวนการละเมิดสิทธินอกประเทศที่เกิดจากคนไทยได้ขณะเดียวกันจะมีการประชุมคณะกรรมการสิทธิ์อาเซียนในเร็วๆนี้ซึ่งนายเสรีบอกว่าจะได้นำเรื่องนี้เข้าไปหารือด้วย

 

นางเนวนีเต็ง ผู้แทนพรรคเอ็นแอลดี กล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการพบว่าในเมืองทวายมีอุบัติเหตุทางรถยนต์มากขึ้น ขณะที่พืชผักผลไม้ไทยเข้ามาตีตลาดทวายเพราะคุณภาพดีกว่าทำให้เกษตรกรท้องถิ่นต้องลำบาก ซึ่งตนมองว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้คือผู้ที่มีการศึกษาส่วนชาวบ้านแทบไม่ได้รับอานิสงส์อะไรเลยและก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน

 

นายทุนจ่อหม่อง ผู้แทนกลุ่มสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาปี “88”กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ในทวายต่างคิดถึงเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดเพราะยังไม่เคยมีการแจ้งข้อมูลใดๆให้ชาวทวายได้รับทราบเลย แต่เชื่อว่าเหล่านักลงทุนและนักธุรกิจต่างก็ทราบข้อมูลดีจึงมีการกว่านซื้อที่ดินกันมากมาย ทั้งๆที่หัวใจสำคัญคือเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเข้าถึงข้อมูล

 

“ที่ผ่านมารัฐบาลทั้ง2 ประเทศยังไม่เคยแสดงความโปร่งใส แต่เรื่องนี้ก็มีผลดีอยู่บ้างคือทำให้พวกเราทุกภาคส่วนในทวายกล้าลุกขึ้นสู้ และอยากบอกรัฐบาลไทยว่า ประเทศพม่าและประชาชนทวายยังไม่พร้อม ทำไมรัฐบาลไทยถึงไม่เอาข้อมูลมาให้เราร่วมพิจารณาก่อนว่าจะพัฒนาแบบไหน”

 

 ===================================

กรุงเทพธุรกิจ 11 มิถุนายน 2556

.

On Key

Related Posts

7 ชุมชมลุ่มน้ำกกจับมืออุทกวิทยา-ปภ.-เครือข่ายค.อ.ก. “คิกออฟ”ระบบเตือนภัยน้ำท่วม-พระอาจารย์มหานิคมเผยป่าต้นน้ำถูกทำลาย-ทำเหมืองทอง เป็นเหตุน้ำเชี่ยวโคลนถล่ม แนะรัฐเร่งเจรจา

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลแRead More →

สส.ปชน.เชียงรายจี้รัฐบาลสร้างระบบเตือนภัยแม่น้ำกก-แนะเร่งถอดบทเรียน 6 เดือนภัยพิบัติ คนขับเรือลำบากหลังนักท่องเที่ยวลดฮวบ ผวจ.เชียงรายเตรียมตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาคุณภาพน้ำข้ามแดน

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สRead More →

วัวควายเดือดร้อนถ้วนหน้าหลังน้ำกก-สายปนเปื้อนสารหนู-ใช้น้ำทำการเกษตรไม่ได้ “ครูแดง”แนะเร่งแก้ปัญหาต้นเหตุ “ดร.ลลิตา”เผยว้าตั้งหน่วยให้สัมปทานเหมืองแร่ จี้หารือทางการจีนช่วยปราม

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตRead More →