
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563 สำนักข่าวพนมเปญโพสต์รายงานว่า ได้พบแหล่งวางไข่ของตะพาบหัวกบ หรือ Cantor’s Giant Softshell Turtles ปีนี้จำนวนกว่า 49 รัง จำนวนไข่ 1,765 ฟอง เนื่องในวันเต่าโลก 23 พฤษภาคม 2563 องค์กร Wildlife Conservation Society(WCS) ชี้แนวโน้มของการพบการวางไข่ตะพาบชนิดนี้ต่ำมาก โดยพบเพิ่มเพียง 2 รังในปีนี้ แต่ปริมาณไข่จำนวนมากแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมา ลูกตะพาบหัวกบกว่า 824 ตัวได้ถูกฟักออกมาจากรัง 41 แห่ง และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้ว และยังเหลือไข่ที่กำลังเตรียมฟักและปล่อยสู่ธรรมชาติอีก 657 ตัว โดยลูกตะพาบนี้จะได้รับการดูแลจนกว่าจะพร้อมคืนสู่ธรรมชาติ
“เราได้รับความร่วมมือและสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกรมประมงที่มุ่งมั่นทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่เฝ้าติดตามแหล่งวางไข่ โดย WSC มีความก้าวหน้ามากในการเตรียมการมาหลายปี การเพิ่มจำนวนของรังและไข่ของตะพาบหัวกบยิ่งที่ให้เรามีแรงใจที่จะพยายามปกป้องสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์นี้” นาย เคน ซะเรย รัทธา ผู้อำนวยการโครงการระดับประเทศกล่าว
นายอุค วิบล ผู้อำนวยการกรมประมง กล่าวว่า เขารู้สึกยินดีมากที่การทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและชุมชนและองค์กร WCS ร่วมกันเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนทำงานในการปกป้องเต่าและแหล่งถิ่นที่อยู่ให้เป็นตามธรรมชาติ โดยย้ำว่า การค้าสัตว์ป่าคุ้มครองนับเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ตะพาบหัวกบหรือ Cantor’s Giant Softshell Turtule ชื่อทางวิทยาศาสตรคือ Pelochelys cantoriii ถูกจัดให้อยู่ในรายการสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตามประกาศของ IUCN โดยตะพาบชนิดนี้เคยถูกพบในลาว โดยการลักลอบขนไข่และตัวโตเพื่อการค้าขาย ซึ่งถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมคือเวียดนามและประเทศไทย และไม่เคยสำรวจพบแหล่งวางไข่ของตะพาบชนิดนี้เลยในโลกในช่วงปี 2003-2007 แต่ปรากฎว่ามาพบแหล่งวางไข่ในพื้นที่ระบบนิเวศแม่น้ำโขงช่วงจังหวัดกระแจ๊ะและสตรึงเตร็ง โดยองค์กร WCS และกรมประมงได้เริ่มงานอนุรักษ์ตะพาบนี้ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมาทั้งการต่อต้านการจับแบบผิดกฎหมาย การคุ้มครองรังและสนับสนุนชุมชนให้ดูแลถิ่นที่อยู่อาศัยของตะพาบหัวกบเหล่านี้
//////////////////////