Search

UNDP มอบรางวัล Equator Prize วันสิ่งแวดล้อมโลกให้ Salween Peace Park อุทยานต้นแบบริมแม่น้ำสาละวินฝั่งกะเหรี่ยง-ตรงข้ามแม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 องค์กร Equator Initiative ภายใต้องค์การพัฒนาแห่งสหประชาติ (United Nations Development Programme :UNDP) ได้ประกาศรางวัลเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมประจำปี 2020 Equator Prize โดยหนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลครั้งนี้คือ อุทยานสันติภาพสาละวิน (Salween Peace Park) รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า โดยเป็นความคิดริเริ่มของชุมชนชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในลุ่มน้ำสาละวิน  ที่จัดตั้งพื้นที่ในการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนผืนป่าริมแม่น้ำสาละวิน ตรงข้าม อ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน 

นายพอล เส่งทวา ผู้อำนวยการองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมกะเหรี่ยง (KESAN) เปิดเผยว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ความพยายามของชุมชนสามารถได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ โดยแนวคิดการก่อตั้งอุทยานสันติภาพสาละวิน เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในสถานการณ์สู้รบมาอย่างยาวนานกว่า 70 ปี มีหลักการ 3 ประการ คือ สันติภาพและการกำหนดอนาคตของตนเอง การรักษาสิ่งแวดล้อม และการรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่

ด้วยแนวคิดที่ว่า ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นตัวหลักของการอนุรักษ์ แนวคิดหลักของอุทยานสันติภาพสาละวิน คือระบบดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ที่เรียกว่า จ่อ (kaw) ซึ่งหมายถึงพื้นที่และสถาบันทางสังคมเพื่อธรรมาภิบาลในทรัพยากรที่ดินและป่า ซึ่งอุทยานสันติภาพสาละวิน เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติที่สร้างขึ้นเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงและสัตว์ป่ารวมทั้งลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ชาวกะเหรี่ยงสามารถจัดการที่ดินและป่าไม้ของตนได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เสือโคร่ง โดยครอบคลุมพื้นที่ในลุ่มสาละวินฝั่งรัฐกะเหรี่ยง รวม 5,400 ตารางกิโลเมตร ในอุทยานสันติภาพแบ่งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่ง และป่าชุมชนกว่า 30 แห่ง

“อุทยานสันติภาพสาละวินไม่ใช่แค่อุทยาน แต่เป็นทางเลือกของชุมชนรากหญ้า ในขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าและบริษัทต่างชาติได้พยายามเสนอโครงการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศและวิถีชีวิตของชุมชน แม้ว่ารัฐบาลพม่าจะบอกว่ากำลังพยายามสร้างประชาธิปไตย แต่มันไม่ใช่เลย” นายพอล กล่าว

นายพอล กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ความพยายามของชุมชนได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ เป็นสิ่งล้ำค่าเห็นคุณค่าของชนชนเผ่าพื้นเมืองซึ่งทำงานแถวหน้าในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นอีกขั้นของงานอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม เชื่อว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในพม่า เพราะเราพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ไขนโยบายที่ไม่เคารพชุมชน และจารีตในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน หวังไปข้างหน้าคือต้องมีการแก้ไขกฎหมายของพม่า

นายซอเทนเดอร์ ผู้นำชาวกะเหรี่ยง จังหวัดมือตอว์ ของรัฐกะเหรี่ยง กล่าวว่า งานอนุรักษ์นี้ไม่เหมือนที่อื่น เพราะเป็นการริเริ่มของชุมชน และสนับสนุนโดยมิตรจากหลายแห่งหลายองค์กร เราคือชาติ เราคือชุมชนดั้งเดิม เราต้องการสันติภาพ เราต้องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของเราเอง หากดูประวัติศาสตร์ของชาวกะเหรี่ยงจะพบว่า เรารักษาธรรมชาติได้อย่างดี และพยายามและจะยังคงรักษาไว้ให้คนรุ่นลูกหลานเพื่อให้ได้เห็นความงามของธรรมชาติ และเป้าประสงค์ของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน เราต้องรักษาธรรมชาติไว้ให้ได้ เราปกป้องแผ่นดินจากผู้รุกราน ชีวิตและของพวกเราอยู่ในพื้นที่สู้รบมาโดยตลอด ไม่เหมือนที่อื่นๆ แต่อุทยานสันติภาพสาละวินจะเป็นงานหลักที่เราจะทำเพื่อต่อต้านใครก็ตามที่จะรุกรานแผ่นดินของเรา  เราปกป้องผืนดิน ทรัพยากร และวัฒนธรรมของเรา นี่เป็นทางเดียวที่คนอื่นจะเคารพเรา 

ทั้งนี้การประกาศอุทยานสันติภาพสาละวิน ได้รับการลงประชามติจากประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เขตจ.มือตรอว์ รัฐกะเหรี่ยง ลงนามโดย 4 ฝ่าย ทั้งหน่วยงานอนุรักษ์และชุมชน  โดยก่อนหน้านี้ได้มีขบวนการลักลอบตัดไม้สักในผืนป่าสาละวินและล่องซุงผูกเป็นแพมาตามแม่น้ำสาละวินเข้าไปในเขตพม่า โดยในตอนแรกทางฝ่ายราชการไทยอ้างว่าเป็นไม้ที่ตัดจากฝั่งพม่า แต่เมื่อมีการตรวจสอบกันจริงจังพบว่าเป็นไม้สักจากฝั่งไทยในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติสาละวิน ที่มีขบวนการใหญ่ซึ่งมีทั้งข้าราชการโดยเฉพาะทหารและนายทุนร่วมมือกันว่าจ้างชาวบ้านให้ตัดไม้สัก

สำหรับในเขตอุทยานสันติภาพสาละวิน ยังมีฐานทหารพม่าตั้งอยู่อีก 81 แห่ง และมีความพยายามของกองทัพพม่าในการตัดถนนเพิ่มเพื่อใช้เป็นแส้นทางเพื่อการทหาร และล่าสุดมีรายงานว่าที่หมู่บ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีเสียงปืนใหญ่และระเบิดในฝั่งพม่า 

(ดูรายละเอียด Salween Peace Park ใน https://www.facebook.com/Salween-Peace-Park-105819057562017/)

////////////////////////////

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →