Search

สิงคโปร์เร่งผุดหอพักแรงงานต่างชาติ ปรับโครงสร้างภายในสกัดโรคระบาด

————-

โดย Rachel Phua สถานีข่าวซีเอ็นเอ

สรุปความโดย บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

————-

ขณะที่สิงคโปร์เร่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในแรงงานอพยพและยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อหลักร้อยอยู่ รัฐบาลก็ได้เดินหน้าแก้ปัญหาความแออัดในหอพักของแรงงานที่นำไปสู่การระบาดอย่างหนัก โดยวางแผนสร้างหอพักอย่างเร่งด่วนให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ ตั้งเป้าให้รองรับแรงงานได้ถึง 60,000 คน โดยมีกระทรวงการพัฒนาระดับชาติ (Ministry of National Development) และกระทรวงกำลังคน (Ministry of Manpower) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

    นอกจากโครงการหอพักสร้างใหม่แล้ว รัฐบาลยังได้เล็งอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น โรงเรียนหรือโรงงานที่ไม่ได้ประกอบการแล้วในพื้นที่หลัก 6 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยจะเปลี่ยนแปลนอาคารดังกล่าวให้เป็นหอพักรองรับแรงงานที่จำนวน 25,000 คน รวมถึงการสร้างหอพักชั่วคราวใกล้กับสถานที่ทำงานของแรงงานเพื่อลดความแออัดในหอพักเดิมที่พวกเขาอาศัยอยู่ 

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้วางแผนระยะยาวในอีก 2-3 ปีข้างหน้าที่จะสร้างหอพักใหม่ 11 แห่งให้รองรับแรงงานได้มากถึง 1 แสนคนทดแทนที่หอพักที่นสร้างขึ้นชั่วคราวดังที่กล่าวไป โดยอาคารหอพักในส่วนนี้ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านตัดผม ที่สำคัญคือแรงงานที่อาศัยอยู่ในหอพักต้องสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลและการสนับสนุนอื่นๆ ของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีทั้งสองกระทรวงให้ความมั่นใจว่า หอพักแห่งใหม่จะมีศักยภาพในการผ่องถ่ายแรงงานที่อาศัยอยู่ในหอพักเดิม และพวกเขาจะมีมาตรฐานที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น

    หอพักที่กำลังสร้างใหม่นี้ต้องมีการออกแบบเฉพาะและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างแรงงานและมีตอบรับอย่างทันท่วงทีหากเกิดโรคระบาดหรือโรคอื่นๆ ที่สำคัญคือรัฐต้องคำนึงถึงโครงสร้างของอาคารในประเทศที่ไม่มีเนื้อที่มากนักอีกด้วย ดังนั้น จะทำอย่างไรให้หอพักรับมือเมื่อเกิดปัญหาด้านสาธารณสุขและโรคระบาดเช่นโควิด-19 และพัฒนาเป็นโครงสร้างตัวอย่างในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งแน่นอนว่าทางรัฐบาลได้ใช้ไวรัสโคโรนาเป็นบทเรียนในการวางแผน รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

    นอกจากนี้ รัฐบาลพยายามหามาตรการในการรับมือกับเรื่องที่ดินที่ก่อนหน้านี้ถูกใช้ประโยชน์จากภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปได้ว่ารัฐจะสร้างโครงการ “สร้าง-เป็นเจ้าของ-ให้เช่า” (build-own-lease) คือการที่รัฐสร้างหอพักเหล่านี้แต่ให้องค์กรอื่นเช่าเพื่อดำเนินกิจกรรมหอพักแทน

โครงสร้างของหอพักใหม่ต้องลดความแออัดลง โดยเพิ่มขนาดเป็น 6 ตารางเมตรต่อ 1 คนใช้สอย จากแต่เดิมที่ห้องส่วนใหญ่อยู่ที่ 4.5 ตารางเมตรต่อ 1 คน และในแต่ละห้องสามารถวางเตียงได้สูงสุด 10 เตียง จากที่แต่เดิมหอพักแบบเดิม ห้องหนึ่งอยู่กันถึง 12-16 คน เตียงที่นำมาใช้จะเป็นขนาดเตียงเดี่ยวและตั้งให้ห่างกันอยางน้อย 1 เมตร ต่างจากก่อนหน้านี้ที่หอพักเดิมที่ใช้เตียง 2 ชั้น นอกจากนี้ โครงสร้างหอพักใหม่ต้องมีห้องน้ำอย่างน้อย 1 ห้อง อ่างล้างหน้า และห้องสุขา อัตราส่วนที่ 5 เตียงต่อ 1 ห้องน้ำ ห้องสุขา และอ่างล้างหน้า ซึ่งต่างจากแต่เดิมที่สัดส่วนอยู่ที่ 15 เตียงต่อ 1 ห้อง และแต่ละหอต้องมีเตียงเสริมหรือเตียงพับได้ที่อัตราส่วนที่ 15 เตียงต่อพื้นที่เตียง 1,000 เตียง ขณะที่ปัจจุบันอัตราส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 1,000 พื้นที่เตียง

    อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงยอมรับว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องเพิ่มขึ้นสำหรับการก่อสร้างหอพักตามแปลนใหม่ ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนนายจ้างในเรื่องนี้เพื่อให้ให้มีหอพักที่จะทำให้แรงงานปลอดภัย ขณะเดียวกันก็ทำให้คนสิงคโปร์สามารถได้รับประโยชน์จากแรงงานต่างชาติอยู่

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของหอพักแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการคือผู้ประกอบการหอพักต้องสร้างความคุ้นเคยกับระบบและพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนในหอพักแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือโครงสร้างที่ลดการแพร่ระบาดของโรค และการสร้างมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงเมื่อเกิดปัญหา

    เพื่อแก้ปัญหาที่ดินที่จำกัดของสิงคโปร์ รัฐบาลอาจต้องอนุญาตให้มีการสร้างหอพักใกล้กับพื้นที่อยู่อาศัยของคนมากขึ้น คนในสังคมสิงคโปร์ก็ต้องละความคิดเดิมที่ว่า “อย่ามาอยู่ในสนามหลังบ้านฉัน” (not in my backyard) ออกไป หมายความว่าให้ลดความรู้สึกที่ไม่ต้องการให้แรงงานมาพักอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่ตนเองอาศัยอยู่ ในทางกลับกัน คนในสิงคโปร์ควรจะซาบซึ้งถึงการมีอยู่ของแรงงานต่างชาติที่เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

    สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของสิงคโปร์นั้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบตัวเลขผู้ติดเชื้อ 32,000 คนมาจากแรงงานที่อยู่ในหอพัก ซึ่งถือเป็นจำนวนมากที่สุดของผู้ติดเชื้อทั้งหมดของประเทศ ขณะเดียวกัน มีอีกจำนวน 40,000 คนที่ไม่พบการติดเชื้อ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะสามารถกลับไปทำงานได้ จากจำนวนดังกล่า แบ่งเป็น 12,000 คนเป็นแรงงานในภาคสำคัญที่ถูกส่งตัวออกจากหอพักที่เคยอยู่ ส่วนอีก 20,000   คนเป็นผู้ป่วยที่ส่งตัวไปยังหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ต่างๆ แต่ปัจจุบันรักษาหายและพร้อมกลับไปทำงานแล้ว และอีก 8,000 คนที่อาศัยอยู่ในหอพักเดิม ซึ่งเป็นคนที่ตรวจและมีผลเป็นลบหรือรักษาตัวจนหายดีแล้ว

    นอกจากนี้ รัฐยังต้องประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อพบว่าอาคารหอพักใดก็ตามไม่พบเชื้อโควิด-19 แล้ว ปัจจุบันมีหอพัก 60 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 แห่งเป็นอาคารที่สร้างเพื่อเป็นหอพักโดยตรง อีก 57 แห่งเป็นอาคารที่แปรสภาพมาจากโรงงานเดิม อาคารทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการ “เคลียร์สถานะ” ปลอดโควิดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่ยังมีหอพักอีก 11 แห่ง และโรงงานที่ปรับมาเป็นหอพักอีก 100 แห่ง รวมถึงพื้นที่ก่อสร้างชั่วคราวที่รองรับแรงงาน 50,000 คน ที่จะได้รับการเคลียร์สถานะเช่นกันในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า

————

ที่มา: https://bit.ly/377HxKd

หมายเหตุ-บทความชิ้นนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ the Department of Southeast Asia Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย

——————–

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →