Search

ธนาคาร ANZ ออสเตรเลีย จ่ายเงินเยียวยาชาวบ้านกัมพูชา หลังถูกบริษัทน้ำตาลไล่ออกจากที่ดินของตัวเอง

ภาพจากเว็บไซต์ Inclusive Development International

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 องค์กร Inclusive Development International ได้ออกแถลงการณ์ว่า  ชาวบ้านกัมพูชาที่ถูกบริษัทน้ำตาลพนมเปญ(Phnom Penh Sugar)บังคับให้โยกย้ายออกจากที่ดินได้รับการจ่ายเงินค่าเสียหายจากธนาคาร ANZ ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้แก่บริษัทน้ำตาลดังกล่าวเมื่อปี 2554-2557

ชาวบ้านกัมพูชามากกว่า 1,000ครอบครัวในจังหวัดกัมปง สปือ ที่ถูกบังคับให้โยกย้ายออกจากที่ดินของตนได้รับเงินค่าชดเชยความเสียหายตามสัญญาในลักษณะกองทุนจากธนาคาร ANZ ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้แก่บริษัทน้ำตาลตั้งแต่ปี 2554-2557 โดยทางธนาคารตกลงที่จะจ่ายเงินดังกล่าวเมื่อปี  2563 และเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยในสัปดาห์ที่ผ่านมา  ตามรายงานของ Inclusive Development International and Equitable Cambodia องค์กรพัฒนาเอกชน 2 แห่งที่ช่วยชาวบ้านในการเจรจากับธนาคาร และได้รับมอบหมายให้เบิกจ่ายกองทุน พร้อมกับการเปิดตัวกลไกรับเรื่องร้องเรียนใหม่ของ ธนาคาร ANZ  เพื่อจัดการกับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการปิดคดีที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

“ด้วยเงินจำนวนนี้ ชาวบ้านมากกว่าหนึ่งพันครอบครัวที่ถูกบังคับขับไล่ออกจากที่ดินของพวกเขา กำลังเริ่มต้นใหม่ แม้ว่าเงินค่าชดเชยความเสียหายนี้ไม่ได้ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานที่พวกเขาต้องทนมานานหลายปี แต่มันเป็นความช่วยเหลือที่สำคัญสำหรับครอบครัวในการฟื้นตัวหลังจากผ่านไปหลายปี และเรารู้สึกขอบคุณที่ ANZ ปฏิบัติตามสัญญา ในระหว่างนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งกระบวนการแก้ไขที่ดินเพื่อยุติข้อพิพาทเรื่องที่ดินที่มีมายาวนานนี้” ”” เอง วุฒิ กรรมการบริหารของ Equitable Cambodia กล่าว

“ฉันดีใจมากที่ ANZ ตกลงที่จะคืนกำไรจากการให้เงินกู้แก่บริษัทพนมเปญชูการ์ให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ” เซิง ชาที หญิงวัย 43 ปีที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตะเปียง อังกรองม เมืองโอรัล กล่าว “มันแสดงให้เห็นความตั้งใจของ ANZ ที่จะรับผิดชอบต่อความจริงจากสิ่งที่เกิดขึ้น ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบมีความซาบซึ้งมาก ไม่เพียงแต่ครอบครัวของฉันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวอื่น ๆ ทั้งหมดในชุมชนของฉันด้วย เงินนี้จะช่วยฟื้นฟูชีวิตครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ”

การจ่ายเงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเกือบทศวรรษของการต่อสู้โดยชุมชนที่ถูกบังคับโยกย้ายจากชุมชนดั้งเดิมอย่างรุนแรงในปี  2554 และ 2555 เพื่อเปิดทางสำหรับสวนน้ำตาลและโรงกลั่นในจังหวัดกำปงสปือ ในเดือนตุลาคม 2014 Inclusive Development International and Equitable Cambodia ได้ยื่นคำร้องต่อธนาคาร ANZ ในนามของครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ต่อ Australian National Contact for Responsible Business Conduct ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลียที่ส่งเสริม  แนวปฏิบัติของ OECD สำหรับการลงทุนข้ามชาติและดำเนินการแก้ไขข้อเรียกร้องของการประพฤติมิชอบขององค์กร เนื้อหาการร้องเรียนได้แสดงรายละเอียดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางของบริษัทพนมเปญ ชูการ์ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าของ ANZ และโต้แย้งว่า ANZ มีส่วนสนับสนุนและทำกำไรจากกิจกรรมเหล่านั้นผ่านการให้กู้ยืมแก่บริษัท และเป็นผลให้มีหน้าที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

“แม้ว่าธนาคารจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะจัดการเรื่องนี้ได้ แต่ในที่สุด ANZ ก็ตัดสินใจร่วมงานกับเราเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ และในท้ายที่สุด การทำสิ่งที่ถูกต้องและจ่ายค่าเสียหาย สำหรับครอบครัวและธนาคาร เพื่อกู้ชื่อเสียงของธนาคารด้วยการลงมือแก้ไขปัญหานี้ได้” David Pred กรรมการบริหารของ Inclusive Development International กล่าว “การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ หมายถึงถ้าคุณทำผิดพลาด คุณทำในสิ่งที่จำเป็นเพื่อแก้ไข – และ ANZ สมควรได้รับความน่าเชื่อถือในความรับผิดชอบในกรณีนี้”

ในเดือนกุมภาพันธ์  2561 หน่วยงาน  Australian National Contact Point ได้ช่วยจัดการประชุมเพื่อการเจรจาประนีประนอมระหว่างคู่กรณี ทาง ANZ ยอมรับว่า เนื่องจากโครงการที่ได้รับทุนจากเงินกู้นั้นไม่เพียงพอ และตกลงที่จะจัดหาเงินให้กับครอบครัวผู้พลัดถิ่นซึ่งเทียบเท่ากับกำไรที่ธนาคารได้รับจากเงินกู้  โดยองค์กร Equitable Cambodia และองค์กร Inclusive Development International ได้ทำงานร่วมกับตัวแทนชุมชนเพื่อวางแผนและดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบและรับรองให้ครอบคลุม เพื่อแจกจ่ายกองทุนเพื่อการตั้งถิ่นฐานให้กับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจำนวน 1,096 ครอบครัวที่มีสิทธิ์ได้รับเงินทุน และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่า  พวกเขาจะได้รับส่วนแบ่งที่เท่าเทียมกัน ส่วนหนึ่งของกองทุนนี้จัดสรรไว้เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งออกแบบโดยชุมชนเอง กระบวนการจ่ายเงินนั้นล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

“ถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะไม่มาก แต่ก็ยังช่วยครอบครัวของฉันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉันเป็นหัวหน้าครอบครัว” ปิ่น สุขิม หญิงวัย 42 ปี ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านสวาย เตี๊ยบทับ เมืองโอรัล กล่าว “สิ่งที่ฉันมีกำลังใจมาก ๆคือ ทางธนาคาร  ANZ ได้แสดงความรับผิดชอบในระดับสูงด้วยการยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการให้เงินกู้แก่บริษัทน้ำตาลพนมเปญ ฉันหวังว่า ANZ จะไม่ให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทที่ดำเนินการที่ทำให้คนร้องไห้อีก”

“ตอนนี้  ANZ ได้แสดงให้เห็นว่า ธนาคารสามารถมีส่วนร่วมในการเยียวยาและสร้างความแตกต่างในเชิงบวกให้กับชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยในธุรกิจของพวกเขา เราคาดว่าจะเห็นธนาคารอื่น ๆ ปฏิบัติตาม” นาตาลี บูกัลสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย ขององค์กร Inclusive Development International กล่าว

“กรณีนี้ควรเป็นบทเรียนสำคัญต่อระบบ National contact Point ของ OECD ในประเทศต่างๆ” เธอกล่าวเสริม นี่เป็นความสำเร็จงเพียงครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์ 20 ปีของกลไกนี้ จากกรณีกว่า 330 คดี ที่ชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนยื่นฟ้อง กระบวนการร้องเรียน ส่งผลให้มีการเยียวยาทางการเงินที่เป็นรูปธรรมสำหรับผู้ร้องเรียน 

“ผลของคดี  ANZ ซึ่ง NCP ของออสเตรเลียที่สำเร็จนั้น ผ่านความรับผิดชอบและเปิดโอกาสที่ให้เกิดการเยียวยา แสดงให้เห็นว่า NCP สามารถให้ความยุติธรรมสำหรับชุมชนได้จริง ๆ หากพวกเขาใช้เครื่องมือของพวกเขาอย่างมีกลยุทธ์ NCP อื่น ๆ ทั่วโลกควรรับทราบ”

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →