Search

ผู้หนีภัยสู้รบในรัฐกะเหรี่ยง-คะเรนนียังคงลำบาก สถานการณ์ในศูนย์พักพิงเลวร้ายยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 สำนักข่าวสาละวินไทมส์ รายงานว่า การปะทะกันอย่างต่อเนื่องในรัฐกะเหรี่ยงทำให้ผู้ลี้ภัยยังไม่สามารถกลับบ้านได้โดยแถลงการณ์ของ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ระบุว่าการปะทะกันอย่างต่อเนื่องกับทหารพม่าในพื้นที่ตะโท่ง (กองพลที่ 1) หย่องเลปี่ง (กองพลที่ 3) เบตทวาย (กองพลที่ 4) มูต่อ (กองพลที่ 5) และดูปะลายา (กองพลที่ 6) ซึ่งเป็นเขตปกครองก่อตูเลของสหภาพ KNU ทำให้ผู้ลี้ภัยไม่สามารถกลับบ้านได้

ทั้งนี้ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 15-25 มกราคม มีการปะทะกันมากกว่า 100 ครั้ง ระหว่างกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) องค์กรปกป้องชาติกะเหรี่ยง (KNDO) กับทหารพม่า และกองกำลังป้องกันชายแดน (BGF)โดยฝั่งทหารพม่าและBGF เสียชีวิต150 นาย บาดเจ็บ 115 นาย มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บอีก 4 คนจากการยิงปืนใหญ่ใส่หมู่บ้านโดย BGF ซึ่งการโจมตีของทหารพม่าทำให้โรงเรียนต่างๆ ถูกปิด เด็กและเยาวชนไม่สามารถเรียนหนังสือได้และต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในภูเขา ผู้ลี้ภัยที่หนีการสู้รบกำลังเผชิญกับความยากลำบากเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก

ขอบคุณภาพจาก Kantarawaddy

ขณะที่หน่อกะยอผ่อ เลขาธิการองค์การสตรีกะเหรี่ยง (KWO) กล่าวกับ สำนักข่าว Karen Information Center ว่า “สถานการณ์เลวร้ายส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากอำเภอดูปะลายา ซึ่งเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่  ทางฝั่งมูต่อก็ยากลำบากเช่นกันพวกเขาหนีภัยสงครามมาเป็นเดือนแล้ว การดำรงชีวิต อาหารการกิน เป็นไปอย่างยากลำบาก”

ด้านสำนักข่าว VOA Burmese รายงานว่า การต่อสู้ระหว่าง KNUและกองกำลังป้องกันประชาชน กับ ทหารพม่า ในเขตเมียวดี รัฐกะเหรี่ยงได้สงบลงแล้ว แต่ผู้ลี้ภัยจากหมู่บ้านใกล้เคียง รวมทั้งเลเกก่อ ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ โดยชาวบ้านในจังหวัดเมียวดีซึ่งตรงข้ามกับอ.แม่สอดของประเทศไทย กลายเป็นผู้ลี้ภัยเนื่องจากการโจมตีทางอากาศและการทิ้งระเบิดโดยทหารพม่า รวมถึงการสู้รบที่เริ่มขึ้นในเลเก่ก่อ

เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยกล่าวว่า “แม้ว่าจะไม่มีการสู้รบในฝั่งพม่า แต่พวกเขาก็ไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากทุ่นระเบิดที่ถูกฝังไว้ อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งยังมีทหารพม่าประจำการอยู่ในหมู่บ้าน ตอนนี้ผู้ลี้ภัยประมาณ 1,600 คนยังอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเมยทั้งในฝั่งไทยและฝั่งพม่า”

ส่วนสถานการณ์ในรัฐคะเรนนีนั้น สำนักข่าวคะเรนนี กันตรวดีไทมส์ (Kantarawaddy Times) รายงานว่า ผู้ลี้ภัยที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองพรูโซ รัฐคะเรนนี ต้องการอาหารและเสื้อผ้ากันหนาวสำหรับเด็ก อีกทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้มีการขัดข้องขึ้นนับตั้งแต่การสู้รบในรัฐคะเรนนี

หญิงผู้ลี้ภัยรายหนึ่งกล่าวว่า กว่าครึ่งหนึ่งในบรรดาผู้ลี้ภัยกว่า 1,500 คนต่อหนึ่งค่ายที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองพรูโซเป็นผู้หญิงและเด็ก ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีต้องการกางเกงที่อบอุ่นเพื่อกันหนาว

“ที่นี่อากาศหนาวมาก เด็กๆที่อยู่ที่นี่ส่วนใหญ่ไม่มีกางเกงสำหรับใส่กันหนาว หลายคนต้องใส่กางเกงกีฬา” เขากล่าว

ทั้งนี้ประชาชนกว่า 6,000 คนจากประมาณ 60 หมู่บ้านทางด้านตะวันตกของพรูโซต้องพลัดถิ่นและยังไม่สามารถเดินทางกลับ ซึ่งทั้งหมดมาจากหมู่บ้านที่อยู่บริเวณของเมืองพรูโซที่หนีภัยจากการสู้รบเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ใกล้หมู่บ้านโมโซของเมืองพรูโซ โดยในวันดังกล่าวมีประชาชนถูกเผาเสียชีวิต

ชาวบ้านรวมทั้งผู้ลี้ภัยจากการทิ้งระเบิดในค่ายผู้ลี้ภัยหนึ่งที่อยู่ทางตะวันตกของพรูโซต้องย้ายไปยังที่พักพิงในบริเวณใกล้เคียงและต้องการอาหารอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน สัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ได้ขัดข้องขึ้นนับตั้งแต่การสู้รบในรัฐคะเรนนี มีเพียงไม่กี่เครือข่ายสัญญาณที่สามารถเข้าถึงได้ ถือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตอยู่ของผู้ลี้ภัยอีกประการหนึ่ง

ผู้ลี้ภัยทางตะวันตกของพรูโซกล่าวว่าพวกเขาต้องปีนขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อรับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตในค่ายผู้ลี้ภัย

อนึ่ง มีประชาชนมากกว่า 170,000 คนต้องพลัดถิ่นจากการสู้รบในรัฐคะเรนนี ซึ่งบางคนหลบหนีไปทางตอนใต้ของรัฐฉานและบางส่วนหลบหนีไปยังป่า

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →