Search

ชาวคะเรนนีเร่งประกาศตัวอิสระจากอำนาจปกครองรัฐทหารพม่า RSF เผยสื่อถูกจับอื้อเป็นอันดับ 2 รองจากจีน

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 Karenni Nationalities Defense Force (KNDF) เผยแพร่รายงานเนื่องในวันครบรอบ 1 ปีของการทำรัฐประหารพม่าว่า การปกครองของรัฐบาลทหารการหยุดชะงักลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในรัฐคะเรนนี โดย KNDF ได้ควบคุมถนนเข้า-ออกเกือบทั้งหมดจากรัฐ ดังนั้นกองทัพพม่าจึงต้องใช้เครื่องบินขนส่งเพื่อส่งอาวุธและเสบียง โดยปัจจุบันมีหมู่บ้านประมาณ 400 แห่งจากกว่า 700 แห่งในรัฐคะเรนนีที่มีโรงเรียนและคลินิกที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นในการบริหารแบบพึ่งพาตนเอง ยกเว้นหมู่บ้านที่ทั้งชุมชนต้องพลัดถิ่นเนื่องจากการสู้รบ

รายงานของ KNDF ระบุว่า นักเคลื่อนไหวที่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐประหารในที่สาธารณะได้เข้าร่วมกับกลุ่ม KNDF และกลุ่มกองกำลังภาคประชาชน (PDF) เป็นจำนวนมาก เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหารในขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 18 กองพัน และมีสมาชิก 6,277 นาย นับตั้งแต่ก่อตั้ง KNDF ได้ต่อสู้ถึง 110 ครั้งและบรรลุผลที่ดี จนถึงตอนนี้ สูญเสียสมาชิกไปแล้ว 20 นาย ส่วนกองทัพพม่าเสียชีวิตไปกว่า 440 นาย ระหว่างการสู้รบ KNDF ต่อสู้ภายใต้การนำของกองทัพ Karenni Army (KA) และมีพันธมิตรเป็น PDFs/ People’s Defense Forces ในการต่อสู้แม้ผู้ที่เป็นเชลยศึก ไส้ศึกจากฝั่งทหารพม่า หรือคนที่ขโมยทรัพย์สินของประชาชนจะถูกจับกุม แต่ก็ดำเนินการไปตามหลักสิทธิมนุษยธรรม

รายงานฉบับนี้ยังระบุด้วยว่า หลังจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 กองทัพพม่าได้ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์และสั่งให้จับกุม ทรมานและฆ่าพวกเขาตามอำเภอใจ เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนได้เข้าร่วม CDM และวางตำแหน่งร่วมกับประชาชนซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง Karenni State Police (KSP) ตามประกาศจาก Karenni State Consultative Council (KSCC) อย่างเป็นทางการ ซึ่งภายใต้กองบัญชาการตำรวจรัฐคะเรนนีมีเจ้าหน้าที่ 250 นายรับผิดชอบดูแลหน่วยงานต่างๆ เช่น หน่วยต่อต้านการก่อการร้าย หน่วยกู้ภัย หน่วยข่าวกรอง หน่วยอาชญากรรม และหน่วยสำนักงาน ทั้งนี้KSP กำลังทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นฟ้องต่อรัฐบาลทหารในคดีอาชญากรรมสำคัญ 4 คดี รวมถึงคดีประชาชนผู้บริสุทธิ์ 43 คนที่สูญหายในการสังหารหมู่อย่างไร้มนุษยธรรม ใกล้หมู่บ้านโมโซ เมืองพรูโซ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564

ภาพจาก The 74 Media

ด้าน Reporter Without Border (RSF) หรือ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน รายงานว่าเสรีภาพของสื่อในพม่าตกต่ำลงนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยรัฐบาลทหารพม่าได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อเพื่อปกปิดการสังหารหมู่พลเรือนและกระชับอำนาจในประเทศ รัฐบาลทหารได้จับกุม จำคุก ทรมาน และกำจัดนักข่าวที่อาจบ่อนทำลายการควบคุมข่าวสารและข้อมูลของรัฐบาลทหาร

ทั้งนี้ใน 1 ปีที่ผ่านมา นักข่าวอย่างน้อย 115 คนถูกจับกุม มีผู้เชี่ยวชาญด้านสื่ออย่างน้อย 15 ราย รวมทั้งนักข่าวหญิง ยิน ยิน เต็ง ถูกทุบตีและได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะถูกจับกุม อีกทั้งนักข่าว 57 คนถูกจำคุกอย่างไม่ยุติธรรม และนักข่าว 14 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกดำเนินคดี โดยถูกตัดสินว่ามีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 505 (ก) ซึ่งลงโทษข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของกองทัพพม่า

ภาพจาก The 74 Media

ขณะที่นักข่าว 3 คนเสียชีวิต ได้แก่ Soe Naing ช่างภาพอิสระที่เสียชีวิตหลังจากถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยจับกุมในย่างกุ้ง  Sai Win Aung บรรณาธิการของ Federal News Journal  และ Pu Tuidim ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ Khonumthung  รวมถึงนักข่าว 7 คนถูกทรมานอย่างรุนแรง  ซึ่งนักข่าวถูกควบคุมตัวในศูนย์สอบสวนและกักขังอย่างน้อย 10 แห่ง หลังจากการสอบสวน บางคนจะถูกย้ายไปยังเรือนจำ โดยศูนย์คุมขังนักข่าวที่ใหญ่ที่สุดคือเรือนจำอินเส่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองย่างกุ้ง ปัจจุบันพม่าคุมขังนักข่าวมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศจีน

นอกจากนั้น ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการทำรัฐประหาร สื่ออิสระ 12 แห่งถูกสั่งให้ปิดตัวลง ถูกยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →