สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

อคติที่ถูกผลิตซ้ำ ใน“ไร่หมุนเวียน”

โดย พฤ โอ่โดเชา

ภาพวิดีโอมุมสูงจากโดรน เป็นภาพชาวบ้านคนหนึ่งกำลังเก็บไม้อยู่ในไร่หมุนเวียน โดยเขารวบรวมเศษไม้มากองเผา ขณะที่สื่อมวลชนบางสำนักพาดหัวว่า “คาหนังคาเขา! อากาศยานไร้คนขับ จับภาพมือเผาป่าในป่าสงวน อ.สะเมิง ด้าน รองผู้ว่าฯ สั่งตามจับด่วน พร้อมส่ง KA-32 ขึ้นดับไฟทันที”

ภาพแบบนี้เมื่อเผยแพร่ออกไปทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนของสังคม และก่อให้เกิดการใช้กฎหมายทัศนคติที่ไม่ดีต่อชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่ป่า ความเข้าใจผิดนี้ถูกผลิตซ้ำเรื่อยๆ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านอย่างมาก เพราะข่าวที่ออกมาจะทำให้ชาวบ้านอาจต้องถูกจับและแปลงที่ดินถูกยึด สร้างให้สังคมเข้าใจว่าชาวบ้านคือผู้เผาป่า ความเสียหายจากภาพข่าวดังกล่าวเป็นเหมือนว่าประชาชนชาว อำเภอสะเมิงทั้งหมดเป็นผู้เผาป่า ทำให้ภาพลักษณ์วิถีชาวบ้านถูกตีตราว่าเป็นคนไม่ดี เป็นแพะรับบาปไม่จบสิ้น ทั้งที่ภาพแปลงเกษตรกับภาพไฟไหม้ป่าที่ถูกเผยแพร่เป็นคนละจุด คนละเรื่อง

ผมเห็นว่าผู้เขียนข่าวควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

ในภาพถ่ายที่ผมเห็นบอกได้ว่าคือไร่หมุนเวียนที่ถูกเผาหรือถูกบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยการลงระบบไฟดีกับทางจังหวัดไปก่อนหน้านี้แล้ว เศษไม้ที่เผาไหม้ไม่หมดนั้นยังเกะกะในแปลงพื้นที่เพาะปลูก ชาวบ้านเจ้าของแปลงจะนำมากองรวมไว้ แล้วเผากำจัดท่อนเศษไม้เหล่านี้เพื่อขี้เถ้าจะเป็นธาตุอาหารหรือปุ๋ย จึงนำมากองเป็นจุดๆในบริเวณที่ไฟไหม้ไม่ดีแล้วเผาให้เกิดเป็นถ่านเถ้าเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน เวลาปลูกข้าวไร่ เผือก มัน พืชผักต่างๆ ในไร่ก็จะได้งอกงาม

หากทราบถึงวิถีชุมชนในการจัดการไร่หมุนเวียน จะเห็นว่าชาวบ้านมีวิถีขั้นตอนที่สืบทอดกันมา ในขั้นตอนเก็บเศษไม้มากองจะเห็นว่าชาวบ้านมีความตั้งใจนำเศษไม้มากองเป็นจุดกระจายกะระยะเท่าๆกัน ถ้าแปลงไหนไหม้ไม่ดีต้องเหนื่อย ตามเก็บกันหนัก ถ้าแปลงไหนไหม้ดีจะเบาแรงชาวบ้าน และถ้าไม่เก็บมากอง จะมีปัญหาในการหยอดหรือปลูกข้าว เวลาฝนตกเศษไม้จะกลิ้งไปมาใส่ต้นข้าวหรือพืชผักที่งอกขึ้นในแปลงเนื่องจากเป็นดอยลาดชัน

ไม้ที่เหลือเหล่านั้นยังนำมาทำเป็นรั้วไร่ และหากแปลงใดอยู่ใกล้บ้านหรือใกล้เส้นทางสามารถแบกขนได้ง่าย ชาวบ้านก็จะนำไม้ส่วนหนึ่งมาทำเป็นฟืนในครัวเรือนเพื่อหุงต้ม  แต่ไม่ใช่ว่าไม้ทุกอย่างจะนำมาทำเป็นฟืนได้เหมือนกันหมด ชาวบ้านต่างรู้ด้วยภูมิปัญญาของชุมชน ว่าต้องเป็นไม้เนื้อแข็งบางชนิดเท่านั้น ไม้ชนิดที่เนื้อแน่นเกินไปเวลาก่อไฟในบ้านจะมีเศษประกายกระเด็น ชาวบ้านจึงไม่นิยมใช้ ส่วนไม้เนื้ออ่อน จะเผาไหม้เร็วเหมือนเผาไม้ไผ่ ไม่มีถ่านแดงลุกและดับเร็ว หากนำมาทำฟืน กับข้าวไม่ทันสุกก็หมดฟืนก่อน ไม้ฟืนที่จะขนกลับมาใช้ในครัวเรือนจึงมีการคัดแยกประเภทไม้

ดังนั้นในไร่จึงมีไม้คดไม้งอ เศษไม้ที่ยังเหลือให้ต้องเก็บทิ้ง ชาวบ้านจึงนำมาไว้เป็นกองๆ เผาเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและเถ้าถ่านก็เพิ่มแร่ธาตุให้กับดินเพื่อให้การปลูกข้าวและพืชผักจะได้งอกงาม

ไร่หมุนเวียนนั้นหลังจากถางไร่เสร็จ รอแห้งเผาเสร็จ ก็มาล้อมรั้วพร้อมกับเก็บเศษท่อนไม้ เคลียร์พื้นที่ ภาษาชาวบ้านกะเหรี่ยง เรียกว่า “ฆโก่ คกึ๊”  

เป็นขั้นตอนหนึ่งของการ ทำอะไรหมุนเวียนก่อนจะปลูกข้าว โดยการหาเศษไม้ที่ระเกะระกะหลังจากไฟไหม้ไม่หมดนำมาเก็บกองไว้แล้วเผา คือการก่อกองไฟธรรมดาทั่วไป ไม่ได้เป็นการเผาเป็นแปลงอย่างที่เข้าใจผิดไป ขึ้นอยู่กับแต่ละวันเจ้าของไร่จะฟันเก็บกิ่งเศษไม้ได้กองมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่แรงคนมาช่วยกันมากหรือน้อย บางจุดนำมากองในร่องที่ไม่จำเป็นต้องปลูกข้าว แต่ต้องการเก็บเป็นที่เลื้อยของพืชตระกูลมีเครือ  แต่ถ้ามีมากต้องเอามากองวางเป็นจุดๆแล้วเผาเป็นถ่านเถ้าเพิ่มธาตุอาหารในดิน ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงผ่านขั้นตอนเผาไปแล้ว

กรณีไร่แปลงที่ถูกนำมาเผยแพร่ในสื่อสำนักหนึ่งนั้น พบว่าชาวบ้านได้ขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงในวันที่ 7-8 เมษายน 2565 แต่เนื่องจากเวลานั้นมีฝนตกชาวบ้านจึงจำเป็นต้องย้ายวันมาบริหารเชื้อเพลิงวันที่ 13 เมษายน ส่วนวันที่ 27 เมษายน ก็ไม่ใช่การเผาไร่แล้ว หรือตามที่เข้าใจว่าคือการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหรือเผาแปลงเกษตรจนก่อให้เกิดไฟไหม้ลามเข้าป่าจนต้องนำเครื่องบินมาดับซึ่งเป็นการนำภาพมาตัดต่อทำให้เกิดการเข้าใจผิดมากกว่า แต่เป็นเพียงการเก็บเศษไม้ที่เกะกะในแปลงมาเผาเป็นจุด

ไร่หมุนเวียนแปลงนี้ชาวบ้านได้จัดทำแนวกันไฟเรียบร้อย และไฟก็ไม่ได้ลามออกไปนอกแนวกันไฟแต่อย่างใด ส่วนขอบแปลงนั้นเปลวไฟอาจจะทำให้ใบไม้ดิบแห้งไปบ้าง ดังนั้นไฟจากเผาเศษไม้นี้ไม่ได้ก่อให้เกิดไฟลามเข้าป่าแต่อย่างใด

ส่วนที่ว่าทำไมชาวบ้านลงทะเบียนแล้วต้องเผาเลี่ยง Hotspot เพราะทางการได้ขอความร่วมมือให้ชาวบ้านว่าแม้จะลงทะเบียนก็ขอความร่วมมือให้บริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยเลี่ยงจุด Hotspot ด้วย ชาวบ้านจึงให้ความร่วมมือ เพราะหากมี Hotspot ขึ้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ต้องวิ่งกุลีกุจอลงมาตรวจสอบในพื้นที่หมู่บ้านซึ่งจะวุ่นวายตั้งแต่อำเภอถึงยังชาวบ้าน ทุกครั้งชาวบ้านผวากลัว เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไรผิดอีก เนื่องจากพื้นที่ชุมชนที่พวกเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่นา ที่ไร่ ที่สวน ที่ป่ารอบบ้าน ถูกกฎหมายป่าไม้ประกาศทับไว้หมด ปัจจุบันยิ่งต้องผวากับการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าเดิม บางพื้นที่ทำมาหากินที่เราเคยคิดว่าปลอดภัย แต่ก็ถูกแอบส่องจากเจ้าหน้าที่โดยใช้โดรนดังเช่นกรณีภาพ UAV ที่ถ่ายภาพชาวบ้านไปทำมาหากินในไร่หมุนเวียนครั้งนี้

ทุกวันนี้การดำเนินชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยงให้เป็นไปตามบรรพชนนั้น มีความยากลำบากยิ่ง

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →