Search

ครูรักษ์ถิ่นกับฐานการเรียนรู้บนดอย

“ขอแค่ได้เป็นครู” นางสาวอรทัย  ชลธารรส หรือ ละแอ กล่าวตอบอย่างหนักแน่นเมื่อถามถึงเรื่องเป้าหมายในชีวิต  ละแอ เป็นชาวกะเหรี่ยงจาก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เธอมีครูที่สอนลูกศิษย์อย่างทุ่มเท สนับสนุนทุกอย่าง เป็นครูที่ติดตามมองหาเส้นทางและโอกาสให้กับนักเรียนเสมอ และด้วยที่บนดอยก็ไม่มีครูปฐมวัย  จึงทำให้อยากจะเป็นครูเพื่อกลับไปสอนเด็กๆ ในชุมชน

ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2565 นักศึกษาราชภัฎเชียงใหม่ เอกปฐมวัย จำนวน 30 คน ได้มาร่วมกระบวนการเสริมสร้างประสบการณ์  พัฒนาทักษะชีวิต (enrichment)  ณ มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) บ้านป่าคาสุขใจ ตำบลแม่สลองนอก อ.แม่สลอง จ.เชียงราย โดยทั้งหมดเป็นนักเรียนทุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 

นักเรียนทุนทั้ง 30 คน ร่วมกันทำกิจกรรมภายใต้แนวคิด  “รับรู้ เข้าใจ ปรับใช้ สร้างสรรค์ ทันโลก” เรียนรู้เป้าหมายชีวิตของตนเอง รู้จักสังคมที่มีความหลากหลาย หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เปิดใจปรับทุกข์สุข เรียนรู้ที่จะรู้จักตัวเอง ฝึกคิดการออกแบบกิจกรรมจิตอาสา  เข้าฐานการเรียนรู้ทำความรู้จักสภาพแวดล้อมหมู่บ้าน  และวิเคราะห์ชุมชน

นางเตือนใจ  ดีเทศน์ หรือครูแดง อดีตครูดอย ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ.ที่ทำงานพัฒนาพื้นที่สูงมายาวนาน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้นักเรียนทุนชาติพันธุ์

“ในการสอนเด็กปฐมวัยเรื่องภาษาเเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องศึกษาภาษาเพราะชุมชนชาติพันธุ์มีภาษาที่หลากหลาย หากเด็ก ๆ ไม่สามารถเข้าใจภาษาก็ไม่สามารถจะเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ให้เข้าใจได้ เป็นลักษณะเฉพาะของเด็กบนดอย จึงต้องเรียนรู้ศึกษาและบันทึกวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย ต้องรู้จักบุคคลและความสัมพันธ์ในชุมชนเพื่อที่จะทำให้การดูแลเด็กๆ ได้ทั้งด้านจิตใจ อารมณ์ และสุขภาพร่างกายได้อย่างเต็มที่”

ประสบการณ์ของครูแดง เริ่มจากมาอยู่ที่หมู่บ้านปางสา อ.แม่จัน จ.เชียงราย พื้นที่บริเวณแม่น้ำแม่จันตอนกลางมีชาวบ้าน 5 กลุ่มชาติพันธุ์ มี ลีซู ลาหู่ จีนยูนนาน อาข่า และเมี่ยน  ก่อนเข้ามายังหมู่บ้านป่าคาสุขใจ ดอยแม่สลอง ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง

การเดินเท้าจากแม่สลองมาป่าคาสุขใจ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เวลานั้นชาวบ้านต้องการเจ้าหน้าที่มาอยู่ในหมู่บ้าน จึงช่วยกันขุดถนนด้วยจอบ  เมื่อครูแดงเข้ามาอยู่จึงได้สอนเด็กกลางวัน สอนผู้ใหญ่กลางคืน ครูส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพฯ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีคนชุมชนเป็นล่ามพูดคุย 

น.ส.เฉลียรววรรณ แซ่โซ้ง หรือเพ็ญ สาวม้งจาก จ.ตาก ซึ่งมีสภาพทางบ้านทขัดสนพ่อเสียชีวิต มีพี่น้อง 11 คน จึงต้องไปอยู่วัดที่จังหวัดชลบุรีเพื่อลดภาระแม่ และได้เรียนหนังสือ เมื่อได้รับแจ้งจากหมู่บ้านว่ามีทุนครูรักษ์ถิ่น จึงสมัครทันทีเพราะถือเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับตัวเองและต้องการเป็นครูอยู่แล้ว

เพ็ญเป็นส่วนหนึ่งของนักเรียนทุนที่มีสภาพแวดล้อมความมีและความขัดสนที่แตกต่างกัน  พวกเขาผ่านกระบวนการคัดเลือกของ กสศ. ที่มีกระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้น

“การคัดเลือกนักศึกษาของกองทุน จะเริ่มมองหาจากพื้นที่ที่ขาดแคลนครู จึงเปิดรับสมัครคนในชุมชนเพื่อมาทำหน้าที่ การเลือกนักเรียนทุนปฐมวัย จะเลือกคนที่มีจิตใจรักษ์ท้องถิ่น มีลักษณะนิสัยที่จะทำงานดูแลเด็ก  ทำงานประสานกับโรงเรียน และชุมชนได้” อ.จันทรา แซ่ลิ่ว อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เล่าถึงที่มาของนักเรียนทุนกลุ่มนี้

ละแอ บอกว่าเป้าหมายหากได้เข้าไปเป็นครูในหมู่บ้าน การทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนเป็นสิ่งที่อยากทำ ในระหว่างที่เรียนตามหลักสูตรปฐมวัย พวกเธอยังได้เรียนการต่อระบบน้ำบนดอย เทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ การผลิตของใช้ในครัวเรือน และมีกิจกรรม “สวนเกษตรครูน้อย” ทุกวันนักเรียนทุนแบบพวกเธอยังได้ลงแปลงปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงไก่ และทำบู๊ทขายในมหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบให้ลูกค้าแสกนซื้อขายและจ่ายเงินเอง เรียนทักษะการพูด อันเป็นการศึกษาพิเศษที่จะมีเกียรติบัตรมอบให้

พวกเธอเล่าให้ฟังถึงหลักสูตรของนักเรียนทุนครูรักษ์ถิ่น ว่าจะได้ลงชุมชนตั้งแต่การเรียนปีแรก และเมื่อได้กลับไปที่หมู่บ้าน ได้เก็บข้อมูลให้หมู่บ้านนำเสนอและหาวิทยากรมาดูและช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างเรียนปีต่อมาอาจารย์จะนำไปยังโรงเรียนอนุบาลทั้งของรัฐและเอกชน และต่างพื้นที่ เพื่อให้ได้รับรู้และได้ทดลองสอนเด็กเพื่อให้มีประสบการณ์ในโรงเรียนห้องเรียนนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน เพื่อนำข้อดีมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนที่หมู่บ้านตนเอง

“เพ็ญ” บอกว่าเมื่อกลับไปในหมู่บ้านเธอต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมม้ง แม้ตนเองต้องออกบ้านไปตั้งแต่อายุไม่กี่ขวบไปอยู่ที่ชลบุรี แต่ยังสนใจวัฒนธรรมบ้านเกิดความเป็นชาติพันธุ์ตนเองที่ตนเองไม่ค่อยรู้เรื่อง เมื่อกลับไปจะชวนผู้ใหญ่ พี่น้องและชาวบ้าน ทำลานวัยรุ่นให้ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

ด้าน “แพรว” จากหมู่บ้านลาหู่ดำ กล่าวว่า เธอตั้งใจจะกลับไปพัฒนาสุขภาวะ ตอนนี้อนามัยในหมู่บ้านยังต้องการการพัฒนา เพราะไกลจากเมืองมาก ต้องการยาและการส่งเสริมสุขอนามัย และต้องการฟื้นฟูวัฒนธรรม การทอผ้าโดยอยากตั้งเป็นศูนย์หรือชมรมทอผ้า และต้องการสอนสองภาษา ในห้องเรียนสอนภาษากลาง ส่วนช่วงเย็นอยากให้มีการเรียนการสอนภาษาลาหู่ เพราะปัจจุบันมีเด็กหลายคนไม่ค่อยใช้ภาษาแม่ของตนเอง อยากสร้างการยอมรับ ความภูมิใจ คงภาษาแม่ไว้

ขณะที่ “วี” น.ส.กนธิชา หมื่นบุญมี หัวหน้าทีมกระบวนกรกล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นนี้เป็นการเสริมศักยภาพให้เขาสามารถที่จะหาทางออกปัญหาและการฝึกที่จะอยู่ในสังคมที่แตกต่าง เพื่อประโยชน์ในการไปทำงานต่อไป และกลุ่มนักเรียนทุนกลุ่มนี้มีการรวมกลุ่มกันอย่างกลมกลืนจึงไม่ต้องละลายพฤติกรรม สามารถสร้างกิจกรรมพัฒนาได้เลย

ครูรักษ์ถิ่น รุ่นบุกเบิกปีนี้ กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาที่ 3 ในปีหน้าเขาต้องลงไปฝึกสอนที่ชุมชน และเมื่อสอบในประกอบวิชาชีพครู และแบบทดสอบภาษาอังกฤษให้ผ่าน เขาก็จะได้รับการบรรจุราชการครูไปสอนในตำบลที่จัดวางตำแหน่งรอพวกเขาไว้แล้ว โดยอาจารย์ที่ดูแลยังติดตามดูแล และเงื่อนไขทุนจะผูกพันเขาไปอีก 6 ปี ซึ่งทั้งสามคนบอกว่าเขาคงจะเป็นครูและร่วมพัฒนาที่บ้านเกิดไม่คิดไปไหนแม้จะหมดเงื่อนไขทุน  ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามการบ่มเพาะคน และการสร้างตัวเองของครูรักษ์ถิ่น การพัฒนาชุมชนชาติพันธุ์กันต่อไปในอนาคต

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →