Search

ตัวเลขเด็กนักเรียนในระบบการศึกษากะเหรี่ยงพุ่ง เหตุไม่ต้องการไปอยู่ ร.ร.รัฐบาลพม่า-เสี่ยงถูกคุกคาม

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 โฆษกของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว Than Lwins Times ว่า ปีการศึกษา 2565 นี้ เด็กนักเรียนในโรงเรียนที่อำเภอกอทูเล รัฐกระเหรี่ยง ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ควบคุมของ KNU กำลังขาดแคลนบุคลากรครูและห้องเรียน เนื่องจากปีนี้ จำนวนตัวเลขนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมากที่ไม่ต้องการไปโรงเรียนรัฐภายใต้กองทัพพม่าและหันมาเรียนในโรงเรียนของ KNU แทน โดยในระดับชั้นเรียนมัธยมปลายแห่งหนึ่ง มีนักเรียนมากกว่า 1,000 คน หลังการรัฐประหาร เด็กนักเรียนหันมาเรียนในโรงเรียนของ KNU เพราะพวกเขาไม่อยากไปเรียนในโรงเรียนของรัฐ อย่างไรก็ตาม KNU ยังขาดแคลนในเรื่องอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน

“เนื่องจากนักเรียนที่เพิ่มขึ้น ก็มีความต้องการบุคลากรครูเพิ่มขึ้นด้วย” ซอ เอ กั่นยอ จากกลุ่มนักเรียนเครือข่ายกะเหรี่ยง (Karen Students Network Group – KSNG)กล่าว

ทั้งนี้ มีโรงเรียนหลายร้อยแห่ง ซึ่งรวมถึงโรงเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมต้นและมัธยมปลาย ซึ่งมีนักเรียนมากถึง 100,000 คน อยู่ภายใต้การดำเนินการโดยฝ่ายสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรมกะเหรี่ยง (Karen Education and Culture Department – (KECD)ซึ่งอยู่ในพื้นที่ควบคุมของ KNU นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนหลายพันคนที่ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนการศึกษาขั้นสูง วิทยาลัยวิชาชีพ โรงเรียนฝึกหัดครู และโรงเรียนที่ฝึกพัฒนาตนเอง

ด้านซอบวออะ อาสาสมัครกลุ่มงานการศึกษาชายแดนไทย-กะเหรี่ยง เปิดเผยกับสำนักข่าวชายขอบว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มคนที่ส่งลูกมาเรียนในพื้นที่ KNU หลายโรงเรียนในพื้นที่ KNU ก็เริ่มจากการขาดแคลนหลายๆอย่าง แต่เมื่อเริ่มดำเนินการได้ 2-3 ปี ทุกอย่างก็ค่อยๆลงตัว และมีหลายโรงเรียนที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงในสังคมกะเหรี่ยง

“การสู้รบและความไม่ปลอดภัยในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาภายใต้สถานการณ์แบบนี้ ปัญหาขาดแคลนครู มีหลายพื้นที่พ่อแม่อยู่เขตเมืองแต่ส่งลูกเข้ามาเรียนในพื้นที่ KNU เพราะครูจำนวนมากก็ย้ายมาอยู่ในเขตKNU พวกเขาต่อต้านระบบพม่า และการได้มาศึกษาระบบกะเหรี่ยงอย่างน้อยเป็นการปูพื้น แม้บางส่วนไม่อยากส่งลูกมาเรียนในระบบการศึกษาของ KNU แต่ก็ไม่มีทางเลือกเพราะหากส่งไปอยู่ในเขตเมืองต้องส่งลูกไปอยู่ในความเสี่ยงมากกว่า เพราะถูกทหารพม่าคุกคามตลอด”ซอบวออะ กล่าว

ซอบวออะ กล่าวว่า ระบบการศึกษาของ KNU แม้ยังไม่ได้รับการรับรองจากที่ไหน แต่นักเรียนระดับมัธยมเข้าเรียนโครงการของ GD เหมือน กศน.ของไทยและไปเรียนในที่อื่นๆได้ แต่เด็กไม่มีเอกสารสิทธิจึงต้องหาเอกสารยืนยันตัวตน ซึ่งตอนนี้ KNU กำลังหาทางออกอยู่ นอกจากนี้ยังเริ่มปรับการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนวิชาชีพสำหรับเด็กที่ไม่ได้เรียนในระดับมัธยม หรือกลุ่มคนที่ไม่ได้เรียน

ขอบคุณภาพจาก Karen National Union

On Key

Related Posts

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →

ผบ.สส.เร่งหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำกกหลังชุมชนผวาสารพิษเจือปนจากการทำเหมืองทองฝั่งพม่า ภาคประชาชนเผยน้ำกกขุ่นเพิ่มจากปีก่อน 8 เท่าหวั่นกระทบน้ำดิบทำประปา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดีRead More →