Search

จี้สาวถึงขบวนการค้ามนุษย์ หวั่นจับแค่เหยื่อ 49 แรงงานข้ามชาติเชียงราย

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ตัวแทนมูลนิธิชนเผ่าลุ่มน้ำโขงและตัวแทนศูนย์ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงรายเพื่อยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  เพื่อขอให้ตรวจสอบและสืบสวนสอบสวนกรณีที่มีแรงงานพม่า 49 คนถูกนายหน้าหลอกให้มาทำงาน

ในหนังสือระบุว่าเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรบ้านดู่ ได้ทำการตรวจค้นและจับกุมชาวพม่าจำนวน 49 คน ในอาคารไม่มีหมายเลขที่ตำบลท่าสุด ใกล้โรงพยายาบาลแม่ฟ้าหลวง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อหาคนเหล่านี้ว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถพูด ฟัง ภาษาไทยได้ และในวันที่ 12 ตุลาคม พนักงานสอบสวนรฯ จะยื่นคำร้องฝากขังต่อศาลเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

“พวกเราเคยสอบถามคนกลุ่มนี้ผ่านล่าม ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าพวกเขาเดินทางมาจากเมืองต่างๆ ในพม่า เช่น  ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ โดยถูกนายหน้าคนพม่าหลอกลวงว่าสามารถช่วยให้หางานทำในจังหวัดเชียงรายได้ แต่เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุแล้วถูกนายหน้าชาวไทยซึ่งหลอกลวงอีกที โดยให้คนพม่ากลุ่มนี้พักอาศัยที่เกิดเหตุ จนกระทั่งถูกตำรวจจับกุม” ในหนังสือระบุ

ในหนังสือระบุว่า ขอให้ผู้บังคับใช้กฎหมายทำการตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนหาพผู้กระทำผิดตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และ พรก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว รวมถึงกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ หากคนพม่ากลุ่มนี้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ขอให้ดำเนินการปกป้องคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย

ด้านนายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่าทุกวันมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาประเทศไทยโดยผ่านกระบวนการเอ็มโอยูวันละ 1,000-1,500 คน นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดเบาบางลง ซึ่งในปี 2563 มีแรงงานต่างด้าวอยู่ 2.9 ล้านคน แต่ตอนนี้รวมแล้วอยู่ประมาณ 3.1 ล้านคน แต่อาจมีการนับซ้ำบ้าง อย่างไรก็ตามโดยสรุปความต้องการแรงงานและจำนวนแรงงานใกล้อยู่ในระดับสมดุลแล้ว ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาทำงานในตอนนี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่หนีการสู้รบหรือต้องการเข้ามาหางานทำแน่ เพราะในระบบเอกสารที่ทำเอ็มโอยูก็ไม่มีปัญหา

“เรื่องระบบเอกสารในกระบวนการเอ็มโอยูไม่มีเลย รัฐบาลพม่าออกเอกสารให้ตามปกติ ส่วนกลุ่มคนที่หนีเข้ามาหางานทำในประเทศไทย เราก็พยายามแก้ไข ด้วยการให้เขาได้พิสูจน์ตัวตน เพราะถ้าเขาเคยเข้ามาถูกต้องก็ต้องมีเอกสารประจำตัว เมื่อเข้ามาเราจะมีการพิสูจน์ว่ามีเอกสารหรือไม่” นายพิเชษฐ์ กล่าว

นายพิเชษฐ์กล่าวว่า จริงๆ กรมการจัดหางานมีภารกิจหลักคือการดูแลคนงานกลุ่มที่มีใบอนุญาตทำงานหรือไม่ ส่วนคนที่หลบหนีเข้าเมืองนั้น ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมการจัดหางาน แต่เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งทราบว่าได้มีการจับกุมอยู่เสมอ

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าการจับกุมไม่สามารถสาวถึงขบวนการค้าแรงงานได้ นายพิเชษฐ์กล่าวว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วก็จับทั้งสองส่วนคือคนงานและผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งตอนนี้สามารถจับกุมผู้ประกอบการได้แล้ว 1,047 คน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงานก็ได้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นมาจับกุมด้วย

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →