Search

ผนึกชาติพันธุ์

mlm

จากการลงพื้นที่ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 13-21 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานอันประกอบไปด้วยคน 4 ชาติพันธุ์ ได้แก่ เอ็นจีโอ-สื่อ-ตัวแทนภาคประชาสังคมไทย ตัวแทนภาคประชาสังคมคะฉิ่น มอญ และกะเหรี่ยง มีโอกาสถ่ายทอดข้อมูลวิชาการ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ให้คณะผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมหลายสำนักประจำเมืองย่างกุ้งรับทราบ

 

แม้ผู้สื่อข่าวพม่าจะทราบว่ารัฐบาลมีโครงการสร้างเขื่อนหลายแห่งกั้นแม่น้ำสาละวิน แต่พวกเขายังขาดข้อมูลรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ หรือข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง และเมืองเมาะลำไย เมืองหลวงของรัฐมอญ

 

ผู้สื่อข่าวใช้เวลาพูดคุยกับตัวแทนภาคประชาสังคมกะเหรี่ยง คะฉิ่น และมอญ ถึงรายละเอียดการลงพื้นที่ทั้ง 2 เมืองเป็นเวลานาน นั่นสะท้อนให้เห็นความสนใจต่อเรื่องเขื่อนสาละวิน และคงไม่มีอะไรดีไปกว่าคุยกับตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งศึกษาเรื่องผลกระทบของเขื่อนต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ และวิถีชีวิตคนท้ายน้ำมานานหลายปี

 

ยกตัวอย่างผลการศึกษาขององค์กรเยาวชนก้าวหน้ามอญเรื่อง “เขื่อนสาละวิน ภัยคุกคามต่อชุมชนท้ายน้ำในพม่า” ระบุผลกระทบด้านลบว่า “ถ้ามีการสร้างเขื่อนเหนือน้ำ อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำที่บอบบาง คุณภาพน้ำแย่ลง ระดับน้ำแปรปรวน อาจส่งผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทำลายวิถีชีวิตของคนมากมาย เกิดการสูญเสียอาชีพประมง เกิดการอพยพ เพราะปลาลดลง”

 

กล่าวสำหรับผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้คือ ดร.จอ ตู (Kyaw Thu) ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนภาคประชาสังคมพม่า เขาช่วยประสานงานให้ทีมงานไทยพบปะเอ็นจีโอ สื่อ และตัวแทนชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่าที่เมืองย่างกุ้ง ดร.จอ ตู ยังเอ่ยชมเอ็นจีโอไทยว่า ทำได้ค่อนข้างดีในการสนับสนุนชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่า ส่งผลให้ขบวนการประชาธิปไตยที่นี่ก้าวหน้ามีอนาคต

 

ปัจจุบันมีเอ็นจีโอหลายกลุ่มทำงานด้านพม่า เช่น องค์กรแม่น้ำนานาชาติ-IR ,เสมสิกขาลัย เป็นต้น หัวใจขององค์กรต่างๆ คือลงเก็บข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ สร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ให้แก่กัน เป็นตัวกลางเชื่อมโยงตัวแทนภาคประชาสังคม สื่อ นักการเมือง ฯลฯ ในประเทศเพื่อนบ้าน มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่งต่อข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะ เป็นต้น

 

เราคงคาดหวังผลเชิงบวกได้ไม่รวดเร็วนัก เพราะข้อจำกัดด้านการปกครองของแต่ละประเทศ แต่อย่างน้อยมันช่วยหนุนเสริมตัวแทนชาติพันธุ์ต่างๆ และประชาชนทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาวะ และวิถีชีวิตของตน ยังมีอีกหลายเรื่องจากการลงพื้นที่ครั้งนี้ที่จะนำมารายงานต่อไป

 

โดย ภาคภูมิ ป้องภัย
คอลัมน์ โลกนี้มีรากหญ้า วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 37 ฉบับที่ 13106 มติชนรายวัน

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →