Search

เครือข่ายปกป้องแม่น้ำโขงประชุมเข้ม เสนอมาตรการเฉพาะหน้ายกเลิกโครงการพัฒนาของรัฐ

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ศูนย์อบรมอาชีพชนบท อ.เมือง จ.หนองคาย ได้มีการจัดงานประชุมเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขงอีสาน โดยมีประชาชนหลายกลุ่มมาร่วมงาน อาทิเช่น กลุ่มลุ่มน้ำโขงตอนเหนือ กลุ่มเยาวชนเชียงของ กลุ่มแม่น้ำอิง กลุ่มรักษ์เชียงของ ส่วนกลุ่มลุ่มน้ำโขงอีสานประกอบด้วย กลุ่มน้ำพรม-เซิน-น้ำพอง กลุ่มลุ่มน้ำโมง กลุ่มฮักเชียงคาน กลุ่มอำนาจเจริญ-มุกดาหาร-นครพนม และกลุ่มลุ่มน้ำชี-มูน รวมแล้วประมาณ 150 คน

ทั้งนี้ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายแสดงผลกระทบจากปัญหาโครงการจัดการน้ำของรัฐและปัญหาน้ำท่วมที่มีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากโครงการสร้างเขื่อนและประตูน้ำของรัฐในลุ่มแม่น้ำมูนและแม่น้ำชี หลังจากที่มีการแนะนำตัวของผู้เข้าร่วมงานกันครบได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยของแต่ละเครือข่ายลุ่มน้ำ เพื่อศึกษาและระดมปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันของแต่พื้นที่ ก่อนที่ตัวแทนแต่ละเครือข่ายนำเสนอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มอนุรักษ์เชียงของได้เสนอปัญหากรณีพื้นที่เพาะปลูกหายไปเนื่องจากกระแสน้ำเปลี่ยนทำให้การทำมาหากินลำบากและต้องเช่าที่ดินทำกินเพราะการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนทำให้ไก หรือสาหร่ายน้ำจืดหายากและพันธ์ปลาเริ่มลดลงเนื่องจากน้ำใส

ขณะที่ตัวแทนกลุ่มเยาวชนเชียงของ กล่าวถึงปริมาณน้ำที่ขึ้นลงไม่ตรงฤดูกาลเนื่องจากมีการปล่อยน้ำของเขื่อนตอนบน และมีขยะในแม่น้ำรวมทั้งการสร้างท่าเรือพาณิชย์ปล่อยของเสียลงแม่น้ำทำให้ปลาบางชนิดอยู่ไม่ได้และเริ่มสูญพันธุ์จนชาวประมงอยู่ไม่ได้และต้องเปลี่ยนอาชีพ

ส่วนตัวแทนของลุ่มน้ำพรม-เซิน-น้ำพอง กล่าวว่ามีปัญหาใกล้เคียงกันคือ ข้อพิพาทที่ดินระหว่างประชาชนกับรัฐในกรณีพื้นที่ดินทำกิน และในส่วนที่แตกต่างกันคือเขื่อนจุฬาภรณ์ของเขตลุ่มน้ำพรม-เซินจะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ดินอิ่มตัวและเกิดน้ำท่วมในอนาคต ส่วนปัญหาลุ่มน้ำพองคือการยกระดับของฝายหนองหวายซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมหลายหมู่บ้านทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 2,600 ไร่

สอดคล้องกันกับปัญหาผลกระทบจากนโยบายโครงการผันน้ำขนาดใหญ่โขงเลยชีมูน ซึ่งตัวแทนกลุ่มลุ่มน้ำโมงกล่าวว่า มีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินทำกิน รวมถึงปกปิดข้อมูลจากภาครัฐโดยชาวบ้านพยายามส่งหนังสือขอข้อมูลโครงการรัฐในระดับท้องถิ่นและจังหวัดหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการตอบกลับ

ด้านกลุ่มนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เสนอรูปแบบวิเคราะห์กฎหมายและนโยบายของภาครัฐ โดยสรุปใจความสำคัญคือ 1.รัฐขาดการประเมินในระดับยุทธศาสตร์ 2.สำรวจพื้นที่โครงการไม่ครอบคลุม 3.ขาดการบูรณาการทั้งภาครัฐและประชาชนโดยขาดการมีส่วนร่วมของคนในท้องที่ 4.ตัวกฎหมายมีปัญหาการตีความบกพร่องในเรื่องที่ว่ารัฐคืออะไร ทั้งที่จริงการจะเป็นรัฐได้ต้องมีประชาชนประกอบเข้าด้วยกันและรัฐจะต้องฟังเสียงของประชาชนในการออกนโยบายพัฒนาประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนกันเสร็จ แต่ละเครือข่ายจึงได้มีการสะท้อนแนวทางในการแก้ไขปัญหาของแต่ละพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ดังนี้ โดยมาตรการเฉพาะหน้าประชาชน 1.ยกเลิกนโยบายโครงการพัฒนาทั้งเก่าและใหม่ 2.ทบทวนบทเรียนโครงการเก่าก่อนทำโครงการใหม่ 3.ควรมีการเยียวยาฟื้นฟูทั้งเชิงสังคม เศรษฐกิจนิเวศ 4.การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่ SEA ส่วนข้อเสนอทางนโยบายให้ภาครัฐพิจารณา คือ1.พัฒนากฎหมายการมีส่วนร่วม 2.ทบทวนยุทธศาสตร์น้ำและนโยบายพลังงาน 3.การแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม/กฎหมายน้ำ 4.การกระจายอำนาจด้านการจัดการทรัพยากร 5.การส่งเสริมการพัฒนานโยบายการจัดการน้ำขนาดเล็กโดยชุมชน

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →