Search

ทำไมเขาต้องย้ายถิ่นฐาน ปลายทางสู่ประเทศไทย (English below)

โดย Loi Mork

ปฏิบัติการบุกค้นโจมตีตามมาด้วยการเผาทำลายบ้านเรือนของชาวบ้านและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบตามเขตชนบททั่วประเทศพม่าเป็นข่าวอยู่ตลอดเวลาตามหน้าสื่อพม่าตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา จากกลุ่ม Data of Myanmar ระบุชัดว่าบ้านเรือนของชาวบ้านอย่างน้อย 70,324 หลังคาเรือนทั่วประเทศพม่าถูกเผาทำลายโดยกองทัพตั้ตมะด่อว์หรือกองทัพพม่า

บ้านของ “กอ” หนุ่มวัย 26 ปี จากรัฐคะเรนนี เป็นหนึ่งในบ้านที่ถูกเผา อาจกล่าวได้ว่า เมืองทั้งเมืองที่เขาเคยอาศัยอยู่ เหลือแต่ซากปรักหักพังและกลายเป็นสนามรบระหว่างกองทัพพม่าและฝ่ายต่อต้านที่ยังคงดำเนินไปยังไม่รู้จบสิ้น เมื่อไม่เหลือทางเลือกมากนัก เขาตัดสินใจที่จะเดินทางมายังประเทศไทย ด้านชายแดนแม่ฮ่องสอน เพื่อนบ้านของรัฐคะเรนนี เพื่อหวังเป็นหนทางจะนำเขาไปสู่ประเทศที่สาม

“ผมอาศัยอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างเมืองลอยก่อและเมืองดีโมโส่ ในรัฐคะเรนนี มันเคยเป็นเมืองที่สวยงามและอยู่อย่างสงบ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร” กอ เล่าย้อนกลับไปก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร

เขารับราชการครูโดยสอนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา กอเล่าว่า รักในอาชีพครู และไม่เคยคิดว่าจะต้องทิ้งอาชีพนี้ไปทำอย่างอื่นมาก่อน จนกระทั่งเมื่อกองทัพพม่าทำรัฐประหาร เขาและเพื่อนๆ ครูคนอื่นๆ รู้สึกไม่พอใจเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วประเทศจึงออกมาต่อต้านกองทัพด้วยการออกมาเคลื่อนไหวประท้วงอารยะขัดขืน Civil Disobedience Movement (CDM) และผลที่ตามมาคือชื่อของกอถูกทางการพม่าในพื้นที่หมายหัว

เขาไม่สามารถเดินทางไปยังพื้นที่อื่นๆในประเทศได้เพราะจะถูกจับในข้อหาเป็นฝ่าย CDM ที่ต่อต้านกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพพม่า เช่นเดียวกันโรงเรียนที่เขาสอนต้องถูกปิดและยังคงถูกปิดมาจนถึงทุกวันนี้ อนาคตการศึกษาของเด็กๆในพื้นที่ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

การเป็นราชการอยู่ในบัญชีดำของกองทัพ ยังไม่เลวร้ายเท่ากับวันหนึ่งที่บ้านของเขาถูกโจมตีและถูกเผาทำลายราบคาบ เมืองทั้งเมืองกลายเป็นสมรภูมิรบถูกโจมตีทางอากาศไม่เว้นแต่ละวัน เมืองลอยก่อและเมืองดีโมโส่ กลายเป็นพื้นที่รบกันอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพพม่าและฝ่ายต่อต้านซึ่งปรากฏอยู่ตามสื่ออย่างต่อเนื่อง

เมื่อไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและไม่มีทางเลือกอื่น เขาจึงตัดสินใจที่จะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อมาตายเอาดาบหน้า

“คนในเมืองบ้านเดียวกับผมส่วนใหญ่ตอนนี้พวกเขาอยู่ในป่าของรัฐคะเรนนี เพราะพวกเขาไม่มีบ้านอยู่แล้ว บ้านของพวกเราต่างถูกทำลายเสียหายทั้งหมด แต่อยู่ในป่าก็ไม่ได้มีความปลอดภัย เพราะวันดีคืนดีอาจถูกกองทัพพม่าโจมตีทางอากาศ คนที่อยู่ที่นั่นตอนนี้ กำลังต้องการอาหาร น้ำสะอาดและยารักษาโรค ทุกคนกำลังดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่ สถานการณ์มันเลวร้ายมากๆ” กอ รู้สึกเศร้าใจทุกครั้งเมื่อคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน

ข้อมูลของสหประชาชาติรายงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ว่า นับตั้งแต่รัฐประหาร ทำให้พม่ามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศพุ่งสูงถึง 1,499,000 คน อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงตัวเลขอาจพุ่งสูงถึง 1,827,000 ล้านคน ซึ่งเดิมทีพม่ามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศอยู่แล้วนับล้านคน โดยเฉพาะในรัฐคะฉิ่นพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเกิดสงครามระหว่างกองทัพคะฉิ่น (Kachin Independent Army-KIA) และกองทัพพม่ามายาวนาน

กอลักลอบเข้ามาทำงานในไทยโดยไม่มีคนรู้จัก แต่เพราะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี จึงได้งานทำที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เขามีเป้าหมายว่า วันหนึ่งจะเดินทางไปประเทศที่สามอย่างออสเตรเลีย ในฐานะผู้ลี้ภัย แต่ถึงแม้ความฝันนั้นของกอจะยังริบหรี่ แต่อาจกล่าวได้ว่า กออาจยังโชคดีกว่าเพื่อนครูของเขาอีกหลายคนที่เดินทางเข้าไทยหลังจากเขา เพราะคนเหล่านั้นตอนนี้ต้องทำงานที่ในโรงงานขยะ

ปัจจุบันการเดินทางไปประเทศที่ 3 โดยผ่านประเทศไทยยังทำได้ยากเพราะนโยบายไม่เอื้อ ยังมีชาวบ้านจากฝั่งพม่าอีกเกือบ 1 แสนคนที่ต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง 9 แห่งตามแนวตะเข็บชายแดน และตกค้างมา 20-30 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศตะวันตกหรือประเทศที่ 3 ซึ่งเคยเปิดรับผู้ลี้ภัยก็รับน้อยมาก

เช่นเดียวกับคำหอม วัย 16 ปี ที่ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองลายค่า ทางใต้รัฐฉาน แม้จะยังต้องเรียนต่อเป็นปีสุดท้ายของชั้นมัธยมปลาย แต่เธอยอมทิ้งการศึกษาเพื่อเข้ามาหางานทำในเชียงใหม่พร้อมเพื่อนๆในเมืองของเธอและเมืองใกล้เคียงที่พากันทิ้งบ้านเกิดเพื่อเดินทางเข้าไทยเพราะความเบื่อหน่ายและสิ้นหวังในสถานการณ์ทางการเมือง

“บางหมู่บ้านแทบจะร้าง เพราะชาวบ้านต่างหนีมาไทยกันหมด แม้ยายจะห้ามแล้วห้ามอีกไม่ให้มา แต่หนูก็ดึงดันมาจนได้” คำหอมเล่าว่า สถานการณ์บ้านเกิดของเธอ โดยเฉพาะกับคนหนุ่มสาวเช่นเธอนั้นแทบจะไม่มีอนาคต และไม่มีความหวังใดๆ

คำหอมปรับตัวได้ดีกับเมืองเชียงใหม่ และพูดไทยได้ชัดแจ๋ว เพราะเธอดูโทรทัศน์ของไทยมาตั้งแต่เด็กๆ แต่เรื่องน่าห่วงของเธอตอนนี้กลับไม่ใช่ภาษา แต่คือเรื่องที่เธอยังไม่มีเอกสารใดๆ เพราะเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย

ปัจจุบันประชาชนในรัฐฉาน ไม่เพียงแต่เผชิญกับการคุกคามจากกองทัพพม่าเท่านั้น แต่ยังต้องเจอเผชิญกับการคุกคามจากกองกำลังกลุ่มต่างๆ เช่น กองทัพประชาชน (PDF) กองทัพปะหล่อง (TNLA) กองทัพคะฉิ่น (KIA) ที่สำคัญคือปัญหาความขัดแย้งระหว่างกองทัพรัฐฉานเหนือและกองทัพรัฐฉานใต้ที่เปิดฉากรบกันเอง จนทำให้คนไทใหญ่รู้สึกสิ้นหวัง รวมไปถึงการเก็บภาษีจากชาวบ้านจากกลุ่มติดอาวุธต่างๆ

ที่หมู่บ้านว่านโมง ตำบลห้วยโหลง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของเมืองกึ๋ง เดิมที่เคยมีบ้านเรือน 60 หลัง แต่ตอนนี้เหลือแค่ 9 หลังคาเรือน เพราะประชาชนในพื้นที่ไม่อาจทนต่อการถูกรีดไถจากกลุ่มติดอาวุธต่างๆที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ได้

สถานการณ์ที่ประชาชนในรัฐฉานต้องเผชิญอยู่ในตอนนี้เลวร้ายไม่ต่างจากสมัยที่กองทัพพม่าใช้นโยบาย 4 ตัด(ตัดอาหาร ตัดเงินทุน ตัดการติดต่อสื่อสาร และตัดกำลังพล) ซึ่งนโยบายครั้งนั้นทำให้ประชาชนหลายแสนคนในรัฐฉานต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งปลายทางคือประเทศไทย

หลังรัฐประหาร สถานการณ์การสู้รบในรัฐฉานเลวร้ายไม่แตกต่างจากรัฐอื่นๆ โดยเฉพาะในพื้นที่อย่างเมืองจ้อกเม สี่ป้อ เมืองน้ำตู้ เมืองกึ๋ง เมืองลายค่า เมืองเกซี เมืองล้อกจ้อกและเมืองโหโปง ที่มีการสู้รบดุเดือด และทำให้คนในรัฐฉานจำนวนมากยอมทิ้งบ้านเรือน ทิ้งไร่นา หนีเข้าไทยเป็นจำนวนมาก เพราะไม่อาจทนต่อสถานการณ์สู้รบ การถูกจับไปสอบสวนและทำร้ายร่างกาย การถูกเรียกเก็บเก็บภาษีจากกลุ่มติดอาวุธ รวมไปถึงการถูกบังคับเกณฑ์ทหารเข้ากองทัพกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

นับตั้งแต่รัฐประหาร มีประชาชนในพม่าอย่างน้อย 20,000 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุความขัดแย้งและสงคราม ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ากำลังเลวร้ายถึงขีดสุดโดยไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันกับพม่า 2,400 กิโลเมตร และติดกับรัฐชาติพันธุ์ จะมีนโยบายตั้งรับสถานการณ์ย้ายถิ่นฐานที่กำลังทะลักเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร

คำถามดังๆ คือความเป็นเครือญาติของประชาชนสองฟากฝั่งชายแดนตะวันตกของไทยที่อยูร่วมกันมาช้านาน เช่น กรณีของกอและคำหอม แต่ในวันที่พวกเขากำลังเดือดร้อนอย่างสาหัส แต่ผู้บริหารประเทศไทยกลับอิงแอบแนบชิดอยู่กับผู้นำทหารพม่า ถึงขนาดจัดประชุมเพื่อสร้างเวทีให้กับเผด็จการที่กดขี่ทำร้ายประชาชนของตัวเอง

น่าสนใจในวันผู้ลี้ภัยสากลปีนี้ 20 มิถุนายน 2566 รัฐบาล (รักษาการ) ไทยจะมีคำตอบให้กับประชาชนของตัวเอง ประชาชนที่ถูกกดขี่หนีร้อนมาพึ่งเย็น รวมทั้งประชาคมโลก ไว้อย่างไร


Why did they leave behind their homes?
Stories of new Myanmar refugees in Thailand


By Loi Mork

The campaigns to raid and attack followed by the burning of houses of civilians and various forms of human rights violations throughout the rural Myanmar have made news all the time in the media in the past two years. Lately on 14 June 2023, according to the Data of Myanmar, at least 70,324 houses of civilians throughout Myanmar have been burned down by the Tatmadaw or the Myanmar Army.

One of the burned houses belongs to Ko, 26, a young man from a village in Karenni State. Nearly all parts of the city he used to live have been reduced to a dystopian wasteland and turned into a battlefield between the Myanmar Army and the opposition forces. Such armed conflicts appear to continue incessantly. With a few options left, he decided to come to Thailand through the border of Mae Hong Son, a neighbor of Karenni state looking for a chance to resettle in another country.

“I used to live in the area between Loikaw and Demoso in Karenni State. It was once a beautiful and peaceful city, until the coup happened” said Kaw alluding to the time before the coup.

He worked as a teacher in a public primary school. He loved his teaching profession and had never had any idea switching to do anything else. But when the Myanmar Army staged a coup, he and his fellow teachers were upset. And like many fellow government officials throughout the country, they have come out to show their opposition to the army through their Civil Disobedience Movement (CDM). As a result, he was included in a watchlist of the Myanmar authorities.

He was unable to travel to other parts of the country since he could be arrested and charged as part of the CDM which was opposed to the Myanmar Army. Similarly, the school he used to teach had to close down and remains closed until now. The future of the local children’s education is quite precarious.

Being a government official blacklisted by the army was already bad. What was worse to come was one day he found his house being attacked and razed to the ground. The whole city has been turned into a battleground and face bombardment almost every day. Loikaw and Demoso become a fierce theater of war between the Myanmar Army and the opposition. This has been constantly reported by media.

Finding no safety in life and left with no other options, he decided to travel to Thailand to find some way to live on.

“Most of my fellow villagers in my town have now sought refuge in the forests of the Karenni State. They have no place to call home. Their homes have been entirely destroyed. But living in the forests may not guarantee their safety since they could any day become a receiving end of aerial attacks by the Myanmar Army. The people who remain there are in need of food, clean drinking water and medicine. All of them desperately try to live on. The situation is very dire” said Kaw, sadly every time he thinks about his hometown.

According to the United Nations’ report on 1 May 2023, since the military coup, there have been as many as 1,499,000 displaced persons, although the actual number could be as high as 1,827,000. Before then, the number of displaced persons in Myanmar was over one million, particularly in Kachin State, North of the country where the Kachin Independence Army (KIA) and the Myanmar Army have engaged in a protracted armed conflict.

Kaw illegally made his way into Thailand without knowing anyone. Given his English skill, he was employed in a hotel. His planning is to be resettled as a refugee in a third country like Australia. Even though there is just a glimmer of hope, Kaw considers himself luckier than many of his fellow teachers who came to Thailand after him. Many of them now end up working in a garbage factory.

At present, the prospect of getting resettled in a third country via Thailand is slim given a lack of enabling policy. There are still nearly one hundred thousand Myanmar who continue to live in the nine temporary shelters along the border and they have been there for 20-30 years. Meanwhile, western countries or any third countries offer very few opportunities to resettle refugees.

Similarly, Khamhom, 16, decided to leave from Laihka, south of Shan State even though she needed to complete her last year of high school. She decided to leave her education behind to look for jobs in Chiang Mai along with her friends from the same town and adjacent towns. They have left behind their hometown to travel to Thailand since they felt so desperate and hopeless with the political situation there.

“Some villages are almost entirely abandoned as the villagers have fled to Thailand. My grandmom tried to stop me from coming here, but I insisted on coming” said Khamhom. According to her, the situation in her home town as far as the young people like her are concerned, there is barely any future and hope.

Khamhom can adapt herself well living in the city of Chiang Mai. She can speak Thai fluently since she has been watching Thai TV programs since young. Her concern is not about her language. Rather, she is worried about her lack of legal documents since she came here illegally.

At present, the people in Shan State do not just have to endure harassment by the Myanmar Army, but they have been subject to harassment by various armed groups as well including the People’s Defense Force (PDF), the Ta’ang National Liberation Army (TNLA), the Kachin Independence Army (KIA) and most importantly, the clashes between the Shan State Army – North and the Shan State Army – South. This has made Shan people feel hopeless and this is yet to mention how the villagers have been taxed by various armed groups.

At Wan Mong, Huay Long Village Tract, east of Mong Kung, there used to be sixty households here. Only nine remain since local people could no longer tolerate extortion conducted by various armed groups active in the area.

The predicament in which the people of Shan State find themselves is not different from when the Myanmar Army adopted the four-cut-policy (cutting food, cutting money, cutting communication and cutting forces). The policy caused extensive displacement of hundreds of thousands of people in the Shan State and their destination was Thailand.

Following the coup, the situation of armed conflicts in Shan State is not different from other states, particularly in Kyaukme, Hsipaw, Namtu, Mong Kung, Laihka, Kyethi, Lawksawk and Hopong, a theater of fierce battles. This has prompted many people in Shan State to decide to leave behind their homes and paddy fields to flee to Thailand since they could no longer tolerate such armed conflicts, being arrested for interrogation and physical abuse, being asked to pay tax by armed groups and being drafted as military forces by various armed ethnic organizations.

Since the coup, at least 20,000 civilians in Myanmar have been killed as a result of the clashes and armed conflicts. Given the worsening conflicts and human rights violation in Myanmar, how will Thailand, as a neighboring country which shares 2,400 kilometers of border with Myanmar and ethnic states, adopt a policy in response to the massive exodus to the country?

A question to be poignantly asked is given the long and close kinship of people in both sides of the Western border of Thailand, including the cases of Kaw and Khamhom during the worst time in their lives, but the Thai government decided to maintain their cozy relationships with leaders of the Myanmar Junta. Now, the Thai leaders have even organized a regional meeting to give a floor to the despotic regime which terrorizes its own people.

On the World Refugee Day (20 June 2023), it is interesting to know how the caretaker Thailand government will response to its own people, the people who have fled from persecution and the international community.

On Key

Related Posts

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →

ผบ.สส.เร่งหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพน้ำกกหลังชุมชนผวาสารพิษเจือปนจากการทำเหมืองทองฝั่งพม่า ภาคประชาชนเผยน้ำกกขุ่นเพิ่มจากปีก่อน 8 เท่าหวั่นกระทบน้ำดิบทำประปา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดีRead More →